รายงานการประเมินผลตนเอง
การดำเนินการพัฒนาองค์การตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Fundamental Level)
ประจำปี 2555

หมวด
รหัส ADLI
ข้อย่อย
รายละเอียด
ผลการดำเนินงาน
คำอธิบายผล
การดำเนินการเพิ่มเติม
วันที่รายงาน
2
SP4 2 ผู้บริหารต้องมีการสื่อสารและทำความเข้าใจในเรื่องยุทธศาสตร์และการนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ ไปยังบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บุคลากรได้รับรู้เข้าใจและนำไปปฏิบัติ รวมทั้ง เพื่อให้มีการถ่ายทอดแผนไปสู่การปฏิบัติดังกล่าวบรรลุผล

ใช่
ไม่ใช่
มีการติดตามและประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมตามเกณฑ์ PMQA ของ สป.มท ในรอบ 6 เดือน และ 12 เดือน และมีการติดตามประเมินผล และแลกเปลี่ยนการดำเนินงาน DPA ทุกรายไตรมาส 30/09/55
2
SP5 1 ส่วนราชการมีการถ่ายทอด (Casading) ตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์การสู่ระดับหน่วยงาน (สำนัก/กอง) ทุกหน่วยงาน (ทั้งที่มีโครงสร้างรองรับตามกฎหมายและสำนัก/กอง ที่จัดตั้งเพื่อรองรับการบริหารจัดการภายในส่วนราชการเอง) ระดับบุคคล (อย่างน้อย 1 หน่วยงาน) อย่างเป็นระบบ

ใช่
ไม่ใช่
ทุกหน่วยงานในสังกัด สป.มท. ได้ดำเนินการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ซึ่งเป็นแผนที่ยุทธศาสตร์ที่จัดทำขึ้นโดยใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ของ สป.มท. เป็นฐานในการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน และแผนที่ยุทธศาสตร์ของทุกหน่วยงานได้ถูกใช้เป็นฐานในการกำหนดเป้าหมายและ คำรับรองการปฏิบัติงานทั้งในระดับหน่วยงาน (Division Performance Agreement หรือ DPA) และระดับบุคคล (Individual Performance Agreement หรือ IPA) 30/09/55
2
SP5 2 ส่วนราชการมีการถ่ายทอด (Casading) ตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์การสู่ระดับหน่วยงาน (สำนัก/กอง) ทุกหน่วยงาน (ทั้งที่มีโครงสร้างรองรับตามกฎหมายและสำนัก/กอง ที่จัดตั้งเพื่อรองรับการบริหารจัดการภายในส่วนราชการเอง) ระดับบุคคล (อย่างน้อย 1 หน่วยงาน) อย่างเป็นระบบ

ใช่
ไม่ใช่
หน่วยงานในสังกัด สป.มท. ได้จัดทำแผนปฏิบัติการ/ปฏิทินการปฏิบัติงานประจำปี ซึ่งมีเป้าหมาย การดำเนินงานที่สอดคล้องกับแผนที่ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน 30/09/55
2
SP5 3 ส่วนราชการมีการถ่ายทอด (Casading) ตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์การสู่ระดับหน่วยงาน (สำนัก/กอง) ทุกหน่วยงาน (ทั้งที่มีโครงสร้างรองรับตามกฎหมายและสำนัก/กอง ที่จัดตั้งเพื่อรองรับการบริหารจัดการภายในส่วนราชการเอง) ระดับบุคคล (อย่างน้อย 1 หน่วยงาน) อย่างเป็นระบบ

ใช่
ไม่ใช่
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้มีการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามคำรับรอง ทั้งในระดับหน่วยงาน (DPA) และในระดับบุคคล (IPA) โดยการประเมินผลการดำเนินงาน ทั้งสองระดับเป็นกระบวนการที่มีความเชื่อมโยงกัน โดยทุกหน่วยงานจะทำหน้าที่ประเมินผลระดับบุคคล เพื่อรวมเป็นภาพรวมตามตัวชี้วัดของหน่วยงาน โดยมีการประเมินผลในรอบ 6 เดือน และ รอบ 12 เดือน 30/09/55
2
SP6 1 ส่วนราชการต้องจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อใช้ในการติดตามผลการดำเนินงานให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการได้สำเร็จ ซึ่งประกอบด้วย ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ การจัดสรรทรัพยากรให้แก่แผนงานโครงการ/กิจกรรม

