ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

วันที่ 04 ธันวาคม 2567  
แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่สอดคล้องกับภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย หน่วยงาน ตัวชี้วัด / ค่าเป้าหมาย ผลงานที่เกิดขึ้นจริง
การขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่
สนผ.สป.
ระดับความสำเร็จในการจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน แบบรูปรายการ และประมาณการราคา ในพื้นที่นำร่อง อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
1.การประชุมคณะทำงานดำเนินการจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน แบบรูปรายการ และประมาณการาคาในพื้นที่จังหวัดนำร่องการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ จำนวน 500 คน
2. คณะทำงานดำเนินการจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน แบบรูปรายการ และประมาณการาคาในพื้นที่จังหวัดนำร่องการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ได้ดำเนินการจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดินโครงการต่อยอดพื้นที่ทฤษฎีใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เสร็จเรียบร้อยแล้ว
3.การประชุมหารือการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อน้อมนำทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่อารยาเกษตรป่าชุมชน และตรวจเยี่ยม ติดตามผลการดำเนินงานโครงการสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ณ จังหวัดลำปางและ
จังหวัดพะเยา โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ จำนวน 1,500 คน

การสนับสนุนการช่วยเหลือสินค้าเกษตร
สนผ.สป.
ระดับความสำเร็จในการสนับสนุนการช่วยเหลือสินค้าเกษตร
การขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรที่สำคัญตามนโนบายของรัฐบาล
1. การขับเคลื่อนงานด้านพืชเกษตรสำคัญ 6 ชนิด (ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และอ้อย)
โดย ปลัดกระทรวงมหาดไทย มอบหมายอธิบดีกรมการปกครองหรือผู้แทนที่เห็นสมควร ร่วมเป็นกรรมการตามคำสั่ง ดังนี้ 1) คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) 2) คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) 3)คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) 4) คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.)
2. การขับเคลื่อนงานด้านบริหารจัดการสินค้าเกษตร 7 กลุ่มสินค้า (ข้าวสับปะรดและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ประมง ปศุสัตว์ ยางพารา และกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ)
3. การขับเคลื่อนงานด้านปศุสัตว์ (ประมงพื้นบ้าน และการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร รวมถึงสัตว์เศรษฐกิจอื่นๆ)
4. การขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรอื่นๆ (สารเคมีทางการเกษตร และสับปะรด)
5. การจัดทำความเห็นของกระทรวงมหาดไทย เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนงานด้านเกษตร
6. การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อป้องกันและปราบปราม ตรวจสอบ ติดตาม และเร่งรัดการดำเนินคดีเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าประเภทสุกร เนื้อสุกร หรือชิ้นส่วนสุกร ที่ผิดกฎหมาย ครั้งที่ 1/2566

โครงการจิตอาสาพระราชทาน
สนผ.สป.
ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการจิตอาสาพระราชทาน
-

การสนับสนุนการขับเคลื่อนงานนโยบายสู่การปฏิบัติในพื้นที่
สนผ.สป.
ร้อยละความสำเร็จในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานนโยบายสู่การปฏิบัติในพื้นที่
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้ดำเนินการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานนโยบายสู่การปฏิบัติในพื้นที่โดยประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ 361,725 คน
1. การจัดงานแสดงนิทรรศการนานาชาติ Sustainability Expo 2023 ของกระทรวงมหาดไทย ระหว่างวันที่ 2 – 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
ภายใต้แนวคิด “GOOD BALANCE, BETTER WORLD สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า” เพื่อประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของ มท. มีประชาชน/ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์จากการดำเนินงาน จำนวนทั้งสิ้น 63,025 คน
2. การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน มีประชาชน และ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ จำนวน 288,800 คน
3. วิทยากรบรรยายถวายความรู้ เจ้าคณะจังหวัดคณะธรรมยุตและคณะอนุกรรมการคณะธรรมยุตทั้ง 5 คณะ เรื่อง ภารกิจกระทรวงมหาดไทยด้านพระพุทธศาสนา เมื่อวันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2566 ณ วัดธรรมมงคลเถาบุญนนทวิหาร เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยมีประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ จำนวน 300 คน
4. การประชุมคณะทำงานดำเนินการจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ีดิน แบบรูปรายการ และประมาณการราคาในพื้นที่จังหวัดนำร่องการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ จำนวน 100 คน
5. การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ระดับกระทรวง มีผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ จำนวน 300 คน
6. การประชุมขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 และพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ หมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ ประจำปี พ.ศ. 2566 และกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การผนึกกำลังสงฆ์ ราษฎร์ รัฐ เพื่อขับเคลื่อนสังคมแห่งศีลธรรม" โดยมีผู้เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ 1,500 รูป/คน
7. โครงการสร้างการรับรู้และเผยแพร่พระอัจฉริยภาพทางด้านการอนุรักษ์และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาการทอผ้าของไทย ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยมีผู้เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ จำนวน 900 คน
8. การประชุมหารือการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อน้อมนำทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่อารยาเกษตรป่าชุมชน และ ตรวจเยี่ยม ติดตามผลการดำเนินงานโครงการสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ณ จังหวัดลำปางและ
จังหวัดพะเยา โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ จำนวน 1,500 คน
9. การประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน Sustainability Expo 2024 จำนวน 2 ครั้ง โดยมีผู้เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ จำนวน 100 คน
10. การประชุมหารือการจัดนิทรรศการนานาชาติ Sustainability Expo 2024 จำนวน 4 ครั้ง โดยมีผู้เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ จำนวน 200 คน
11. การจัดงานแสดงนิทรรศการนานาชาติ Sustainability Expo 2024 ของกระทรวงมหาดไทย ระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 6 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiency for Sustainability) เพื่อประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของ มท. มีประชาชน/ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ จำนวน 5,000 คน

การส่งเสริมการขับเคลื่อนหลักการทรงงานและการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สนผ.สป.
ร้อยละของประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการ
-

การส่งเสริมการขับเคลื่อนหลักการทรงงานและการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สนผ.สป.
ระดับความสำเร็จของการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-

โครงการปลูกฝังจิตสำนึกรักสามัคคีและส่งเสริมความปรองดองของคนในชาติ
สนผ.สป.
ร้อยละของผู้ได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการปลูกฝังสำนึกรักสามัคคีและเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์
จังหวัดดำเนินขับเคลื่อนกิจกรรมปลูกฝังจิตนึกรักสามัคคีและส่งเสริมความปรองดองของคนในชาติ ประจำปี 2567 โดยให้จังหวัดติดตามและขยายผลการดำเนินงานโครงการในรูปแบบออนไลน์/ผสมผสาน จากกลุ่มเป้าหมาย (กลุ่มเด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการในปี 2561 - 2566 และกลุ่มเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ภายในจังหวัด) และรายงานผลการดำเนินการให้ มท. ทราบแล้ว 75 จังหวัด 1 จังหวัดไม่สามรถกำเนินการขับเคลื่อนเนื่องจากประสบปัญหาภายใน (จังหวัดนครปฐม) โดยในปีงบประมาณ 2567 มีจำนวนผู้ได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 8,892 คน สูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด (เป้าหมายที่กำหนด 6,840 คน)

โครงการปลูกฝังจิตสำนึกรักสามัคคีและส่งเสริมความปรองดองของคนในชาติ
สนผ.สป.
จำนวนผู้ได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการปลูกฝังสำนึกรักสามัคคีและเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์
จังหวัดดำเนินขับเคลื่อนกิจกรรมปลูกฝังจิตนึกรักสามัคคีและส่งเสริมความปรองดองของคนในชาติ ประจำปี 2567 โดยให้จังหวัดติดตามและขยายผลการดำเนินงานโครงการในรูปแบบออนไลน์/ผสมผสาน จากกลุ่มเป้าหมาย (กลุ่มเด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการในปี 2561 - 2566 และกลุ่มเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ภายในจังหวัด) และรายงานผลการดำเนินการให้ มท. ทราบแล้ว 75 จังหวัด 1 จังหวัดไม่สามรถกำเนินการขับเคลื่อนเนื่องจากประสบปัญหาภายใน (จังหวัดนครปฐม) โดยในปีงบประมาณ 2567 มีจำนวนผู้ได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 8,892 คน สูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด (เป้าหมายที่กำหนด 6,840 คน) กลุ่มเป้าหมายรับรู้และเข้าใจปัญหา และมีส่วนร่วมการดำเนินการสร้างความสามัคคีปรองดองและสมานฉันท์ คิดเป็นร้อยละ 89.89 มากกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

โครงการขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการชายแดนความมั่นคง
สนผ.สป.
จำนวนครั้งในการจัดประชุมสร้างความเข้าใจแนวทางการขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง (ส่วนกลาง)
จังหวัดชายแดน 31 จังหวัด ดำเนินการการศึกษาพื้นที่ในแต่ละจังหวัดชายแดนที่มีความเหมาะสมในการยกระดับเป็นจุดผ่านแดนประเภทต่างๆ และเตรียมความพร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐานบริเวณจุดผ่านแดนต่างๆ ซึ่งยังไม่ใช่จุดผ่านแดนถาวรให้มีความพร้อมสำหรับการยกระดับเป้นจุดผ่านแดนถาวร และสามารถป้องกันภัยความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งมีจังหวัดรายงานผลการศึกษาให้กระทรวงมหาดไทยทราบแล้ว จำนวน 29 จังหวัด

โครงการขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการชายแดนความมั่นคง
สนผ.สป.
จำนวนครั้งในการจัดประชุมสร้างความเข้าใจแนวทางการขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง (ส่วนภูมิภาค)
จังหวัดชายแดน 31 จังหวัด ดำเนินการการศึกษาพื้นที่ในแต่ละจังหวัดชายแดนที่มีความเหมาะสมในการยกระดับเป็นจุดผ่านแดนประเภทต่างๆ และเตรียมความพร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐานบริเวณจุดผ่านแดนต่างๆ ซึ่งยังไม่ใช่จุดผ่านแดนถาวรให้มีความพร้อมสำหรับการยกระดับเป้นจุดผ่านแดนถาวร และสามารถป้องกันภัยความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งมีจังหวัดรายงานผลการศึกษาให้กระทรวงมหาดไทยทราบแล้ว จำนวน 29 จังหวัด

โครงการขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการชายแดนความมั่นคง
สนผ.สป.
ระดับความสําเร็จของการจัดประชุมสร้างความเข้าใจแนวทางการขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง (ส่วนกลาง)
จังหวัดชายแดน 31 จังหวัด ดำเนินการการศึกษาพื้นที่ในแต่ละจังหวัดชายแดนที่มีความเหมาะสมในการยกระดับเป็นจุดผ่านแดนประเภทต่างๆ และเตรียมความพร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐานบริเวณจุดผ่านแดนต่างๆ ซึ่งยังไม่ใช่จุดผ่านแดนถาวรให้มีความพร้อมสำหรับการยกระดับเป้นจุดผ่านแดนถาวร และสามารถป้องกันภัยความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งมีจังหวัดรายงานผลการศึกษาให้กระทรวงมหาดไทยทราบแล้ว จำนวน 29 จังหวัด

โครงการขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการชายเเดนความมั่นคง
สนผ.สป.
ระดับความสําเร็จของการจัดประชุมสร้างความเข้าใจแนวทางการขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง (ส่วนภูมิภาค)
จังหวัดชายแดน 31 จังหวัด ดำเนินการการศึกษาพื้นที่ในแต่ละจังหวัดชายแดนที่มีความเหมาะสมในการยกระดับเป็นจุดผ่านแดนประเภทต่างๆ และเตรียมความพร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐานบริเวณจุดผ่านแดนต่างๆ ซึ่งยังไม่ใช่จุดผ่านแดนถาวรให้มีความพร้อมสำหรับการยกระดับเป้นจุดผ่านแดนถาวร และสามารถป้องกันภัยความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งมีจังหวัดรายงานผลการศึกษาให้กระทรวงมหาดไทยทราบแล้ว จำนวน 29 จังหวัด

โครงการสนับสนุนการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด กระทรวงมหาดไทย
สนผ.สป.
ระดับความสำเร็จในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
1. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะเจ้าภาพแผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อให้หน่วยงานระดับพื้นที่ใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงานฯ
2. นำนโยบายและแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อให้หน่วยปฏิบัติใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงานฯ ในพื้นที่
3. แจ้งแนวทางการดำเนินงานฯ เพื่อให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และดำเนินงานฯ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติการฯ
4. ศอ.ปส.มท. ดำเนินการร่วมกับสำนักงาน ปปส. ในฐานะเจ้าภาพแผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กำหนดเป้าหมาย แนวทางการดำเนินงานป้องกันฯ เพื่อให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน

การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามคู่มือการพัฒนาคนทุกช่วงวัย (จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน) ในพื้นที่ (จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
สนผ.สป.
ร้อยละของครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 ที่ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
1. สป.มท. ได้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อกำหนดทิศทาง แนวทาง ในการดำเนินงานจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินการตามตัวชี้วัด โดยกำหนดให้ตัวชี้วัดการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) กำหนดเป็นตัวชี้วัดตามนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงมหาดไทย (Agenda KPI) ที่กำหนดให้มีการประเมินทุกจังหวัด ทั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยจะประเมินผลตัวชี้วัดนี้จากผลการดำเนินงานของจังหวัดเป็นภาพรวมของประเทศ
2. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 มท. โดย พช. ได้มีหนังสือแจ้งการซักซ้อมการดำเนินงานขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไปยังจังหวัดทุกจังหวัดเรียบร้อยแล้ว
3. เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 67 สป.มท. ได้ชี้แจงหลักเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินการตามตัวชี้วัดร้อยละของครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับการขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการประชุมชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
4. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการตรวจสอบสภาพปัญหาครัวเรือน ตามเงื่อนไขข้อยกเว้นที่กำหนด เพื่อให้ได้จำนวนครัวเรือนที่ต้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งผลจากการตรวจสอบพบว่า มีกลุ่มเป้าหมายครัวเรือนยากจนตามระบบ TPMAP ปี 2566 (ที่ปรับลดตามข้อยกเว้นแล้ว) จำนวน 173,318 ครัวเรือน (จากเดิม 197,298 ครัวเรือน)
5. มท. ดำเนินการมอบนโยบายและข้อสั่งการในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการประชุมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของ มท.
6. มีการสื่อสารและสร้างการรับรู้ให้กับสังคมเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านหน้าเพจ “กระทรวงมหาดไทย PR” https://www.facebook.com/prmoithailand?mibextid=LQQJ4d
7. สป.มท. ได้ประสาน พช. เพื่อขอข้อมูลครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 (ที่ปรับลดตามข้อยกเว้นแล้ว) เพื่อใช้ในการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (รอบ 12 เดือน) ซึ่ง พช. ได้ประสานงานกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพื่อดำเนินการจัดทำข้อมูลดังกล่าว ซึ่งมีการปรับจำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 โดยปรับลดตามข้อยกเว้น จาก 197,298 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 9 มีนาคม 2566) เป็น 172,467 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2567) โดยมีการปรับลดตามเงื่อนไข จำนวนครัวเรือน 24,831 ครัวเรือน จำแนกได้ดังนี้ (1) ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ตัวชี้วัดเด็กแรกเกิดมีน้ำหนัก 2,500 กรัม จำนวน 133 ครัวเรือน (2) ครัวเรือนที่มีสมาชิกครัวเรือน
ตกเกณฑ์ในเรื่องของการมีอาชีพ และรายได้ แต่มีความพิการ ชราภาพ ไม่สามารถพัฒนาได้ จำนวน 21,046 ครัวเรือน (3) ครัวเรือนที่ไม่มีอยู่จริงในพื้นที่ เนื่องจากย้ายออกจากหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 1,953 ครัวเรือน และ (4) ครัวเรือนที่ไม่มีสมาชิกอยู่ เนื่องจากสมาชิกทั้งหมดเสียชีวิต จำนวน 1,699 ครัวเรือน
8. ผลการประเมินผลตัวชี้วัด (รอบ 12 เดือน) โดยวัดจากผลการดำเนินงานของจังหวัดในภาพรวมของประเทศ โดยพิจารณาความสำเร็จของการดำเนินงานการขับเคลื่อนงานขจัดความยากจนของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ จากจำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 เทียบกับจำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 ที่ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2567 (เฉพาะ 17 ตัวชี้วัดที่นำมาใช้ในการคำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ (MPI)) พบว่า มีครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 ที่ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2567 จำนวน 140,256 ครัวเรือน (จากครัวเรือนเป้าหมาย ปี 66 จำนวน 197,298 ครัวเรือน) คิดเป็นร้อยละ 71.09

โครงการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ตท.สป.
ร้อยละของการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินงาน
1.โครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนไทยและชุมชนในภูมิภาคอาเซียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานรากเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนลดความยากจนและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน อำเภอท่าลี่
จังหวัดเลย สัญญาวงเงิน 500,000 บาท อยู่ระหว่างระยะที่ 2
2.เบิกจ่ายค่าจ้างเหมาบริการ จำนวน 3 อัตรา ระยะเวลา 9 เดือน
3.คลินิกงานชายแดนเคลื่อนที่ ดำเนินการ 2 ครั้ง
3.1.การเดินทางไปราชการเพื่อตรวจสภาพภูมิประเทศจังหวัดชายแดนด้านมาเลเซีย (จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา) เมื่อวันที่ ๑๐ - ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๗ โดยได้ดำเนินการตรวจสภาพจุดผ่านแดนประเภทต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดดังกล่าวข้างต้น จำนวนทั้งสิ้น ๕ จุด และมีการประชุมบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานส่วนภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี และความร่วมมือในเชิงสร้างสรรค์ การรับฟังประเด็นปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไข ตลอดจนความต้องการของพื้นที่ และการลงพื้นที่เพื่อสำรวจสภาพข้อเท็จจริง
3.2.การจัดประชุมคลินิกงานชายแดนเคลื่อนที่ จังหวัดชายแดนด้านราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 17 - 20 มิถุนายน 2567 ณ จังหวัดชลบุรี
4.ปมท.ได้อนุมัติโครงการค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 และได้ดำเนินกิจกรรมที่ 3 การสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย การจัดสรรเงินให้จังหวัด จำนวน 76 จังหวัดๆละ 20,000 บาท (บันทึกแจ้งกองคลัง สป. โอนไปจังหวัด)
5.การเตรียมการเข้าร่วมประชุม โดยกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ มีการกำหนดการประชุมเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาทียั่งยืน(HLPF) ระหว่างวันที่ 8-18 กรกฎาคม 2567 ประเทศสหรัฐอเมริกา เป้าหมาย (SDGs) ที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่
6.กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสหประชาชาติประจำประเทศไทยจัดพิธีลงนามประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดของประเทศไทย วันที่ 6 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุม ESCAP Hall ชั้น 2 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กทม. โดยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน จำนวน 76 จังหวัด
7.มอบหมายภารกิจและการเตรียมการรับการตรวจประเมินรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประเภทรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 (PMQA 4.0) การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนของกระทรวงมหาดไทย (SDGs)
8.ปมท.ได้อนุมัติโครงการส่งเสริมความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 วงเงิน 480,000 บาท



การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กระทรวงมหาดไทย
ตท.สป.
ระดับความสำเร็จของการเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของกระทรวงมหาดไทย
ผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 1
1.ได้อนุมัติแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ (Action Plan ๑-๓) โครงการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) จำนวน ๙,๖๘๔,๕๐๐ บาท
2.ได้มีการประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เชิงรุก ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ภารกิจของกระทรวงมหาดไทยที่ดำเนินการ
ในห้วงที่ผ่านมาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สามารถสรุปผลการประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่เกี่ยวข้อง ได้ดังนี้
2.1 การประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวงมหาดไทยที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (SDGs) ในงาน Sustainability Expo 2024 ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน – ๘ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ การนำเสนอภารกิจงานของกระทรวงมหาดไทยที่สอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผ่านแนวคิด ๕ กิจกรรม คือ ๑) "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง น้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ที่เกี่ยวข้องทุกพระองค์ สู่การนำมาปฏิบัติผ่านวิสัยทัศน์กระทรวงมหาดไทย ๒) “ก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ผ่านการขับเคลื่อน SDGs ๗๖ จังหวัด ๗๖ คำมั่นสัญญาเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน
๓) “THINK GLOBAL, ACT LOCAL” เล่าเรื่องราวผ่าน Gallery จากภาพฝันสู่การปฏิบัติบูชา ๔) “ACTION NOW” การสร้างความเข้มแข็ง การนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติในเชิงพื้นที่ โดยการนำเสนอกิจกรรม Live Action, MOI WAR ROOM และ Workshop และ ๕) “มหาดไทยปันสุข” ฟื้นฟูวิถีการให้และแบ่งปัน ส่งผลผลิตจากแปลงโคก หนอง นา อารยเกษตร โดยครัวเรือนและชุมชนต้นแบบ สู่มือพี่น้องประชาชน
ทั่วประเทศ” ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวงฯ ให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป
2.2 กระทรวงมหาดไทยและสหประชาชาติประจำประเทศไทยได้จัดการประชุมหุ้นส่วนการพัฒนาระหว่างกระทรวงมหาดไทยและองค์การสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (MOI-UN Partnership towards Sustainable Thailand through SDG Localization) ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 – 16.45 น.
ณ ห้องประชุม ESCAP Hall ชั้น 2 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์
เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำของการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่าง มท.และ UN ประจำประเทศไทย
ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี
ในการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติในเชิงพื้นที่ผ่านโครงการที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน โครงการธนาคารขยะ โครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) และโครงการแฟชั่นผ้าไทยเพื่อความยั่งยืน นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอความก้าวหน้าตามโครงการการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติในระดับพื้นที่ (SDG Localization) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สหประชาชาติประจำประเทศไทย ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนภาควิชาการ ผู้แทนภาคประชาชน
2.3 การประชาสัมพันธ์ภารกิจของกระทรวงมหาดไทยที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยปลัดกระทรวงมหาดไทยในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ ๒๘ (COP28) ที่บริเวณศาลาไทย (Thailand Pavillion) Expo City Dubai เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. ตามเวลาประเทศไทย โดยปลัดกระทรวงมหาดไทยพร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ปาฐกถาพิเศษ "ความสำเร็จการคัดแยกขยะต้นทางของกระทรวงมหาดไทย" โดยมี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ศาสตราจารย์ ดร.ชนาธิป ผาริโน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นางต้องใจ ธนะชานันท์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานความยั่งยืนและกลยุทธ์ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ นายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ด้านการบริหารความยั่งยืน บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย นางแสงจันทร์ ระวังกิจ ปลัด อบต.โก่งธนู นายพิทักษ์รัฐ ระวังกิจ ปลัด อบต.บ้านข่อย นายณวิช อุ่นวิจิตร หัวหน้ากลุ่มงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กองสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และผู้สนใจ ร่วมรับฟัง โดยเป็นการถ่ายทอดผ่านระบบ FB Live
2.4 กระทรวงมหาดไทยประกาศร่วมกับสหประชาชาติประจำประเทศไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกาศความสำเร็จการจัดตั้งธนาคารขยะภายใต้หุ้นส่วนการพัฒนาอย่างยั่งยืน (The Success of Thailand's Waste Bank Partnership Initiative) เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุม ESCAP โดยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน วัตถุประสงค์เป็นการประกาศความสำเร็จในการจัดตั้งธนาคารขยะให้ครบทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำขยะที่สามารถใช้ประโยชน์ได้กลับไปสู่กระบวนการใช้ประโยชน์อีกครั้งหนึ่ง เป็นการลดปริมาณขยะในประเทศที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และยังสามารถสร้างรายได้ สร้างสวัสดิการให้แก่ประชาชนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อน SDGs ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ในการนี้ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้เน้นย้ำว่ากระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม โดยให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง ๑๗ ข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อที่ ๑๗ "Partnership" ที่ถือเป็นกลไกการทำงานที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้ ความสำเร็จการจัดตั้งธนาคารขยะ รวมถึงความสำเร็จของการมีถังขยะเปียกลดโลกร้อนในทุกครัวเรือน กระทรวงมหาดไทยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ Key Success ที่สำคัญ คือ ภาคีเครือข่ายทั้ง ๗ ภาคีทั่วประเทศ จนทำให้เกิดความสำเร็จ ด้วยพวกเรามีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการดำเนินการตามคำมั่นสัญญาที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเจตนารมณ์ "๗๖ จังหวัด ๗๖ คำมั่นสัญญา เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน" ร่วมกับ UN เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ แสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยมีความสุข และหนุนเสริมทำให้เราชาวมหาดไทยมีแรงกระตุ้นและมี "Passion" ในการนำหัวใจของเราไปสู่พี่น้องประชาชน ด้วยการขับเคลื่อนอย่างมีพลังทำให้เกิดความสำเร็จดังที่พวกเราตั้งใจจนเกิดผลเป็นรูปธรรมได้ ซึ่งการคัดแยกขยะครัวเรือนใน ๑๔ ล้านครัวเรือน ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นจุดเริ่มต้นของการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้รับสนับสนุนรับซื้อคาร์บอนเครดิตจากธนาคารกสิกรไทย จำนวน ๓,๑๔๐ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า รวมมูลค่า ๘๑๖,๔๐๐ บาท ตลอดจน บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ และองค์กรภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุน ทำให้ปัจจุบันเราได้จำหน่ายคาร์บอนเครดิตแล้วกว่า ๒.๕ ล้านบาท โดยมี UN ประจำประเทศไทยเป็นกำลังใจให้เราชาวมหาดไทย ขับเคลื่อนโดยนำต้นแบบของการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ไปสู่การจัดตั้งธนาคารขยะ ในจำนวน ๗,๘๔๙ อปท. ปัจจุบันเราสามารถจัดตั้งธนาคารขยะ ๑๔,๖๕๘ แห่ง ครบทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ทุกหมู่บ้านใน ๘๗๘ อำเภอ ๗๖ จังหวัดมีตัวอย่างที่ดี "Best Practice" ขยายผลไปสู่หมู่บ้านครัวเรือนเพิ่มเติม
2.5 การรายงานข้อมูลภารกิจกระทรวงมหาดไทยที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (SDGs) ในรูปแบบเอกสารต่อกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้นำเสนอในการประชุม Asia-Pacific Forum on Sustainable Development 2024 : APFSD เมื่อวันที่ ๒๐ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุม ESCAP Hall ชั้น 2 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร โดยการประชุม APFSD 2024 เป็นเวทีหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สำคัญของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อเตรียมการสำหรับเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-level Political Forum on Sustainable Development: HLPF) ภายใต้กรอบการดำเนินงานของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Council: ECOSOC) ซึ่งมีกำหนดจัดระหว่างวันที่ ๘ - ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ (The 2030 Agenda for Sustainable Development: Agenda 2030) ในระดับภูมิภาค

ไตรมาสที่ 2
-ปลัดกระทรวงมหาดไทยอนุมัติโครงการเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2567 วงเงิน 9,684,500 บาท ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย จำนวน 3 กิจกรรมย่อย และมีการโอนเงินจัดสรรให้จังหวัด จำนวน 76 จังหวัดๆละ 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,520,000 บาทในกิจกรรมที่ 3 การสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาท่ียั่งยืน(SDGs)ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย (บันทึกแจ้ง กองคลัง สป. โอนเงินไปจังหวัด ตัด FMD แล้ว)
-กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสหประชาชาติประจำประเทศไทยจัดพิธีลงนามประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดของประเทศไทย วันที่ 6 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุม ESCAP Hall ชั้น 2 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กทม. โดยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน จำนวน 76 จังหวัด
-มอบหมายภารกิจและการเตรียมการรับการตรวจประเมินรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประเภทรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 (PMQA 4.0) การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนของกระทรวงมหาดไทย (SDGs)
-การเตรียมการเข้าร่วมประชุม โดยกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ มีการกำหนดการประชุมเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาทียั่งยืน(HLPF) ระหว่างวันที่ 8-18 กรกฎาคม 2567 ประเทศสหรัฐอเมริกา เป้าหมาย SDGs ที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

