รายงานการประเมินผลตนเอง
การดำเนินการพัฒนาองค์การตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Fundamental Level)
ประจำปี 2555

หมวด
รหัส ADLI
ข้อย่อย
รายละเอียด
ผลการดำเนินงาน
คำอธิบายผล
การดำเนินการเพิ่มเติม
วันที่รายงาน
4
IT5 1 ส่วนราชการต้องมีระบบการติดตาม เฝ้าระวัง และเตือนภัย (Warning System) เช่น การกำหนดระบบการเตือนภัยแบบสัญญาณไฟจราจร การจัดตั้งห้องปฏิบัติการ (Operation Room, Management Cockpit, War Room) ที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ใช่
ไม่ใช่
มีระบบเตือนภัยตามฐานข้อมูลศูนย์ข้อมูลกลางกระทรวงมหาดไทยและจังหวัด ระบบฐานข้อมูลตามคำรับรองการปฏิบติราชการประจำปีของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 30/09/55
4
IT5 2 ส่วนราชการต้องมีระบบการติดตาม เฝ้าระวัง และเตือนภัย (Warning System) เช่น การกำหนดระบบการเตือนภัยแบบสัญญาณไฟจราจร การจัดตั้งห้องปฏิบัติการ (Operation Room, Management Cockpit, War Room) ที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ใช่
ไม่ใช่
ระบบฐานข้อมูลในข้อ 1 ให้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน๊ต 30/09/55
4
IT5 3 ส่วนราชการต้องมีระบบการติดตาม เฝ้าระวัง และเตือนภัย (Warning System) เช่น การกำหนดระบบการเตือนภัยแบบสัญญาณไฟจราจร การจัดตั้งห้องปฏิบัติการ (Operation Room, Management Cockpit, War Room) ที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ใช่
ไม่ใช่
มีการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน 30/09/55
4
IT6 1 ส่วนราชการต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงของระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ

ใช่
ไม่ใช่
มีระบบบริหาความเสี่ยงทางด้านสารสนเทศ และมีการปฏิบัติตามแผน มีการทบทวนระบบบริหารความเสี่ยงและนโยบายด้านสารสนเทศ ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป. ได้วิเคราะห์และทบทวนระบบบริหารความเสี่ยงของระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศของ สป.มท. ประจำปีงบประมาณ 2555 โดยจัดประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ของ ศสส.สป. หมวด 4 ครั้งที่1/2555 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ตามบันทึกที่ มท 0210.5/ว 422 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 แล้วเสนอขออนุมัติดำเนินการจาก CIO พร้อมจัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ประจำปี พ.ศ 2555 แล้วนำไปเผยแพร่บนเครือข่ายอินทราเน็ตที่ http://moinet และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ www.ict.moi.go.th เพื่อให้ถือเป็นข้อปฏิบัติร่วมกันขององค์กร 30/09/55
4
IT7 1 ส่วนราชการต้องจัดทำแผนการจัดการความรู้ และนำแผนไปปฏิบัติ

ใช่
ไม่ใช่
1.1 ให้ สำนัก/กอง ในสังกัด สป.มท. ร่วมกันทบทวนประเด็นยุทธศาสตร์ และกำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของ สป.มท. 1.2 มีรายการองค์ความรู้ เพื่อสนับสนุน/สามารถตอบรับประเด็นยุทธศาสตร์ 1.3 มีการจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ 1.4 เลือกองค์ความรู้ที่จำเป็นอย่างน้อย 3 องค์ความรู้จากประเด็นยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกัน พร้อมระบุเหตุผลหรือความเหมาะสมในการเลือกองค์ความรู้ 1.5 กำหนดเกณฑ์การวัดผลสำเร็จโดยเลือกตัวชี้วัด (KPI) ตามคำรับรองฯ 1.6 มีรายการองค์ความรู้ที่มาจากการรวบรวมถ่ายทอดจากบุคลากรภายใน / ภายนอกองค์กร 30/09/55
4
IT7 2 ส่วนราชการต้องจัดทำแผนการจัดการความรู้ และนำแผนไปปฏิบัติ