ใช่
ไม่ใช่
๑) สป.มท. ได้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อใช้ในการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ โดยประกอบด้วยรายละเอียด ประเด็นยุทธศาสตร์ แผนงาน เป้าหมายการให้บริการกระทรวง เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน ผลผลิต/โครงการ กิจกรรม พร้อมกับตัวชี้วัดผลสำเร็จ เพื่อใช้ในการรายงานผลการดำเนินงาน และกำหนดแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ในแต่ละไตรมาส รวมทั้งกำหนดระยะเวลาดำเนินการ และหน่วยงานรับผิดชอบด้วย ๒) มีการจัดทำการรายงานสรุปผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ ๓) มีการจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ (PART) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในกระบวนการจัดการงบประมาณ ๔) มีจัดทำการรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีทุก ๑๕ วัน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ มีการรายงานทั้งหมด ๒๑ ครั้ง ๕) มีการแจ้งมาตรการและแนวทางการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงิน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้ส่วนราชการ/หน่วยงานในสังกัด สป.มท. เพื่อทราบ และถือปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นไปอย่างประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และสามารถนำนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ ได้อย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง และ ๖) มีการจัดทำเอกสารผลการดำเนินงานของ สป.มท. รอบ ๖ เดือน (๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕) และอยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารผลการดำเนินงานรอบ ๑๒ เดือน (๑ เมษายน - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕) 30/09/55
2
SP7 1 ส่วนราชการต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ใช้แนวทางการวิเคราะห์ตามมาตรฐาน COSO เพื่อเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินแผนงาน/โครงการที่สำคัญซึ่งต้องครอบคลุมความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล

ใช่
ไม่ใช่
สป.มท. มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง เพื่อให้โครงกาสำคัญที่มีนัยสำคัญ ต่อการบรรลุความสำเร็จตามประเด็นยุทธศาสตร์ มารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ ซึ่งจะส่งผลให้บรรลุความสำเร็จตามกลยุทธ์ เป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์ ตามหลักการของ COSO (๗ ขั้นตอน) ประกอบด้วย ๑) กำหนดเป้าหมายการบริหาร ความเสี่ยง ๒) การระบุความเสี่ยง ๓) การประเมินความเสี่ยง ๔) การกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยง ๕) กิจกรรมบริหารความเสี่ยง ๖) ข้อมูลและการสื่อสารด้านการบริหรความเสี่ยง ๗) การติดตามและเฝ้าระวังความเสี่ยง 30/09/55
2
SP7 2 ส่วนราชการต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ใช้แนวทางการวิเคราะห์ตามมาตรฐาน COSO เพื่อเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินแผนงาน/โครงการที่สำคัญซึ่งต้องครอบคลุมความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล

ใช่
ไม่ใช่
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการติดตามผลการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง รวมทั้งสรุปผลการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงในรอบปีงบประมาณ 30/09/55
3
CS1 1 ส่วนราชการมีการกำหนดกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามพันธกิจเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม

ใช่
ไม่ใช่
ส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2553 และพันธกิจของ สป.มท.ตามแผนปฏิบัติการ สป.มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 ที่ เชื่อมโยงและสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552 - 2554 ของรัฐบาลและแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2552 - 2554 ของ มท. พร้อมทั้งสาระสำคัญเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ แผนงาน/โครงการ และกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการประกอบการพิจารณา ๒)กำหนดกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กรทุกระดับ๒) แจ้งเวียนทุกหน่วยงานในสังกัด สป.มท. ( รวม ๑๗ หน่วยงาน ) รักษาระดับการดำเนินงานตามเกณฑ์ PMQA และทบทวน ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม ตามพันธกิจที่ได้การประกาศให้บุคลากรในองค์กรทราบทั่วกัน รวม ๙ ข้อ ( หนังสือ กพร.สป. ที่ มท ๐๒๑๘/ว๑๗๖ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ๓) สป.มท. มีพันธกิจ ๙ ข้อ ดังนี้ ๑. จัดทำแผนนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการของกระทรวงและแปลงเป็นแนวทางและแผนปฏิบัติราชการ ตลอดจนจัดสรร และบริหารทรัพยากรของกระทรวงเพื่อให้เกิดการประหยัด คุ้มค่า และสมประโยชน์ ๒. ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ดำเนินการและประสานการแปลงยุทธศาสตร์ระดับชาติเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาจังหวัด และงบประมาณ ติดตามประเมินผลการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด รวมทั้งประสาน สนับสนุนการขับเคลื่อนความร่วมมือภาครัฐและเอกชนเพื่อการพัฒนา และแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ๓. ส่งเสริมประชาชนให้สามารถพัฒนาตนเองบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๔. ส่งเสริมการอำนวยความเป็นธรรม การรักษาความมั่นคงภายในและความสงบเรียบร้อยในระดับพื้นที่งานการข่าวกรองของกระทรวง รวมทั้งการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี กับต่างประเทศ โดยจะเน้นในระดับท้องถิ่นกับประเทศเพื่อนบ้าน และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตลอดจนการดำเนินการทางกฎหมาย นิติกรรมสัญญา และคดีที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ๕. สนับสนุนการฟื้นฟู แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน สร้างความเข้าใจและเสริมสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ในพื้นที่โดยน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นแนวทาง ๖. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อใช้ในการบริหารงานด้านความมั่นคง การแก้ปัญหาความไม่สงบ และให้บริการด้านการสื่อสารแก่ส่วนราชการต่างๆ และจังหวัด ๗. พัฒนาบุคลากร ระบบงาน และฐานความรู้ เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ ๘. ส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานและระบบการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ๙. กำกับ ตรวจสอบ และบริหารราชการทั่วไปของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงมหาดไทย ๔) ทบทวนงานบริการของ สป.มท. โดยมีทั้งสิ้น ๗๓ งานบริการ จัดกลุ่มงานบริการตามกระบวนการสร้างคุณค่า และกระบวนการสนับสนุนได้ ๒๓ กระบวนการ ( ตามเอกสารความเชื่อมโยงของพันธกิจกระบวนการสร้างคุณค่าและสนับสนุนและงานบริการของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ๕) สป.มท. ๑) กำหนดแนวทางการทบทวนการกำหนดและจำแนกกลุ่มผู้รับบริการ และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการนำภารกิจหน้าที่ตามกฎหมายของ สป.มท.ตามกฎกระทรวงแบ่งแบ่งกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน ๗ กลุ่ม ดังนี้ ๑. ผู้บริหาร ๒. กรมในสังกัด มท ๓. รัฐวิสาหกิจในสังกัด ๔.ภาคเอกชน/ภาคประชาชน ๕. จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ๖. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๗. ส่วนราชการอื่นๆ ๖) ตรวจสอบทบทวนความต้องการของกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยให้สำนัก/กอง ผู้รับผิดชอบดูแลงานบริการตามภารกิจหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความต้องการ/ความคาดหวังและความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจที่ครอบคลุมทุกกลุ่มในแต่ละพันธกิจ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการตอบสนองความต้องการ และปรับปรุงการให้บริการในแต่ละงานบริการของ สป.มท. ๗) ตัวอย่างจากผลการสำรวจความต้องการ/ความคาดหวังของกลุ่มผู้รับบริการ -ลดระยะเวลาในการให้บริการ -ทำป้ายบอกทางไปยุงจุดให้บริการ -วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้รับบริการ 30/09/55
3
CS2 1 ส่วนราชการมีช่องทางการรับฟังและเรียนรู้ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงและเสนอรูปแบบการบริการต่าง ๆ โดยแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารดังกล่าว