ไตรมาสที่ 3
ผลการดำเนินการ ไตรมาสที่ 3 : กองการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย
-ปลัดกระทรวงมหาดไทยอนุมัติโครงการเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2567 วงเงิน 9,684,500 บาท ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย จำนวน 3 กิจกรรมย่อย และมีการโอนเงินจัดสรรให้จังหวัด จำนวน 76 จังหวัดๆละ 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,520,000 บาทในกิจกรรมที่ 3 การสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาท่ียั่งยืน(SDGs)ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย
-กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสหประชาชาติประจำประเทศไทยจัดพิธีลงนามประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดของประเทศไทย วันที่ 6 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุม ESCAP Hall ชั้น 2 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กทม. โดยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน จำนวน 76 จังหวัด
-มอบหมายภารกิจและการเตรียมการรับการตรวจประเมินรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประเภทรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 (PMQA 4.0) การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนของกระทรวงมหาดไทย (SDGs)
-การเตรียมการเข้าร่วมประชุม โดยกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ มีการกำหนดการประชุมเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาทียั่งยืน (HLPF) ระหว่างวันที่ 8-18 กรกฎาคม 2567 ประเทศสหรัฐอเมริกา
ไตรมาสที่ 4
-โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการและระดมความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในระดับพื้นที่่และส่วนกลาง วงเงิน 870,000 บาท
-โครงการประกาศความสำเร็จและการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระหว่าง มท. กับต่างประเทศ วงเงิน 2,850,000 บาท
- โครงการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงและติดตามผลการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับพื้นที่ (SDG Localization )ของ มท. วงเงิน 1,100,000 บาท

โครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
สบจ.สป.
จำนวนศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุนมีความพร้อมรองรับการให้บริการแก่ประชาชน
- สนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุยในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (OSS)
- กระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานสรรหา คัดเลือก เจรจา และ กำกับติดตามการดำเนินการของผู้ลงทุนในที่ดินราชพัสดุที่กำหนดเป็นพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 เพื่อร่วมพิจารณาแผนการดำเนินงาน (Action Plan) แผนการใช้จ่ายเงินในการลงทุนให้สอดคล้องกับช่วงระยะเวลาปัจจุบัน และแผนการชำระเงินค่าเช่า ค่าธรรมเนี่ยมการจัดให้เช่าที่ดินราชพัสดุในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราดและนครพนม
- เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานสรรหา คัดเลือก เจรจา และกำกับติดตามการดำเนินการของผู้ลงทุนในที่ดินราชพัสดุที่กำหนดเป็นพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 เพื่อร่วมพิจารณาแผนการดำเนินงาน (Action Plan) แผนการใช้จ่ายเงินในการลงทุนให้สอดคล้องกับช่วงระยะเวลาปัจจุบัน และแผนการชำระเงินค่าเช่า ค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่าที่ดินราชพัสดุในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราดและนครพนม
- กระทรวงมหาดไทยแจ้งจังหวัดดำเนินการจัดการประชุมคณะทำงานระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในระดับจังหวัด ร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัด (กรอ.จังหวัด) และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อเสนอความต้องการ ข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรค ที่เป็นประเด็นสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0212.1/ว9236 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2567 และจังหวัดระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 16 จังหวัด ได้จัดทำข้อเสนอความต้องการ ข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรคให้กระทรวงมหาดไทยรวบรวมและประมวลข้อมูลดังกล่าวให้หน่วยงานระดับนโยบายขับเคลื่อนต่อไป 33 กระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียง - เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC - Bioeconomy) ร่วมกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น โดยร่วมกันประเมินสภาพแวดล้อมและสถานการณ์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการโครงการร่วมกัน

โครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
สบจ.สป.
ระดับความสำเร็จการขับเคลื่อนระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษ
- กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือด่่วนที่สุด ที่ มท 0212.1/ว10841 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 จัดสรรงบประมาณให้จังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กับศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน จำนวน จังหวัดละ 219,000 บาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 2,190,000 บาท
- สนับสนุนและพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของศูนย์การบริการศูนย์การบริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (OSS) ตลดจนพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ผู่้ปฏิบัติงานประจำศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (OSS) เพื่อให้มีความพร้อมรองรับการให้บริการแก่นักลงทุน และให้บริการข้อมูลแก่ประชาชนและผูที่สนใจ
- กระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานสรรหา คัดเลือก เจรจา และกำหับตืดตามการดำเนินการของผู้ลงทุนในที่ดินราชพัสดุที่กำหนดเป็นพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 เพื่อร่วมพิจารณาแผนการดำเนินงาน (Action Plan) แผนการใช้จ่ายเงินในการลงทุนให้สอดคล้องกับช่วงระยะเวลาปัจจุบัน และแผนการชำระเงินค่าเช่า ค่าธรรมเนี่ยมการจัดให้เช้าที่ดินราชพัสดุในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราดและนครพนม
- เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานสรรหา คัดเลือก เจรจา และกำกับติดตามการดำเนินการของผู้ลงทุนในที่ดินราชพัสดุที่กำหนดเป็นพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 เพื่อร่วมพิจารณาแผนการดำเนินงาน (Action Plan) แผนการใช้จ่ายเงินในการลงทุนให้สอดคล้องกับช่วงระยะเวลาปัจจุบัน และแผนการชำระเงินค่าเช่า ค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่าที่ดินราชพัสดุในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราดและนครพนม
- กระทรวงมหาดไทยแจ้งจังหวัดดำเนินการจัดการประชุมคณะทำงานระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในระดับจังหวัด ร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัด (กรอ.จังหวัด) และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อเสนอความต้องการ ข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรค ที่เป็นประเด็นสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ประจำงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0212.1/ว9236 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2567 และจังหวัดระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 16 จังหวัด ได้จัดทำข้อเสนอความต้องการ ข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรคให้กระทรวงมหาดไทยรวบรวมและประมวลข้อมูลดังกล่าวให้หน่วยงานระดับนโยบายขับเคลื่อนต่อไป
- กระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC - Bioeconomy) ร่วมกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาในพื้นที่
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น โดยร่วมกันประเมินสภาพแวดล้อมและสถานการณ์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และวิเคราะห์ข้อเสนอโครงการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการโครงการร่วมกัน

การพัฒนาประสิทธิภาพและประสานงานการข่าวกรองและพัฒนาการข่าวภาคประชาชน
ศปข.มท.
จำนวนหน่วยงานที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมาย
-จังหวัด 76 จังหวัด ดำเนินการตามโครงการฯ โดยจัดอบรมสมาชิกเครือข่ายประชาชนด้านการข่าวครบทั้ง 76 จังหวัด ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน 603,185 บาท จากงบทั้งหมดที่จัดสรรให้ 76 จังหวัด จำนวน 608,000 บาท (มีเงินงบประมาณที่ไม่ได้เบิกจ่าย รวม 4,815 บาท ซึ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการฯ ของแต่ละจังหวัด)

การอำนวยการและประสานนโยบายกิจการต่างประเทศ กิจการชายแดน และผู้อพยพ
ตท.สป.
จำนวนครั้งในการเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศและจำนวนครั้งในการออกติดตามพื้นที่พักพิงชั่วคราว สำหรับผู้หนีภัย การสู้รบจากเมียนมา
ไตรมาสที่ 4
มีการเดินทางไปราชการต่างประเทศ จำนวน 2 ครั้ง
1.การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ครั้งที่ 15 และการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วม สำหรับพื้นที่ชายแดน (JDS) ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 และระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 9 ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 4-6 สิงหาคม 2567)
2.กพบ. เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม (UTSC) ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ ๔ ระหว่างวันที่ 1๓ - ๑๔ ก.ค. ๒๕๖๗ ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา

การออกติดตามพื้นที่พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา จำนวน 6 ครั้ง ดังนี้
1.วันที่ 4 ก.ค. 2567 เข้าร่วมการประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และติดตามการดำเนินการกรณีพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านถ้ำหิน ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
2.วันที่ 11 ก.ค. 2567 เข้าร่วมสังเกตการณ์การเข้าเยี่ยมพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านถ้ำหินของคณะเจ้าหน้าที่จาก UNHCR ประจำสาธารณรัฐเกาหลี และคณะผู้นำเยาวชนสันติภาพทางศาสนาจากสาธารณรัฐเกาหลี
บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
3.วันที่ 17 – 19 ก.ค. 2567 เข้าร่วมการประชุมชายแดน (Borderwide) คณะทำงานบริหารจัดการค่าย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการจัดการค่ายและแผนการเตรียมความพร้อมในอนาคตบ้านแม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
4.วันที่ 26 สิงหาคม 2567 ตรวจติดตามการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับภารกิจการดูแลผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา (ผภร.) และผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา (ผภสม.) บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
5.วันที่ 16 - 20 กันยายน 2567 ตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี พ.ศ. 2567 บ้านแม่หละ อ.ท่าสองยาง,บ้านอุ้มเปี้ยม อ.พบพระ, บ้านนุโพ อ.อุ้มผาง จ.ตาก
6. วันที่ 11-12 กันยายน 2567 ติดตามผลการดำเนินการโครงการให้ความช่วยเหลือที่ประเทศญี่ปุ่นให้การสนับสนุนภายใต้การประสานงานขององค์การ The Border Consortium (TBC)



การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามคู่มือการพัฒนาคนทุกช่วงวัย (จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน) ในพื้นที่ (จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกตรองส่วนท้องถิ่น)
สนผ.สป.
ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของจำนวนหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)
ปี พ.ศ. 2567 กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) โดยขยายผลการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านยั่งยืนให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา และให้จังหวัดคัดเลือกหมู่บ้านยั่งยืนต้นแบบ จากหมู่บ้าน/ชุมชน ที่มีผลการขับเคลื่อนโครงการฯ โดดเด่น (Best Practice) จังหวัดละ 1 หมู่บ้าน พร้อมทั้งเพิ่มเกณฑ์ตัวชี้วัดในข้อที่ 8 การมีน้ำสะอาดสำหรับใช้ในการอุปโภคและบริโภค
และขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งรัดดำเนินการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ในทุกหมู่บ้าน/ชุมชนดังนี้
1) ให้ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ขับเคลื่อนโครงการฯ ตามตัวชี้วัด ทั้ง 8 ข้อ โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ 30 มิถุนายน 2567
2) ส่งเสริมให้มีผู้นำทางศาสนาเข้าร่วมขับเคลื่อนโครงการฯ
2) ให้นายอำเภอดำเนินการปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงไก่ไข่บริเวณที่ว่าการอำเภอ หรือสถานที่ที่มีความเหมาะสม เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับประชาชน

ผลการดำเนินงานสะสม (รวมผลการดำเนินงานสะสมทุกไตรมาส)
(1) ข้อที่ 1 ที่อยู่อาศัย :
1.1 ที่อยู่อาศัยต้องมีความมั่นคงแข็งแรง ดำเนินการแล้ว 79,932 หมู่บ้าน/ชุมชน
1.2 ครัวเรือนมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ดำเนินการแล้ว 79,891 หมู่บ้าน/ชุมชน
(2) ข้อที่ 2 ความมั่นคงทางอาหาร : ใช้ประโยชน์ของพื้นที่สร้างความมั่นคงด้านอาหาร ตามโครงการ
2.1 “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และ “ซอยนี้มีรัก ปลูกผักแบ่งปัน” ดำเนินการแล้ว 79,887 หมู่บ้าน/ชุมชน
2.2 “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” ดำเนินการแล้ว 79,766 หมู่บ้าน/ชุมชน
(3) ข้อที่ 3 ความสะอาด : บ้านเรือน หมู่บ้าน ชุมชน สะอาด
3.1 มีการคัดแยกขยะต้นทาง ดำเนินการแล้ว 79,893 หมู่บ้าน/ชุมชน
3.2 มีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ดำเนินการแล้ว 79,863 หมู่บ้าน/ชุมชน
3.3 มีการจัดการขยะหมู่บ้าน/ชุมชน เช่น ธนาคารขยะ จุดทิ้งขยะอันตราย เป็นต้น ดำเนินการแล้ว 79,785 หมู่บ้าน/ชุมชน
3.4 สภาพแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัย ดำเนินการแล้ว 77,122 หมู่บ้าน/ชุมชน
(4) ข้อที่ 4 ความสามัคคี : มีการรวมตัวกันเป็นคุ้มบ้าน หย่อมบ้าน ป๊อกบ้าน ฯลฯ เพื่อดูแลช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน ดำเนินการแล้ว 79,835 หมู่บ้าน/ชุมชน
(5) ข้อที่ 5 ความร่วมมือ : มีจิตอาสา มีการพบปะกันเป็นประจำในระดับคุ้มบ้าน หย่อมบ้าน ป๊อกบ้าน ระดับหมู่บ้าน/ชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อ “ร่วมพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์” ดำเนินการแล้ว 79,827 หมู่บ้าน/ชุมชน
(6) ข้อที่ 6 การปฏิบัติตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ :
6.1 มีการจัดกิจกรรมปฏิบัติตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ดำเนินการแล้ว 79,918 หมู่บ้าน/ชุมชน
6.2 มีการจัดกิจกรรมการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำเนินการแล้ว 79,850 หมู่บ้าน/ชุมชน
(7) ข้อที่ 7 ความมั่นคงปลอดภัย :
7.1 มีการช่วยดูแลคนในครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน ไม่ให้ติดยาเสพติด ดำเนินการแล้ว 79,891 หมู่บ้าน/ชุมชน
7.2 มีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านกายภาพ ดำเนินการแล้ว 79,605 หมู่บ้าน/ชุมชน
7.3 มีการลาดตระเวนหรือตั้งด่านตรวจรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน/ชุมชน ดำเนินการแล้ว 79,288 กิจกรรม
(8) ข้อที่ 8 การมีน้ำสะอาดสำหรับใช้ในการอุปโภคและบริโภค :
8.1 มีภาชนะกักเก็บน้ำรูปแบบต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น โอ่ง ถังเก็บน้ำคอนกรีต ถังไฟเบอร์กลาส เป็นต้น ดำเนินการแล้ว 79,915 หมู่บ้าน/ชุมชน
8.2 มีการบำรุงรักษาฟื้นฟูแหล่งกักเก็บน้ำเดิมหรือจัดทำแหล่งกักเก็บน้ำใหม่ในระดับคุ้มบ้าน หย่อมบ้าน ป๊อกบ้าน และ/หรือหมู่บ้าน/ชุมชน เช่น บ่อน้ำตื้น หนองน้ำ คลอง ฯลฯ ดำเนินการแล้ว 79,828 หมู่บ้าน/ชุมชน

การสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
สนผ.สป.
ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่สำคัญ
ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่สำคัญ ดังนี้ 1. โครงการพัฒนาคลองเปรมประชากร 2. โครงการพัฒนาสระบ่อดินขาว จังหวัดนครสวรรค์ 3. โครงการพัฒนาบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร
4. โครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และ 5. โครงการพัฒนาเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี 6. โครงการพัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยา 7. โครงการพัฒนาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่

การสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
สนผ.สป.
ระดับความสำเร็จในการดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
สรุปผลการดำเนินงาน ความคืบหน้า และข้อสั่งการจากการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและจังหวัดที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการ

โครงการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ตท.สป.
ระดับความสำเร็จของการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
โครงการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ได้รับงบประมาณค่าใช้จ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 5 ค่าใช้จ่าย วงเงิน 22,779,800 บาท
1.ค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างบทบาทด้านความมั่นคงของไทยในประชาคมอาเซียน
วงเงิน 1,588,300 บาท
1.1 โครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนไทยและชุมชนในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานรากเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนลดความยากจนและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
เงิน 500,000 บาท
1.2 ค่าจ้างเหมาบุคลากรช่วยปฏิบัติงาน 3 คน วุฒิปริญญาตรี
1.3 โครงการ Upskill and Reskill นักวิเทศสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและบทบาทด้านการต่างประเทศของกระทรวงมหาดไทย เงิน 14,400 บาท
1.4 โครงการส่งเสริมความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง เงิน 546,500 บาท
2. ค่าใช้จ่ายเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
วงเงิน 5,907,000 บาท
2.1 การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัด-เจ้าแขวงชายแดนไทย-ลาว ครั้งที่ 12
(ลาวเป็นเจ้าภาพ) เงิน 1,265,000 บาท
2.2 การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 9
(ไทยเป็นเจ้าภาพ) เงิน 1,974,800 บาท
2.3 กิจกรรม : คลินิกงานชายแดน พ.ศ. 2568 วงเงิน 1,665,300 บาท
2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เงิน 309,900 บาท
2.5 จัดหาระบบจัดเก็บเอกสารและค้นหาอิเล็กทรอนิกส์ เงิน 500,000 บาท
2.6 กิจกรรม : ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในส่วนภูมิภาคด้านความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เงิน 192,000 บาท
3. ค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) วงเงิน 9,684,500 บาท
3.1 กิจกรรม : ประชุมหารือระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
เงิน 2,718,500 บาท
3.2 กิจกรรม : การประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
เงิน 2,024,000 บาท
3.3 กิจกรรม : การสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย เงิน 4,942,000 บาท
4.ค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการขับเคลื่อนการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนและเสริมสร้างศักยภาพชุมชนอาเซียนเพื่อหลุดพ้นจากความยากจน
กิจกรรม : การประชุมอาเซียนจีน ด้านการพัฒนาสังคมและการลดความยากจน
เงิน 5,000,000 บาท
5.ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพื้นที่พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา เงิน 600,000 บาท
กิจกรรม : การจัดประชุมสัมมนาระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่องค์การนอกภาครัฐและเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศที่ดูแลผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา เงิน 600,000 บาท

ผลการดำเนินงาน
1.โครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนไทยและชุมชนในภูมิภาคอาเซียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานรากเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนลดความยากจนและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน อำเภอท่าลี่
จังหวัดเลย สัญญาวงเงิน 500,000 บาท อยู่ระหว่างระยะที่ 2
2.เบิกจ่ายค่าจ้างเหมาบริการ จำนวน 3 อัตรา ระยะเวลา 9 เดือน

3.คลินิกงานชายแดนเคลื่อนที่ ดำเนินการ 2 ครั้ง
3.1.การเดินทางไปราชการเพื่อตรวจสภาพภูมิประเทศจังหวัดชายแดนด้านมาเลเซีย (จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา) เมื่อวันที่ ๑๐ - ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๗ โดยได้ดำเนินการตรวจสภาพจุดผ่านแดนประเภทต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดดังกล่าวข้างต้น จำนวนทั้งสิ้น ๕ จุด และมีการประชุมบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานส่วนภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี และความร่วมมือในเชิงสร้างสรรค์ การรับฟังประเด็นปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไข ตลอดจนความต้องการของพื้นที่ และการลงพื้นที่เพื่อสำรวจสภาพข้อเท็จจริง
3.2.การจัดประชุมคลินิกงานชายแดนเคลื่อนที่ จังหวัดชายแดนด้านราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 17 - 20 มิถุนายน 2567 ณ จังหวัดชลบุรี
4.ปมท.ได้อนุมัติโครงการค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 และได้ดำเนินกิจกรรมที่ 3 การสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย การจัดสรรเงินให้จังหวัด จำนวน 76 จังหวัดๆละ 20,000 บาท
5.การเตรียมการเข้าร่วมประชุม โดยกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ มีการกำหนดการประชุมเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาทียั่งยืน(HLPF) ระหว่างวันที่ 8-18 กรกฎาคม 2567 ประเทศสหรัฐอเมริกา เป้าหมาย (SDGs) ที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่
6.กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสหประชาชาติประจำประเทศไทยจัดพิธีลงนามประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดของประเทศไทย วันที่ 6 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุม ESCAP Hall ชั้น 2 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กทม. โดยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน จำนวน 76 จังหวัด
7.มอบหมายภารกิจและการเตรียมการรับการตรวจประเมินรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประเภทรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 (PMQA 4.0) การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนของกระทรวงมหาดไทย (SDGs)
8.ปมท.ได้อนุมัติโครงการส่งเสริมความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567
ไตรมาสที่ 4
1. จัดโครงการ “Up - Skill & Re-skill นักวิเทศสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและบทบาทด้านการต่างประเทศของกระทรวงมหาดไทย” มุ่งสร้างนักวิเทศสัมพันธ์รุ่นใหม่ ที่พร้อมเป็นกำลังหลักเชื่อมการทำงานแบบบูรณาการทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างทันโลก ทันสมัย ทันท่วงที วันที่ 22 สิงหาคม 2567
2.การจัดประชุมสัมมนาระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่องค์การนอกภาครัฐและเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศที่ดูแลผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา วันที่ 28-29 สิงหาคม 2567
3. คลินิกชายแดนเคลื่้อนที่ จังหวัดกาญจนบุรี วันที่ 27-29 สิงหาคม 2567

การกำกับ และติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ผ่านระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ในภาพรวมของ มท.
กยป.มท.
ร้อยละของโครงการ/กิจกรรมที่ีขับเคลื่อนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
-

การขับเคลื่อนนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO)
สบจ.สป.
ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายผู้ว่า CEO
- กระทรวงมหาดไทยและสำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการขับเคลื่อนตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ร่วมกับ 5 จังหวัดเป้าหมายตามนโยบายสำคัญ ได้แก่ ๑) จังหวัดเชียงราย (จังหวัดอากาศสะอาด - PM 2.5) ๒) จังหวัดขอนแก่น (จังหวัดดิจิทัล) 3) จังหวัดบุรีรัมย์ (จังหวัดขจัดหนี้นอกระบบ) 4) จังหวัดอุบลราชธานี (จังหวัดเศรษฐกิจชายแดน) และ 5) จังหวัดเพชรบุรี (จังหวัดสีเขียว - การจัดการขยะ)
- กระทรวงมหาดไทยและสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นใน 5 จังหวัดเป้าหมายในช่วงเดือนมีนาคม 2567 ครบทุกพื้นที่่ และ ในการประชุม อ.ก.พ.ร. ภูมิภาคฯ ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง)ข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่า CEO ใน 5 นโยบายสำคัญ (Agenda)/จังหวัดเป้าหมาย ตามที่ มท. และสำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ทั้งนี้ ให้ มท. และสำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการขับเคลื่อนข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่า CEO ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
-ในการประชุม อ.ก.พ.ร. ภูมิภาคฯ ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 ได้มีเห็นชอบแผนการขับเคลื่อนข้อเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่า CEO ในระยะต่อไปของ 5 จังหวัด
และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ (ก.พ.ร.)แจ้ง มท. และจังหวัดทดลองดำเนินภารกิจที่สามารถขับเคลื่อนได้เองภายในพื้นที่ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ มท. หารือหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัด พร้อมทั้งให้สรุปผลการดำเนินการเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานผู้ว่า CEO
- การประชุม อ.ก.พ.ร.ภูมิภาคฯ ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2567 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบผลการดำเนินงานของ 5 จังหวัดเป้าหมาย/ประเด็นนโยบายสำคัญ ดังนี้
1) จังหวัดเชียงราย (จังหวัดสีเขียว: อากาศสะอาศ/PM 2.5) ดำเนินการเกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ ผวจ. ออกแบบแนวทางการดูแลรักษาป่าที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และการให้ ผวจ. ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์มีอำนาจในการสั่งการทุกหน่วยงานในจังหวัด (Single Command)
2) จังหวัดขอนแก่น (จังหวัดดิจิทัล) ดำเนินการพัฒนาระบบ City Data Dashboard สำหรับการบริหารงานเชิงพื้นที่ของ ผวจ. เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) จังหวัดบุรีรัมย์ (จังหวัดขจัดหนี้ (นอกระบบ)) ดำเนินการสนับสนุนให้เจ้าหนี้นอกระบบเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด ภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) และการพัฒนากลไกตลาดนัดแก้หนี้ให้มีระบบการจัดการรายกรณี (Case Management)
4) จังหวัดอุบลราชธานี (จังหวัดเศรษฐกิจชายแดน) ดำเนินการพัฒนาพื้นที่จุดผ่านแดนช่องเม็ก เพื่อรองรับการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว โดยการขอต่ออายุการอนุญาตใช้ที่ป่าสงวนแห่งชาติ และการขอยกเว้น/ปรับลดอัตราค่าเช่าศูนย์สาธิตการตลาด
5) จังหวัดเพชรบุรี (จังหวัดสีเขียว: การจัดการขยะ) ดำเนินการปรับปรุงขั้นตอนในการขนขยะข้ามเขตจังหวัดและการพัฒนากลไกคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยของจังหวัด ในการติดตาม/เปิดเผยข้อมูล เพื่อใช้ในการวางแผน/พัฒนาการบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการขับเคลื่อนการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
สบจ.สป.
ระดับความสำเร็จในการประสานแผนความต้องการระดับอำเภอสู่แผนของส่วนราชการ หน่วยงาน จังหวัดและกลุ่มจังหวัด
- กำหนด (ร่าง) แผนการเสริมสร้างองค์ความรู้ และทักษะในการจัดทำแผนขับเคลื่อนงานพื้นที่ ให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องครอบคลุมทั้ง 18 กลุ่มจังหวัด 76 จังหวัด
- ดำเนินโครงการอบรมเพิ่มประสิทธิภาพผู้นำในการเสริมสร้างบทบาทสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลงนำไปสู่การขับเคลื่อนและสร้างกลไกลการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานในระดับพื้นที่ ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หัวหน้าสำนักงานจังหวัด พัฒนาการจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด
เจ้าพนักงานที่ดิน โนธาธิการและพังเมืองของจังหวัด หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดและนายอำเภอ
- จัดประชุมเชิงปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาพื้นที่ (ระดับหัวหน้าสำนักงานจังหวัดและข้าราชการในส่วนกลางระดับชำนาญการพิเศษ
- โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาพื้นที่ (ระดับปฏิบัติการและชำนาญการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) เมื่อวันที่ 16 – 18 กันยายน 2567 ณ โรงแรมปริ๊นพาเลซ กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วม 170 คน
- จัดทำคู่มือความรู้พื้นฐานสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567) จำนวน 2,050 เล่ม
- จัดทำคู่มือรวมกฎหมายสำหรับการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567) จำนวน 1,440 เล่มชำนาญการพิเศษ) ผู้เข้าร่วม 150 คน