ใช่
ไม่ใช่
2.1 มีคำสั่งแต่งตั้งผู้บริหารด้านการจัดการความรู้ (Chief Knowledge Officer CKO) ในกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย (CKO) 2.2 มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารจัดการความรู้และที่ปรึกษา 2.3 สำนัก/กอง ทบทวนประเด็นยุทธศาสตร์และกำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ของ สป.มท. 2.4 สำนัก/กองร่วมกำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นตามประเด็นยุทธศาสตร์แต่ละด้าน รวมทั้งนำผลสำรวจความคิดเห็นและความต้องการความรู้ของ สป.มท. มาพิจารณา และนำ Template แผนการจัดการความรู้ของปี 2550 มาใช้ 2.5 เลือกองค์ความรู้ที่จำเป็น จำนวน 3 องค์ความรู้ จากอย่างน้อย 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกัน 2.6 เลือกตัวชี้วัด (KPI) ตามคำรับรองฯ ที่มีนัยสำคัญ 1 ตัวชี้วัดต่อประเด็นยุทธศาสตร์แต่ละด้าน 2.7 การจัดทำและปฏิบัติตามแผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ มีกิจกรรมการจัดการความรู้ครบทั้ง 7 ขั้นตอน และกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง 6 องค์ประกอบ 2.8 มีกิจกรรมยกย่องชมเชยแสดงให้เห็นชัดเจน 2.9 แผนการจัดการความรู้ แต่ละองค์ความรู้ มีกิจกรรม ระยะเวลา ตัวชี้วัด เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ 2.10 นำเสนอแผนการจัดการความรู้ต่อผู้บริหารสูงสุด (CEO) คือ ปมท. และผู้บริหารสูงสุดด้านการจัดการความรู้ (CKO) คือ รอง ปมท.บ. เพื่อทบทวนความถูกต้อง เหมาะสม และลงนามเพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารได้รับทราบและสนับสนุนการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ เมื่อ 31 มีนาคม 2550 2.11 แต่งตั้งทีมปฏิบัติงานด้านการจัดการความรู้ สป.มท. 2.12 การดำเนินกิจกรรมตามแผนการจัดการความรู้แล้วเสร็จทุกกิจกรรม และดำเนินการครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ในทุกกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.13 ติดตามความก้าวหน้า/ปัญหา อุปสรรคการดำเนินงาน 4 ครั้ง โดยทีมปฏิบัติงาน KM และรายงานผลการดำเนินงาน ให้ CKO และ CEO ทราบจำนวน 4 ครั้ง ซึ่งการดำเนินงานตามกิจกรรมที่กำหนดในแผนฯ เป็นการกระตุ้นให้การขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์/KPI ของ สป.มท. เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล 2.14 มีการรายงานผลการปฏิบัติงานในที่ประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยมีรอง ปมท.บ. เป็นประธาน 30/09/55
5
HR 1 1 ส่วนราชการต้องกำหนดปัจจัยทีมีผลต่อความผาสุก และความพึงพอใจ ของบุคลากร รวมทั้งต้องมีการวิเคราะห์และปรับปรุงปัจจัย ดังกล่าวให้มีความเหมาะสม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ

ใช่
ไม่ใช่
กองการเจ้าหน้าที่ สป. ได้ดำเนินการวิจัยในปีงบประมาณ 2554 ในหัวข้อ "คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในองค์การภาครัฐ : เปรียบเทียบหน่วยงานภาครัฐ" ซึ่งเป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัยทุกประการ รวมถึงได้กำหนดปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกและวัดความพึงพอใจของบุคลากรทุกกลุ่ม อีกทั้งในงานวิจัยนี้ได้มีการวัดตัวแปรของความผูกพันตนเองกับองค์การเพิ่มเติมด้วย เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ 30/09/55
5
HR 1 2 ส่วนราชการต้องกำหนดปัจจัยทีมีผลต่อความผาสุก และความพึงพอใจ ของบุคลากร รวมทั้งต้องมีการวิเคราะห์และปรับปรุงปัจจัย ดังกล่าวให้มีความเหมาะสม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ

ใช่
ไม่ใช่
จากผลการวิจัยที่ได้กองการจ้าหน้าที่ สป. ได้นำปัจจัยและระดับความพึงพอใจที่วัดได้มาใช้ในการใช้วางแผนสร้างความผาสุก และความพึงพอใจของบคุลากร โดยกำหนดแผนการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ หรือกำหนดเป้นแผนสร้างความผาสุกของบคุลากรสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2554-2556 30/09/55
5
HR 1 3 ส่วนราชการต้องกำหนดปัจจัยทีมีผลต่อความผาสุก และความพึงพอใจ ของบุคลากร รวมทั้งต้องมีการวิเคราะห์และปรับปรุงปัจจัย ดังกล่าวให้มีความเหมาะสม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ

ใช่
ไม่ใช่
ในปีงบประมาณ 2555 สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการตามแผนการสร้างความผาสุก ดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมจำหน่วยสินค้าอุปโภคบริโภค ราคาถูกให้กับบุคลากรเป็นประจำ เดือน ละ 2 ครั้ง ทุกเดือน 2) การจัดจำหน่ายสินค้าราคาถูก ณ ห้องอาหาร มท. ได้ทำการปรับปรุงสถานที่ และการยืนราคาสินค้าคงเดิม 3) การจัดศูนย์บริการสุขภาพ มท. ซึ่งได้รับความพึงพอใจจากการสอบถามผู้ใช้บริการ 4) การให้บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ ประจำปี 2555 และการตรวจติดตามทุกๆ รอบ 3 เดือน 5) การขอความร่วมมือให้ข้าราชการแต่งกายด้วยเครื่องแบบในวันจันทร์ และชุดผ้าไทยในวันอังคารทุกสัปดาห์ 6) ดำเนินการปรับปรุงอาคารสถานที่ทำงาน และบริเวณห้องอาหาร มท. 30/09/55
5
HR 1 4 ส่วนราชการต้องกำหนดปัจจัยทีมีผลต่อความผาสุก และความพึงพอใจ ของบุคลากร รวมทั้งต้องมีการวิเคราะห์และปรับปรุงปัจจัย ดังกล่าวให้มีความเหมาะสม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ

ใช่
ไม่ใช่
1) มีการประเมินความผาสุก และความพึงพอใจของบุคลากรในกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ 2) การให้บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ ประจำปี 2555 ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้รับบริการได้รับผลการวิเคราะห์ประเมินความพึงพอใจโดยภาพรวม อยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 4.53 ความแปรปรวน = 0.542) 30/09/55

 


กลับหน้าหลัก