ใช่
ไม่ใช่
กำหนดช่องทางในการรับฟังและเรียนรู้ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียครอบคลุมทุกกลุ่มผู้รับบริการและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หลายช่องทาง ได้แก่ ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ อินเตอร์เน็ต ตู้แสดงความคิดเห็น หนังสือราชการ การประชุมแบบสอบถาม ส่งข้อความสั้น ทางโทรศัพท์มือถือ การประชุมผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล พบเจ้าหน้าที่ ณ จุดบริการ รับเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านศูนย์ดำรงธรรม smile line smile team 30/09/55
3
CS2 2 ส่วนราชการมีช่องทางการรับฟังและเรียนรู้ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงและเสนอรูปแบบการบริการต่าง ๆ โดยแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารดังกล่าว

ใช่
ไม่ใช่
แจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลความคิดเห็น และความต้องการ เพื่อรวบรวมและเก็บข้อมูลความต้องการเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ และพัฒนางานบริการให้ตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม ทั้งนี้ ผู้รับบริการสามารถแสดงความต้องการผ่านเว็บไซต์ และทางโทรศัพท์ ( ศูนย์ดำรงธรรมฯ ) ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง และทางแบบสำรวจความคิดเห็น ความต้องการ ข้อเสนอแนะ ทุกวันในเวลาราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย นำข้อมูลความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับข้อมูลตอบกลับมาปรับปรุง เช่น 1. งานบริการห้องสมุด (สดร.สป.) โดยให้จัดหาหนังสือใหม่ๆ มาจัดไว้บริการที่ห้องสมุด ได้มีการปรับปรุงโดยการ จัดหาหนังสือมาไว้บริการที่ห้องสมุด ตรงตามความต้องการของสมาชิกมากยิ่งขึ้น 2. งานระบบสารบรรณ (กก.สป.) ไม่มีป้ายบอกทางไปยังสถานที่ในการให้บริการ ได้มีการปรับปรุงการให้บริการโดยจัดทำป้ายบอกทางให้ชัดเจนมากขึ้น 3. งานบริการ website (สน.สป.) รูปแบบของ website ไม่ทันสมัย ได้มีการปรับปรุงรูปแบบของ website ให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น 4. งานบริการสถานที่จัดฝึกอบรม วิทยาลัยมหาดไทย (สดร.สป.) มีความต้องการด้านวัสดุ/อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับการฝึกอบรมให้มากยิ่งขึ้น ได้มีการปรับปรุงโดยมีการจัดซื้อวัสดุคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้เข้าอบรมมากยิ่งขึ้น 30/09/55

 


กลับหน้าหลัก