โครงการขับเคลื่อนและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำแผนการบริหารงาน และการบริหารงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
สบจ.สป.
ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำแผนการบริหารงาน และการบริหารงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (76 จังหวัด และ 18 กลุ่มจังหวัด)
กิจกรรมสนับสนุนการบริหารจัดการภาครัฐ
ผลการดำเนินงาน
1. ประสานและสนับสนุนจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในการจัดทำแผนพัฒนา/แผนปฏิบัติราชการประจำปี และแผนงานโครงการที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุนจากกระทรวง/กรม
2. ประสานและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานกลางและคณะกรรมการ หรือคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงบูรณาการการจัดทำแผนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด รวมทั้ง กลั่นกรองแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2568 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดร่วมกับทีมบูรณาการกลาง (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และกระทรวงมหาดไทย) เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการประจำภาคพิจารณา และเสนอคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (ก.น.บ.) ต่อไป โดยผลการพิจารณาแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2568 ของคณะอนุกรรมการประจำภาค (6 ภาค) ซึ่งพิจารณาข้อเสนอโคร1. เข้าร่วมตรวจนิเทศและติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอยา่างยั่งยืนและโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
3. ประสานและสนับสนุนจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในการเข้าร่วมประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ อาคารรัฐสภา
4. ประสานและสนับสนุนการดำเนินการจัดทำข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO) ของ 5 จังหวัด ได้แก่ (1) จังหวังเชียงราย (จังหวัดอากาศสะอาด -PM 2.5) (2) จังหวัดขอนแก่น (จังหวัดดิจิทัล) (3) จังหวัดบุรีรัมย์ (จังหวัดขจัดหนี้-นอกระบบ) (4) จังหวัดอุบลราชธานี และ (5) จังหวัดเพชรบุรี (จังหวัดสะอาด-จัดการขยะ)
5. สนับสนุนจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในการจัดทำข้อเสนอประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัด เพื่อนำเสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ปี 2566 – 2567 (ครั้งที่ 1/2566 ณ จังหวัดหนองบัวลำภู, ครั้งที่ 1/2567 ณ จังหวัดระนอง, ครั้งที่ 2/2567 ณ จังหวัดพะเยา, ครั้งที่ 3/2567 ณ จังหวัดเพชรบุรี) โดย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอโครงการของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 74 โครงการ งบประมาณรวม 1,667,682,720 บาท
6. เข้าร่วมตรวจนิเทศและติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอยา่างยั่งยืนและโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
7. ลงพื้นที่ดำเนินโครงการถอดบทเรียนการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำแผนและการบริหารงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อรวบรวมข้อมูลและถอดบทเรียนการจดทำแผนและการบริหารงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่มีผลการดำเนินงานโดเด่น สำหรับใช้ในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งใสว่นกลาง จังหวัดและกลุ่มจังหวัดโดยลงพื้นที่ถอดบทเรียน จำนวน 4 ภาค (1) ภาคใต้ เมื่อวันที่ 4 - 5 กันยายน 2567 ณ จังหวัดตรัง (2) ภาคเหนือ เมื่อวันที่ 9 - 10 กันยายน 2567 ณ จังหวัดอุทัยธานี (3) ภาคกลาง เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 ณ จังหวัดเพชรบุรี (4) ภาคตะวันออกเฉียงเหือ เมื่อวันที่ 11 - 12 กันยายน 2567 ณ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย





การสนับสนุนการบริหารงานพื้นที่แบบบูรณาการ
สบจ.สป.
ร้อยละของหน่วยงานขับเคลื่อนการดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมาย
- ประมวลผล/ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโครงการ M1 ถึง M5 - ดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการกรอบการประชุมระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด (CMGF) - เห็นชอบแผนเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลของคณะกรรมการการท่องเที่ยว - ประมวลผลตรวจสอบความครบถ้วนข้อมูลโครงการ M6 ในระบบติดตามประมวลผลแห่งชาติ - จัดประชุมหารือด้านเทคนิค (Technical Consultation Meeting) ภายใต้แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นำ้โขง 6 ประเทศ - จัดสรรงบประมาณฝ่ายเลขานุการกรอบการประชุมระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด - จัดสรรงบประมาณฝ่ายเลขานุการกรอบการประชุมระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด - เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 30 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ณ รัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย

การสนับสนุนการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาพื้นที่ผ่านกลไกการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจระดับจังหวัด (กรอ.จังหวัด)
สบจ.สป.
จำนวนครั้งในการติดตามการจัดประชุม กรอ. จังหวัด/กลุ่มจังหวัดให้เป็นไปตามมติ ครม.
- รวมจังหวัดที่รายงานผลการประชุมทั้งสิ้น จำนวน 76จังหวัด ได้แก่
- จังหวัดที่มีการจัดประชุม 12 ครั้ง จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่จังหวัด ชัยภูมิ / อุดรธานี
- จังหวัดที่มีการจัดประชุม 9 ครั้ง จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด ขอนแก่น / นครพนม / ยะลา
- จังหวัดที่มีการจัดประชุม 8 ครั้ง จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด เลย
- จังหวัดทีมีการจัดประชุม 7 ครัง จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด / ฉะเชิงเทรา / ชุมพร/ พังงา / ระนอง / สตูล
- จังหวัดที่มีการจัดประชุม 6 ครั้ง จำนวน 71 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ / กาญจนบุรี / กาฬสินธุ์ / กำแพงเพชร / จันทบุรี / ชัยนาท / เชียงราย / เชียงใหม่ / ตรัง / ตราด / นครนายก / นครปฐม/ นครราชสีมา / นครศรีธรรมราช / นครสวรรค์ / นนทบุรี / นราธิวาส / น่าน / บึงกาฬ / บุรีรัมย์ / ปทุมธานี / ประจวบคีรีขันธ์/ ปราจีนบุรี / ปัตตานี / พระนครศรีอยุธยา / พะเยา / พัทลุง / พิจิตร / พิษณุโลก / เพชรบุรี / เพชรบูรณ์ / แพร่ / ภูเก็ต / มหาสารตาม / มุกดาหาร / แม่ฮ่องสอน / ยโสธร / ร้อยเอ็ด / ระยอง / ราชบุรี / ลพบุรี / ลำปาง / ลำพูน / ศรีสะเกษ / สกลนคร/ สงขลา / สมุทรสงคราม / สมุทรสาคร / สระแก้ว / สระบุรี / สิงห์บุรี / สุพรรณบุรี / สุราษฎร์ธานี / สุรินทร์ / หนองคาย/ หนองบัวลำภู / อ่างทอง / อำนาจเจริญ / อุทัยธานี / อุบลราชธานี
- จังหวัดที่มีการจัดประชุม 5 ครัง จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี / ตาก
- จังหวัดที่มีการจัดประชุม 4 ครั้ง จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย / อุตรดิตถ์
- จังหวัดที่มีการจัดประชุม 2 ครั้ง จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ สุมทรปราการ

การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนของประชาชนในระดับพื้นที่/นโยบายสำคัญของรัฐบาล
สบจ.สป.
จำนวนโครงการที่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนของประชาชน/และการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล/กระทรวงมหาดไทยและวาระแห่งชาติ
- จังหวัดได้ดำเนินโครงการและรายงานผลการดำเนินงานให้ สบจ. จำนวน 425 โครงการ
หมายเหตุ : ผลการดำเนินงาน เป็นข้อมูล ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2567 ทั้งนี้ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2567 อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล เนื่องจากจังหวัดจะรายงานผลการดำเนินงานให้ สบจ.สป.มท. ภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2567

การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนของประชาชนในระดับพื้นที่/นโยบายสำคัญของรัฐบาล
สบจ.สป.
ร้อยละของโครงการที่จังหวัดได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาคงามเดือดร้อนเร่งด่วนของประชาชนในพื้นที่/การดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล/กระทรวงมหาดไทยและวาระแห่งชาติแล้วเสร็จ โดยเปรียบเทียบกับโครงการที่ได้รับอนุมัติในงบประมาณ
-โครวงการที่จังหวัดได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนของประชาชนในพื้นที่/การดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลกระทรวงมหาดไทยและวาระแห่งชาติโดยเปรียบเทียบกับโครกงารที่ได้รับอนุมัติในปีงบประมาณ คิดเป็นร้อยละ 100
หมายเหต : ผลการดำเนินงานร้อยละ 100 เป็นข้อมูฃล ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2567 ทั้งนี้ข้อมูล ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล เนื่องจากจังหวัดจะรายงานผลการดำเนินงานให้ สบจ.สป. ภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2567

การพัฒนาระบบติดตามผลการดำเนินงาน
สนผ.สป.
ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบติดตามผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานรวมปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
1. กำหนด Prototype (แบบจำลอง) หน้ารายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
2. จัดการประชุมหารือร่วมกับผู้พัฒนาระบบเพื่อนำข้อมูลแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการฯ เข้าระบบรายงาน
3. ได้จัดทำคู่มือการใช้งานระบบ เพื่อชี้แจงแนวทางให้หน่วยงานในสังกัด สป.มท. รายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ และเร่งรัดการติดตามรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ
4. หน่วยงานในสังกัด สป.มท.สามารถรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบแทนการรายงานทางเอกสารได้

โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย
สนผ.สป.
ร้อยละความสำเร็จ ในการดำเนินงานก่อสร้างกระทรวงมหาดไทย
-ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
1. ผลการดำเนินงานก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ระยะที่ 1
คิดเป็นร้อยละ 30.44 ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการงานเทคอนกรีตเสา งานเทคอนกรีตผนัง งานเทคอนกรีต ผนังลิฟต์ งานเทคอนกรีตพื้น งานรื้อถอนค้ำยันเหล็กในระบบป้องกันดินพัง เป็นไปตามแผนงานตามสัญญา
2. ผลการดำเนินงานก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ระยะที่ 2
อยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขตของงานและราคากลาง คาดว่าจะประกาศได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2567

2. สรุปผลการเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
2.1 งบประมาณ พ.ศ. 2566 (เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) วงเงิน 188,582,986.66 บาท ผลการเบิกจ่ายจำนวน 184,085,926.66 บาท
2.2 งบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงิน 986,924,500 บาท ผลการเบิกจ่ายจำนวน 168,652,154.37 บาท

3. สรุปผลการเบิกจ่ายงบลงทุน
3.1 งานก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ระยะที่ 1 วงเงินสัญญา จำนวน 5,574.5000 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายสะสม จำนวน 2,272,361,307.50 บาท (คิดเป็นร้อยละ 40.76 ของวงเงินสัญญา) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีผลการเบิกจ่าย ดังนี้ 1) งบประมาณ พ.ศ. 2566 (เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) จำนวน 173,440,186.66 บาท และ2) งบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 168,506,542.50 บาท
3.2 งานจ้างควบคุมงานศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ระยะที่ 1 วงเงินสัญญา จำนวน 142.0000 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายสะสม จำนวน 42,348,660 บาท (คิดเป็นร้อยละ 29.82 ของวงเงินสัญญา) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีผลการเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 10,645,740 บาท

โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย
สนผ.สป.
ระดับความสำเร็จ ในการดำเนินงานก่อสร้างกระทรวงมหาดไทย
-ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
1. ผลการดำเนินงานก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ระยะที่ 1
คิดเป็นร้อยละ 30.44 ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการงานเทคอนกรีตเสา งานเทคอนกรีตผนัง งานเทคอนกรีต ผนังลิฟต์ งานเทคอนกรีตพื้น งานรื้อถอนค้ำยันเหล็กในระบบป้องกันดินพัง เป็นไปตามแผนงานตามสัญญา
2. ผลการดำเนินงานก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ระยะที่ 2
อยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขตของงานและราคากลาง คาดว่าจะประกาศได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2567

2. สรุปผลการเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
2.1 งบประมาณ พ.ศ. 2566 (เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) วงเงิน 188,582,986.66 บาท ผลการเบิกจ่ายจำนวน 184,085,926.66 บาท
2.2 งบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงิน 986,924,500 บาท ผลการเบิกจ่ายจำนวน 168,652,154.37 บาท

3. สรุปผลการเบิกจ่ายงบลงทุน
3.1 งานก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ระยะที่ 1 วงเงินสัญญา จำนวน 5,574.5000 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายสะสม จำนวน 2,272,361,307.50 บาท (คิดเป็นร้อยละ 40.76 ของวงเงินสัญญา) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีผลการเบิกจ่าย ดังนี้ 1) งบประมาณ พ.ศ. 2566 (เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) จำนวน 173,440,186.66 บาท และ2) งบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 168,506,542.50 บาท
3.2 งานจ้างควบคุมงานศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ระยะที่ 1 วงเงินสัญญา จำนวน 142.0000 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายสะสม จำนวน 42,348,660 บาท (คิดเป็นร้อยละ 29.82 ของวงเงินสัญญา) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีผลการเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 10,645,740 บาท

การเสริมสร้างการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์
สนผ.สป.
จำนวนนโยบายยุทธศาสตร์ ข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย
1. ดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ของ สป.มท. (แบบ สงป.301 302 และ 302/1) เรียบร้อยแล้ว 2. ดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ของ มท. (แบบ ผมท.01 และ 02) เรียบร้อยแล้ว 3. ดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ของ สป.มท. (Action Plan) เรียบร้อยแล้ว 4. ดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ สป.มท. (แบบ สงป.301 302 และ 302/1) เรียบร้อยแล้ว 5. ดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ มท. (แบบ ผมท.01 และ 02) เรียบร้อยแล้ว 6. ดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ สป.มท. (Action Plan) เรียบร้อยแล้ว 7. รายงานผลการควบคุมงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ของ สป.มท. ไตรมาสที่ 1-2 8. จัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ.2567) ของ มท. เรียบร้อยแล้ว 9. จัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ.2567) ของ สป.มท. เรียบร้อยแล้ว 10. การจัดประชุมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย 3 ครั้ง 11. การจัดประชุมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของปลัดกระทรวงมหาดไทย 3 คร้้ง 12. การสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) 13. การสนับสนุนภารกิจงานรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา 14. ประสานการจัดทำนโยบาย การแปลงนโยบายและจัดทำยุทธศาสตร์แนวทางหรือแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 15. การดำเนินงานด้านสารัตถะสำหรับการประชุมภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ((Rural Development and Poverty Eradication : RDPE) 16. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานของกรมภายใต้กลุ่มภารกิจด้านการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (กรมการพัฒนาชุมชน และ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) 17. ดำเนินการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงมหาดไทย เรียบร้อยแล้ว 18. การประสานงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 19. การประสานงานด้านการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 20. การประสานงานด้านการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 21. การประสานงานด้านงานนโยบายที่เกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 22. การดำเนินการสนับสนุนภารกิจด้านการจัดซื้อจัดจ้างของ สนผ.สป

การเสริมสร้างการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์
สนผ.สป.
ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์ข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย
1. ดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ของ สป.มท. (แบบ สงป.301 302 และ 302/1) เรียบร้อยแล้ว 2. ดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ของ มท. (แบบ ผมท.01 และ 02) เรียบร้อยแล้ว 3. ดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ของ สป.มท. (Action Plan) เรียบร้อยแล้ว 4. รายงานผลการควบคุมงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ของ สป.มท. ไตรมาสที่ 1 5. จัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ.2567) ของ มท. เรียบร้อยแล้ว 6. จัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ.2567) ของ สป.มท. เรียบร้อยแล้ว 7. การจัดประชุมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย 3 ครั้ง 8. การจัดประชุมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของปลัดกระทรวงมหาดไทย 3 คร้้ง 9. การสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) 10. การสนับสนุนภารกิจงานรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา 11. ประสานการจัดทำนโยบาย การแปลงนโยบายและจัดทำยุทธศาสตร์แนวทางหรือแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 12. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานของกรมภายใต้กลุ่มภารกิจด้านการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (กรมการพัฒนาชุมชน และ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) 13. อยู่ระหว่างการจัดทำร่างเนื้อหารายงานผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงมหาดไทย 14. การประสานงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 15. การประสานงานด้านการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 16. การประสานงานด้านการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 17. การประสานงานด้านงานนโยบายที่เกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 18. การดำเนินการสนับสนุนภารกิจด้านการจัดซื้อจัดจ้างของ สนผ.สป.

การเสริมสร้างเครือข่ายสื่อสารเพื่อความมั่นคง
สน.สป.
ร้อยละของประชาชนที่รับทราบข้อมูลการสื่อสารอย่างถูกต้อง
ผลดำเนินงาน
มีการดำเนินโครงการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยเบิกจ่ายเเล้ว 2,078,765.12 บาท
- โครงการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เบิกจ่ายเเล้ว 204,095.12 บาท
- โครงการป้ายประชาสัมพันธ์เฉลิมพระเกียรติ เบิกจ่ายเเล้ว 177,000 บาท
- โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ เบิกจ่ายเเล้ว 214,000 บาท
- โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองฯ เบิกจ่ายแล้ว 450,000 บาท
- โครงการส่งเสริมอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาผ้าไทยฯ เบิกจ่ายแล้ว 214,000 บาท
- รายการเดินทางไปราชการ เบิกจ่ายแล้ว 13,770 บาท
- โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ฯ บิกจ่ายแล้ว 479,900 บาท

การเสริมสร้างเครือข่ายสื่อสารเพื่อความมั่นคง
สน.สป.
จำนวนสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีการผลิต
ผลดำเนินงาน
มีการดำเนินโครงการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยเบิกจ่ายเเล้ว 2,078,765.12 บาท
- โครงการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เบิกจ่ายเเล้ว 204,095.12 บาท
- โครงการป้ายประชาสัมพันธ์เฉลิมพระเกียรติ เบิกจ่ายเเล้ว 177,000 บาท
- โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ เบิกจ่ายเเล้ว 214,000 บาท
- โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองฯ เบิกจ่ายแล้ว 450,000 บาท
- โครงการส่งเสริมอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาผ้าไทยฯ เบิกจ่ายแล้ว 214,000 บาท
- รายการเดินทางไปราชการ เบิกจ่ายแล้ว 13,770 บาท
- โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ฯ บิกจ่ายแล้ว 479,900 บาท

การสนับสนุนการบริหารจัดการภาครัฐ (ภารกิจสถาบันดำรงราชานุภาพ)
สดร.สป.
จำนวนบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม
ไตรมาสที่ 1 ดำเนินโครงการอบรมจำนวน 3 โครงการ มีจำนวนบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม รวม 110 คน
ไตรมาสที่ 2 ดำเนินโครงการอบรมจำนวน 2 โครงการ มีจำนวนบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม รวม 93 คน
ไตรมาสที่ 3 ดำเนินโครงการอบรมจำนวน 2 โครงการ มีจำนวนบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม รวม 88 คน
และไตรมาสที่ 4 ดำเนินโครงการอบรมจำนวน 1 โครงการ มีจำนวนบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม รวม 54 คน
รวมผลการดำเนินงานรวมไตรมาส 1 - 4 มีจำนวนบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม รวม 345 คน

การสนับสนุนการบริหารจัดการภาครัฐ (ภารกิจสถาบันดำรงราชานุภาพ)
สดร.สป.
ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ไตรมาสที่ 1 คิดเป็นร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 89.42 และไตรมาสที่ 2 คิดเป็นร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 92.56 ไตรมาสที่ 3 คิดเป็นร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 89.83 ไตรมาสที่ 4 คิดเป็นร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 88.22 ผลการดำเนินงานรวมจนถึงปัจจุบัน (ไตรมาสที่ 1 - 4) คิดเป็นร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 90

การสนับสนุนการบริหารจัดการภาครัฐ(ภารกิจศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
ศสส.สป.
ร้อยละการใช้จ่าย งบลงทุน
สนับสนุนการบริหารจัดการภาครัฐ (งบลงทุน ครุภัณฑ์ (ปีเดียว/ผูกพันใหม่ และผูกพันเดิม)) ประกอบด้วย
1. ค่าครุภัณฑ์สำนักงาน (ปีดียว) (เครื่องปรับอากาศ) วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 15,703,200 บาท เบิกจ่ายไตรมาส 4 จำนวนเงิน 5,832,810 บาท รวมเบิกจ่ายแล้ว 6,596,510 บาท อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน ดังนี้
- ศสส.สป. จำนวน 1 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 32,200 บาท เบิกจ่ายแล้วในไตรมาส 4 จำนวนเงิน 32,200 บาท
- สำนัก/ศูนย์/กอง/ศสข./จังหวัด วงเงินงบประมาณ 15,671,000 บาท อยู่ระหว่างบริหารสัญญา เบิกจ่ายไตรมาส 4 จำนวนเงิน 5,800,610 บาท รวมเบิกจ่ายแล้ว 6,564,310 บาท
2. ค่าครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ (ปีเดียว) วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 28,891,000 บาท เบิกจ่ายไตรมาส 4 จำนวนเงิน 1,074,530 บาท รวมเบิกจ่ายแล้ว 1,254,030 บาท อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน ดังนี้
- ศสส.สป. จำนวน 7 รายการ วงเงินงบประมาณ 27,695,100 บาท เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ได้แก่ บริษัท นิปด้า เทค จำกัด เสนอราคา 19,648,554.45 บาท มีผู้อุทธรณ์ จำนวน 1 ราย
- สำนัก/ศูนย์/กอง/จังหวัด วงเงินงบประมาณ 1,195,900 บาท อยู่ระหว่างบริหารสัญญา เบิกจ่ายไตรมาส 4 จำนวนเงิน 1,074,530 บาท รวมเบิกจ่ายแล้ว 1,254,030 บาท
3. ครุภัณฑ์อื่น ๆ (ปีเดียว/ผูกพันใหม่ และผูกพันเดิม) (10 รายการ) วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 463,869,700 บาท ประกอบด้วย
3.1 โครงการปีเดียว จำนวน 6 รายการ ลงนามสัญญาแล้วจำนวน 3 รายการ (รายการที่ 2, 4 และ 6) รอลงนามในสัญญา จำนวน 1 รายการ (รายการที่ 5) และอยู่ระหว่างรอเวลาอุทธรณ์ผลการประกาศผู้ชนะการเสนอราคาฯ จำนวน 2 รายการ (รายการที่ 1 และ 3) ประกอบด้วย
(1) โครงการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มกลางข้อมูลกระทรวงมหาดไทย (Moi Single Data Platform) ระยะที่ 2 วงเงินงบประมาณ 80,000,000 บาท เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ได้แก่ บริษัท เด็พธเฟิร์สท จำกัด เสนอราคาเป็นเงินทั้งสิ้น 78,500,000 บาท อยู่ระหว่างรอการยื่นอุทธรณ์ผลการประกาศผู้ชนะการเสนอราคาฯ (ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน - 8 ตุลาคม 2567)
(2) โครงการศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะที่ 1 วงเงินงบประมาณ 80,000,000 บาท ลงนามสัญญาแล้วกับบริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่นไฮเวย์ จำกัด วงเงินตามสัญญา 79,900,000 บาท (สัญญาเลขที่ 38/2567 ลงวันที่ 27 กันยายน 2567 จำนวน 3 งวดงาน 120 วัน ครบกำหนด 25 มกราคม 2568) ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญาฯ
(3) โครงการจัดหาระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต 1 - 12 ระยะที่ 2 วงเงินงบประมาณ 6,200,000 บาท เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ได้แก่ บริษัท มัลติเฟส คอร์เปอเรชั่น จำกัด เสนอราคาเป็นเงินทั้งสิ้น 3,689,000 บาท อยู่ระหว่างรอการยื่นอุทธรณ์ผลการประกาศผู้ชนะการเสนอราคา (ตั้งแต่วันที่ 1 - 9 ตุลาคม 2567)
(4) โครงการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยสายดิน (Ground System) ของระบบเครื่องมือสื่อสาร จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดภูเก็ต วงเงินงบประมาณ 1,400,000 บาท ลงนามสัญญาแล้วกับบริษัท สตาบิล จำกัด วงเงินตามสัญญา 1,358,000 บาท สัญญาเลขที่ ศสส.จ 242/2567 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 จำนวน 1 งวดงาน (120 วัน ครบกำหนด 29 พฤศจิกายน 2567) ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญาฯ
(5) โครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบปรับอากาศและระบบจ่ายไฟฟ้าห้องเครื่องมือสื่อสาร วงเงินงบประมาณ 12,900,000 บาท เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ได้แก่ บริษัท ไซท์ เพรทพาเรชั่น แมเนจเมนท์ จำกัด เสนอราคาเป็นเงินทั้งสิ้น 12,870,000 บาท ไม่มีผู้อุทธรณ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอลงนามในสัญญา
(6) โครงการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 วงเงินงบประมาณ 10,000,000 บาท ลงนามสัญญาแล้วกับบริษัท เอเทนติค คอนซัลติ้ง จำกัด วงเงินตามสัญญา 9,940,000 บาท สัญญาเลขที่ 40/2567 ลงวันที่ 30 กันยายน 2567 จำนวน 3 งวดงาน (120 วัน ครบกำหนด 28 มกราคม 2568) ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญาฯ
3.2 โครงการผูกพันใหม่ จำนวน 1 รายการ โครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบไฟฟ้าศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป. วงเงินงบประมาณ
ปี 2567 จำนวนเงิน 7,885,100 บาท (วงเงินงบประมาณโครงการ 52,566,900 บาท) อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง (เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 ปมท. เห็นชอบให้ดำเนินการจัดจ้างฯ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ครั้งที่ 2 และเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 สป.มท. มีหนังสือเชิญการไฟฟ้านครหลวงยื่นข้อเสนอราคาและข้อเสนอทางเทคนิคฯ ในวันที่ 8 ตุลาคม 2567)
3.3 โครงการผูกพันเดิม จำนวน 3 รายการ เบิกจ่ายเรียบร้อยทุกงวดงานแล้ว จำนวน 1 รายการ (ค่าสร้างการรับรู้สู่ประชาชนด้วยป้ายประชาสัมพันธ์อัจฉริยะ) และ
อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญา จำนวน 2 รายการ ดังนี้
- ค่าปรับปรุงระบบเครือข่ายกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงนามสัญญาแล้วกับกิจการค้าร่วม ฟอร์ทแม็กซ์ สัญญาเลขที่ 24/2567
ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 จำนวน 9 งวดงาน (600 วัน ครบกำหนด 23 ธันวาคม 2568) ขณะนี้ได้เบิกจ่ายเงินล่วงหน้า 15% จำนวนเงิน 139,500,000 บาท (เบิกจ่ายจากงบประมาณ พ.ศ. 2566) และเบิกจ่ายเงินงวดงานที่ 1 จำนวน 79,050,000 บาท (หักเงินล่วงหน้าแล้ว)
ในไตรมาส 4 โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนเงิน 53,502,800 บาท และเบิกจ่ายจากงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 25,547,200 บาท
- โครงการระบบบริการสารสนเทศของ มท. ด้วยโครงข่ายเสมือน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เบิกจ่ายงวดงานที่ 5 ให้ผู้รับจ้าง (SI Consortium) เป็นเงิน 78,217,000 บาท (หักเงินล่วงหน้าแล้ว)
- ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 (ยอดร้อยละ) การเบิกจ่ายคิดจากยอดเงินงบประมาณ 508,463,900 บาท (วงเงิน ตาม พ.ร.บ. ปีงบประมาณ 2567)
- ข้อมูลผลการเบิกจ่ายไตรมาสที่ 4 มาจากรายงานการเบิกจ่ายในระบบ GFMIS "





การสนับสนุนการบริหารจัดการภาครัฐ (ภารกิจกองคลัง)
กค.สป.
ร้อยละการใช้จ่าย งบลงทุน
รายจ่ายงบลงทุน ได้รับเงินจัดสรรงบประมาณ จำนวน 1,109,305,400 บาท มีการโอนเปลี่ยนแปลงเป็นงบดำเนินงานและงบลงทุนให้สำนัก/กองอื่น จำนวน 97,002,142.07 บาท คงเหลือวงเงินในการบริหาร จำนวน 1,012,303,257.93 บาท ในไตรมาสที่ 4/2567 มีผลการเบิกจ่ายสะสม จำนวน 212,008,738.28 บาท คิดเป็นร้อยละ 19.15 ของงบประมาณ (1,109,305,400) ของงบประมาณ และคิดเป็นร้อยละ 20.98 ของงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง (1,012,303,257.93) มีผลการใช้จ่าย จำนวน 1,003,845,738.28 บาท (เอกสารสำรองเงิน จำนวน 97,898,032 + PO 693,938,295.42 + เบิกจ่าย 212,008,738.28 บาท) คิดเป็นร้อยละ 90.49 ของงบประมาณ (1,109,305,400) ของงบประมาณ และคิดเป็นร้อยละ 99.16 ของงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง (1,012,303,257.93) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- รายการปีเดียว จำนวน 391 รายการ ซึ่งก่อหนี้ผูกพันครบทุกรายการแล้ว
- รายการผูกพัน
-รายการผูกพันเดิม จำนวน 9 รายการ อยู่ระหว่างดำเนินการบริหารสัญญา
-รายการผูกพันใหม่ จำนวน 3 รายการ ประกอบด้วย
1. ค่าก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดลพบุรี (หลังใหม่) – อยู่ระหว่างประกาศเชิญชวน เพื่อหาตัวผู้รับจ้าง
2. โครงการจัดวางผังแม่บทการใช้ประโยชน์พื้นที่ศูนย์ราชการจังหวัดลำพูน จังหวัดลำพูน – อยู่ระหว่างดำเนินการบริหารตามสัญญา
3. ค่าก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยข้าราชการสำนักงานจังหวัดนครปฐม จังหวัดนครปฐม - อยู่ระหว่างรอผู้รับจ้างลงนามในสัญญา

การสนับสนุนบริหารจัดการภาครัฐ (ภารกิจกองสารนิเทศ)
สน.สป.
มีห้องปฏิบัติการโสตทัศนอุปกณ์ที่มีระบบคลังข้อมูล และระบบวิเคราะห์กระแสสังคมที่สามารถสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. โครงการพัฒนาระบบวิเคราะห์แนวโน้ม และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคม ผ่านระบบการวิเคราะห์กระแสสังคม (Social Listening Tools) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบประมาณ 2 ล้านบาท ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และกันเงินเหลื่อมปีเพื่อดำเนินการในปี พ.ศ. 2568 แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างคณะกรรมการพิิจารณาผลการประกวดราคา

2. โครงการปรับปรุงห้องอัดเสียงและสตูดิโอ และจัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ กระทรวงมหาดไทย แบ่งเป็น 3 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 ปรับปรุงห้องอัดเสียงและสตูดิโอ ณ ห้องปฏิบัติการโสตทัศนูปกรณ์/สตูดิโอ กองสารนิเทศ สป. งานลักษณะทางกายภาพ ปรับปรุงพื้นห้อง ฝ้า และระบบไฟ ภายในวงเงิน 400,000 บาท ก่อหนี้ผูกพันแล้ว กันเงินเหลื่อมปีเพื่อดำเนินการในปี พ.ศ. 2568
กิจกรรมที่ 2 จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย กล้องถ่ายวิดีโอและอุปกรณ์เสริม จำนวน 1 ชุด และกล้องถ่ายภาพนิ่งและอุปกรณ์เสริม จำนวน 1 ชุด ภายในวงเงิน 500,000 บาท ก่อหนี้ผูกพันแล้ว กันเงินเหลื่อมปีเพื่อดำเนินการในปี พ.ศ. 2568
กิจกรรมที่ 3 จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับตัดต่อ ระบบอัดเสียง ระบบเผยแพร่วิทยุออนไลน์ และระบบศูนย์กลางข้อมูลสื่อประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ server พร้อมเครือข่าย network สำหรับเป็นศูนย์กลางข้อมูลสื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ชุด คอมพิวเตอร์ประมวลผลขั้นสูง งานบันทึกและตัดต่อเสียง พร้อมอุปกรณ์บันทึกเสียงและปรับแต่งเสียง จำนวน 1 ชุด คอมพิวเตอร์สำหรับจัดทำรายการวิทยุออนไลน์ จำนวน 1 เครื่อง และ laptop ประมวลผลขั้นสูง สำหรับงานตัดต่อวีดีโอ จำนวน 1 เครื่อง ภายในวงเงิน 1,100,000 บาท ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และกันเงินเหลื่อมปีเพื่อดำเนินการในปี พ.ศ. 2568 แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างคณะกรรมการพิิจารณาผลการประกวดราคา

โครงการจัดหาระบบวิทยุสื่อสารข่ายบังคับบัญชา
ศสส.สป.
จำนวนการเผยแพร่ ข้อสั่งการ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ของผู้รับบริการ
- สป.มท.ได้เบิกจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างงวดงานที่ 8 (งวดสุดท้าย) (งบลงทุน) ในส่วนที่สามารถติดตั้งได้ จำนวน 11,150 เครื่อง เป็นเงิน 13,808,571.26 บาท (หักค่าปรับลดงานที่ติดตั้งไม่ได้และหักเงินล่วงแล้ว) คงเหลือยังไม่เบิกจ่าย จำนวน 8,041 เครื่อง เป็นเงิน 41,069,368.74 บาท (หักเงินล่วงหน้าแล้ว) โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณ พ.ศ. 2567
- ผู้รับจ้าง ได้แจ้งส่งมอบงานการให้บริการสัญญาณโครงข่าย/วงจรสื่อสัญญาณฯ งวดที่ 6 ถึงงวดที่ 11 (งบดำเนินงาน) และ สป.มท. ได้เบิกจ่ายเรียบร้อยแล้ว
รวม 6 งวด เป็นเงิน 287,433,588.66 บาท (หักปรับลดค่าจ้างที่ไม่สามารถให้บริการได้) โดยขอเบิกจ่ายจากงบประมาณ พ.ศ. 2566 (เงินกันเหลื่อมปี)
- ข้อมูลผลการเบิกจ่ายไตรมาสที่ 4 มาจากการรายงานการเบิกจ่ายในระบบ GFMIS

* - ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 ข้อมูลจากการรายงานในแบบรายงาน BB EvMIS ปี 2567 (10,481,280 ครั้ง)

โครงการจัดหาระบบวิทยุสื่อสารข่ายบังคับบัญชา
ศสส.สป.
ร้อยละของการรับรู้ ข้อสั่งการและข้อมูลข่าวสาร ของผู้บังคับบัญชาผ่านระบบวิทยุสื่อสารข่ายบังคับบัญชา กระทรวงมหาดไทย
- สป.มท.ได้เบิกจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างงวดงานที่ 8 (งวดสุดท้าย) (งบลงทุน) ในส่วนที่สามารถติดตั้งได้ จำนวน 11,150 เครื่อง เป็นเงิน 13,808,571.26 บาท (หักค่าปรับลดงานที่ติดตั้งไม่ได้และหักเงินล่วงแล้ว) คงเหลือยังไม่เบิกจ่าย จำนวน 8,041 เครื่อง เป็นเงิน 41,069,368.74 บาท (หักเงินล่วงหน้าแล้ว) โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณ พ.ศ. 2567
- ผู้รับจ้าง ได้แจ้งส่งมอบงานการให้บริการสัญญาณโครงข่าย/วงจรสื่อสัญญาณฯ งวดที่ 6 ถึงงวดที่ 11 (งบดำเนินงาน) และ สป.มท. ได้เบิกจ่ายเรียบร้อยแล้ว รวม 6 งวด เป็นเงิน 287,433,588.66 บาท (หักปรับลดค่าจ้างที่ไม่สามารถให้บริการได้) โดยขอเบิกจ่ายจากงบประมาณ พ.ศ. 2566 (เงินกันเหลื่อมปี)

- ข้อมูลผลการเบิกจ่ายไตรมาสที่ 4 มาจากการรายงานการเบิกจ่ายในระบบ GFMIS
* - ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 ข้อมูลจากการรายงานในแบบรายงาน BB EvMIS ปี 2567 (ร้อยละ 89 สะสมร้อยละ 86.58)




การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบงานและจัดการความรู้ (ภารกิจกองการเจ้าหน้าที่)
กจ.สป.
ร้อยละความสำเร็จของการบริหารและพัฒนาทรัพยากร
1.โครงการ/กิจกรรม การปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงมหาดไทย

ผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4 (1 กรกฎาคม 2567 – 30 กันยายน 2567)
สป. ได้เสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งต่อ อ.ก.พ.มท. ในการประชุม ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566 จำนวน 16 เรื่อง โดยที่ประชุม อ.ก.พ.มท. มีมติอนุมัติ ดังนี้
1.1. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกระทรวงมหาดไทย/สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่
1.1.1 การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ เป็นระดับชำนาญการพิเศษ (ระดับที่ต่ำลง 1 ระดับ เป็นการชั่วคราว) ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและกรมการพัฒนาชุมชน
1.1.2 การเกลี่ยอัตรากำลังและเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงาน เป็นตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี ระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการ ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
1.2. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมการปกครอง จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
1.2.1 การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นักวิชาการคอมพิวเตอร์เชี่ยวชาญ) กองการสื่อสาร ของกรมการปกครอง
1.2.2 การเกลี่ยอัตรากำลังและเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงานเป็นตำแหน่งประเภทวิชาการ ของกรมการปกครอง
1.2.3 การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานภายในและปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง ของกรมการปกครอง
(1) สำนักกิจการความมั่นคงภายใน
(2) สำนักงานเลขานุการกรม
(3) ที่ทำการปกครองอำเภอ
1.3. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่
1.3.1 แผนการกำหนดตำแหน่งเพื่อปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเป็นระดับที่สูงขึ้นของกรมการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2569
1.3.2 การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ จากระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการ เป็นระดับชำนาญการพิเศษ (ผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์) ของกรมการพัฒนาชุมชน
1.4. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมที่ดิน จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
1.4.1 การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเป็นระดับที่สูงขึ้น ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ของกรมที่ดิน
1.4.2 การจัดโครงสร้างการแบ่งงานภายในและอัตรากำลังในสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาตั้งใหม่ ของกรมที่ดิน
1.4.3 การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานภายในและกรอบอัตรากำลังของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมที่ดิน
1.5. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
1.5.1 การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จากตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.5.2 การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานภายในและเกลี่ยอัตรากำลัง ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(1) กองมาตรการป้องกันสาธารณภัย
(2) สำนักงานเลขานุการกรม
1.5.3 การทบทวนการกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบภายใน กลุ่มตรวจสอบภายในของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.6. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมโยธาธิการและผังเมือง จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
1.6.1 การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง จากตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง
(1) ตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิเคราะห์วิจัยและทดสอบวัสดุ
(2) ตำแหน่งผู้อำนวยการกองออกแบบก่อสร้างพลับพลาพิธีและโครงการพิเศษ
(3) ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
(4) ตำแหน่งโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
1.6.2 การปรับปรุงแผนการกำหนดตำแหน่งเพื่อปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเป็นระดับที่สูงขึ้น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2568 ของกรมโยธาธิการและผังเมือง
1.6.3 การเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงานของสำนักสนับสนุนและพัฒนาตามผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง

เชิงปริมาณ : กองการเจ้าหน้าที่ สป. ได้เสนอคำขอการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งต่อ อ.ก.พ.มท. เพื่อพิจารณาอนุมัติการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งในคราวการประชุม
อ.ก.พ.มท. ครั้งที่ 4/2566 จำนวน 16 เรื่อง

เชิงคุณภาพ : การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและโครงสร้างอัตรากำลังของ มท. มีความเหมาะสม เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับภาระงานและสภาพแวดล้อมทางการบริหารที่เปลี่ยนแปลงไป

ดังนั้น จึงมีค่าคะแนนระดับความสำเร็จ อยู่ในระดับ 5

2. โครงการ : การดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนทางวินัยข้าราชการ สป.

แผนการดำเนินงาน
1. การรับเรื่องการดำเนินการทางวินัยข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยจากจังหวัดและกรม
2. นิติกรตรวจสอบข้อเท็จจริง เอกสารหลักฐาน และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เสนอความเห็น เป็นหนังสือผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเพื่อเสนอ ผู้อำนวยการกองการหน้าที่ สป. พิจารณาสั่งการ
3. การเสนอที่ประชุมคณะทำงานกลั่นกรองรายงานการดำเนินการทางวินัย เพื่อโปรดพิจารณา
4. การเสนอที่ประชุม อ.ก.พ.มท. เพื่อโปรดพิจารณา
5. การดำเนินการมติ อ.ก.พ.มท. โดยแจ้งให้จังหวัด และกรม ดำเนินการตามมติ อ.ก.พ.มท.

ผลการดำเนินงาน
1. กลุ่มงานวินัยได้รับเรื่องรายงานการดำเนินการทางวินัยข้าราชการในสังกัด มท. และดำเนินการตรวจสอบสำนวนรายงานการดำเนินการทางวินัยโดยเสนอความเห็นเพื่อนำเสนอที่ประชุม อ.ก.พ.มท. พิจารณาความถูกต้องและเหมาะสม จำนวน 38 เรื่อง
2. ได้ดำเนินการจัดประชุม อ.ก.พ.มท. เพื่อพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัยข้าราชการในสังกัด มท. จำนวน 33 เรื่อง โดยที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติพร้อมทั้งแจ้งมติให้จังหวัดและกรมเจ้าสังกัด ทราบเรียบร้อยแล้ว

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : ร้อยละของการดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนทางวินัยข้าราชการ สป. ร้อยละ 87.38
หมายเหตุ : ข้อร้องเรียนทางวินัย หมายถึง เรื่องร้องเรียนทางวินัยและรายงานการดำเนินการทางวินัยที่ลงทะเบียนรับที่กลุ่มงานวินัย กจ.สป. ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม 2567
ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567

3.โครงการ : การปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลบุคลากรให้เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคลของ สป.มท.

ผลการดำเนินงาน : การบันทึกข้อมูลทรัพยากรบุคคลของ สป. (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ) ในระบบทะเบียนประวัติข้าราชการ SEIS (ก.พ.7อิเล็กทรอนิกส์) และระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม (DPIS) (อาทิ การปรับปรุงข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับวุฒิการศึกษา การฝึกอบรม เงินเดือน สถานะการสมรส การเปลี่ยนชื่อ-สกุล การบันทึกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการบรรจุใหม่ คำสั่งย้าย คำสั่งโอน/รับโอน คำสั่งช่วยราชการ คำสั่งพ้นทดลองปฏิบัติราชการ คำสั่งรักษาการในตำแหน่ง คำสั่งเลื่อนเงินเดือน คำสั่งลาออกจากราชการ และประกาศข้าราชการเกษียณอายุราชการ เป็นต้น)

เชิงปริมาณ :
- มีการบันทึกข้อมูลบุคลากรในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ไตรมาส 1 จำนวน 144 คำสั่ง 881 ราย
ไตรมาส 2 จำนวน 114 คำสั่ง 582 ราย
ไตรมาส 3 จำนวน 119 คำสั่ง 415 ราย
ไตรมาส 4 จำนวน 92 คำสั่ง 278 ราย
รวมไตรมาส 1-4 จำนวน 469 คำสั่ง 2,156 ราย
เชิงคุณภาพ :
- สป.มท. มีฐานข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคลในสังกัด
สป.มท. ที่ถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการบริหาร
และพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ
- บุคลากรสามารถเข้าใช้งานในระบบสารสนเทศ
ทรัพยากรบุคคลระดับกรม (DPIS) เพื่อ
ตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานของตนเองได้

4.โครงการ การประเมินบุคคล/ผลงานเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ ประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานและอาวุโส

ผลการดำเนินงาน กจ.สป. ได้ดำเนินการประเมินบุคคลและผลงานเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 19 ราย

เชิงปริมาณ : สามารถเลื่อนระดับข้าราชการจากระดับปฏิบัติการไปสู่ระดับชำนาญการได้จำนวน 19 ราย

เชิงคุณภาพ : สามารถสร้างความก้าวหน้าให้กับข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัด
กระทรวงมหาดไทยได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

5.โครงการ การประเมินบุคคลเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 ตำแหน่ง

ผลการดำเนินงาน กจ.สป. ได้ดำเนินการ ประเมินบุคคล

เชิงปริมาณ : สามารถดำเนินการ
ประเมินบุคคลเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
จำนวน 1 ตำแหน่ง

เชิงคุณภาพ : สามารถสร้างความก้าวหน้าให้กับข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัด
กระทรวงมหาดไทยได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

6.โครงการ/กิจกรรม : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการงานออกบัตรเหรียญพิทักษ์เสรีชน และเหรียญราชการชายแดน

แผนการดำเนินงาน :
1. เจ้าหน้าที่ แนะนำผู้มาติดต่อขอรับบริการทำบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.1 ผู้ยื่นคำขอทำบัตรต้องมีรายชื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาเหรียญพิทักษ์เสรีชนและหรือเหรียญราชการชายแดน และมีความประพฤติเรียบร้อย เหมาะสม
1.2 ผู้ได้รับพระราชทานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดใด
ให้ยื่นคำขอมีบัตรที่ได้รับการลงนามรับรองตามระเบียบแล้วที่จังหวัด (สำนักจังหวัด) นั้น เพื่อทำการออกบัตร
1.3 ผู้ได้รับพระราชทานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอมีบัตรที่ได้รับการลงนารับรองตามระเบียบแล้ว ที่กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อทำการออกบัตร
1.4 เจ้าหน้าที่จะพิจารณาดำเนินการออกบัตรให้ต่อเมื่อยื่นหลักฐานประกอบการออกบัตรถูกต้องและครบถ้วน
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เสนอผู้บังคับบัญชา
3. ผู้บังคับบัญชาลงนามในบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน และส่งให้ผู้ยื่นขอทำบัตร

ผลการดำเนินงาน : เป็นไปตามแผนดำเนินการ

ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข :
ผู้ขอทำบัตรประจำตัว ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน อาจมีรายชื่อที่ไม่ตรงกับราชกิจจานุเบกษา เนื่องจากสะกดคำผิด เจ้าหน้าที่แก้ไขด้วยการสืบสวนและหาหลักฐานที่สามารถยืนยันตัวตนในขณะนั้นได้ เช่น หลักฐานทางทะเบียนราษฎร หลักฐานคำสั่งปฏิบัติหน้าที่ หลักฐานการยืนยันตัวบุคคลของทางราชการ เป็นต้น

เชิงปริมาณ : -
เชิงคุณภาพ : ประชาชนผู้มาทำบัตรประจำตัว
ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน มีความพึงพอใจ
ในการให้บริการของเจ้าหน้าที่
ไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 91.82
คิดเป็นร้อยละ 91.82
คิดเป็นระดับ ๕ ของเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด
(เกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด
ระดับ 1 ร้อยละ 65
ระดับ 2 ร้อยละ 70
ระดับ 3 ร้อยละ 75
ระดับ 4 ร้อยละ 80
ระดับ 5 ร้อยละ 85)

7. โครงการ/กิจกรรม : ร้อยละของผู้ขอทำบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดนได้รับการออกบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดนตามระยะเวลาที่กำหนด

แผนการดำเนินงาน :
1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารของผู้ขอรับบริการทำบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน โดยตรวจสอบคำนำหน้าชื่อ ชื่อ – สกุล ราชกิจจานุเบกษา พร้อมเอกสารเพิ่มเติมของ ผู้ขอรับบริการ (แล้วแต่กรณี)
2. เมื่อเจ้าหน้าที่พิจารณาตรวจสอบแล้ว หากพบว่าเอกสารครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะดำเนินการออกเลขบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน และเหรียญราชการชายแดน พร้อมลงวันที่ออกบัตร/บัตรหมดอายุ และประทับตรายางลายมือชื่อปลัดกระทรวงมหาดไทย
3. เสนอผู้มีอำนาจลงนามกำกับบนบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน และประทับตราครุฑดุนบนบัตรดังกล่าว
4. จ่ายบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดนให้แก่ผู้ขอรับบริการ

ผลการดำเนินงาน : เป็นไปตามแผนดำเนินการ

ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข :
ผู้ขอรับบริการทำบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดนบางอาจมีรายชื่อที่ไม่ตรงกับราชกิจจานุเบกษา เนื่องจากสะกดคำผิด เจ้าหน้าที่แก้ไขด้วยการสืบสวนและหาหลักฐานที่สามารถยืนยันตัวตนในขณะนั้นได้ เช่น หลักฐานทางทะเบียนราษฎร หลักฐานคำสั่งปฏิบัติหน้าที่ หลักฐานการยืนยันตัวบุคคลของทางราชการ เป็นต้น เพื่อดำเนินการออกบัตรประจำตัวให้แก่ผู้ขอรับบริการต่อไป

เชิงปริมาณ : -
เชิงคุณภาพ : ประชาชนผู้ขอทำบัตรประจำตัว
ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน ได้รับการออกบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดนตามระยะเวลาที่กำหนด
ไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 100
คิดเป็นระดับ 5 ของเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด
(เกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด
ระดับ 1 ร้อยละ 65
ระดับ 2 ร้อยละ 70
ระดับ 3 ร้อยละ 75
ระดับ 4 ร้อยละ 80
ระดับ 5 ร้อยละ 85)

8.โครงการ/กิจกรรม การประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการ

ผลการดำเนินงาน ได้ดำเนินการจัดประชุม จำนวน 2 ครั้ง (ในไตรมาส 4 เดิมตามแผนฯ ไม่ได้กำหนดจัดประชุมในช่วงเวลาดังกล่าว) ดังนี้

1) จัดประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการ สป. จำนวน 1 ครั้ง เพื่อพิจารณาผลการประเมินผลฯ รอบการประเมินที่ 2/2567 เพื่อเสนอปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมิน เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการ สป. เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 (ใช้งบประมาณ 350 บาท)

2) จัดประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ สป. ในราชการบริหารส่วนกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 (ใช้งบประมาณ 540 บาท)

เชิงปริมาณ : ไตรมาสที่ 1 – 4 ดำเนินการสำเร็จเกินกว่าแผนที่กำหนด (แผนจัดประชุม 3 ครั้ง ผลการดำเนินการจัดประชุม 6 ครั้ง) คิดเป็น ร้อยละ 200

ทั้งนี้ มีผลการเบิกจ่ายในไตรมาส 4 เป็นเงิน 890 บาท (รวม 4 ไตรมาส จำนวน 4,600 บาท) (งบประมาณตามแผน 3,150 บาท)

เชิงคุณภาพ : การประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน เป็นไปตามแนวทางการประเมินผลฯ ตามที่ กพ. และ สป. กำหนด


การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบงานและจัดการความรู้ (ภารกิจกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร)
กพร.สป.
ระดับความสำเร็จของการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)
ผลการดำเนินงานไตรมาส ๑
1. เมื่อวันที่ 1๔ ธันวาคม ๒๕๖๖ กพร.สป. และผู้แทนหน่วยงานในสังกัด สป.มท.
ได้ร่วมรับฟังการชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางการสมัครรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗
๒. สป.มท. โดย กพร.สป. จัดการประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินการและคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.มท. ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมอัษฎางค์ ชั้น ๕ อาคารดำรงราชานุสรณ์ โดยที่ประชุมรับทราบ ๑) การมอบนโยบายการส่งเสริม
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ประจำปี ๒๕๖๗ ๒) ผลการดำเนินงาน PMQA และ ผลการพิจารณารางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๖ และ
๓) พิจารณาแผนการขับเคลื่อน PMQA และการเสนอผลงานเพื่อสมัครขอรับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗ ของ สป.มท.
๓. สป.มท. ได้มีการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จากรายงานป้อนกลับ (Feedback Report) รางวัล PMQA 4.0 และผลการตรวจประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ ๔.๐ ตามตัวชี้วัด PMQA 4.0 ประจำปี ๒๕๖๖
๔. สป.มท. กำหนดประเด็นการพัฒนาที่สำคัญตามประเด็นผลการตรวจประเมินรางวัลฯ และมอบหมายภารกิจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินการ เพื่อยกระดับค่าคะแนนการประเมินให้เพิ่มมากขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการสู่การเป็นระบบราชการ ๔.๐ ทั้งนี้ กพร.สป อยู่ระหว่างการจัดทำ (ร่าง) แผนเพิ่มประสิทธิภาพองค์การ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นระบบราชการ 4.0 ต่อไป
ปัญหาอุปสรรค - ไม่มี -
แนวทางแก้ไข -ไม่มี-

ผลการดำเนินงานไตรมาส 2
1. หน่วยงานรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ ๔.๐ (Application Report) ที่มีเนื้อหาสาระที่มีคุณภาพ ครบถ้วนตามเกณฑ์ PMQA 4.0 ภายในระยะเวลาตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด (รางวัล PMQA 4.0) โดยมีผู้แทน สป.มท. ได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการจัดทำรายงานผล
การดำเนินการพัฒนาองค์การ (Application Report)” รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ๔.๐ จัดโดย สำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่
๒๐ - ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
๒. สป.มท. ได้จัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในการยกระดับกระทรวงมหาดไทย เพื่อมุ่งสู่การเป็นระบบราชการ ๔.๐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ กิจกรรม “การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนองค์ความรู้และเทคนิคการพัฒนาผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สู่รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗ (Application Report)” เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น ๕
อาคารดำรงราชานุสรณ์ มท. เพื่อจัดทำ Application Report ของ สป.มท.
ให้มีเนื้อหาสาระที่มีคุณภาพ ครบถ้วนตามเกณฑ์ PMQA 4.0 โดย สป.มท. ได้นำส่งข้อมูล การสมัครรางวัลเลิศรัฐ สาขา PMQA 4.0 และรางวัลการบริหารราชการ
แบบมีส่วนร่วม ประเภทเปิดใช้ใกล้ชิดประชาชน ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านระบบออนไลน์ภายในระยะเวลาที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว
ปัญหาอุปสรรค - ไม่มี -
แนวทางแก้ไข - ไม่มี -

ผลการดำเนินงานไตรมาส 3
๑. สป.มท. ได้จัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในการยกระดับกระทรวงมหาดไทย เพื่อมุ่งสู่การเป็นระบบราชการ ๔.๐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ กิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนองค์ความรู้และเทคนิคการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ ๔.๐ ตามตัวชี้วัด PMQA 4.0 ของจังหวัด และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมเฟื่องนคร ชั้น ๕ อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Webex) ไปยัง ๗๖ จังหวัด
๒. จัดการประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินการและคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 1/2567
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30 – 16.30 น. เพื่อพิจารณาการเตรียมการรับการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ ณ พื้นที่ปฏิบัติงาน (Site Visit) ประจำปี 2567 รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 (PMQA 4.0) ของ สป.มท.
ปัญหาอุปสรรค -ไม่มี-
แนวทางแก้ไข -ไม่มี-

ผลการดำเนินงานไตรมาส ๔
๑. สป.มท. ได้จัดกิจกรรมการประชุม รับการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ ณ พื้นที่ปฏิบัติงาน (Site Visit) และการจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์ผลงานโดดเด่นของ สป.มท. เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมราชบพิธ อาคารดำรงราชานุสรณ์ เพื่อนำเสนอผลงานโดดเด่นของหน่วยงานในสังกัด สป.มท. ในการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ และเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลผลการดำเนินงานให้คณะผู้ตรวจประเมินรางวัลฯ และหน่วยงานอื่นได้รับรู้ รับทราบในวงกว้าง
๒. สำนักงาน ก.พ.ร. ประกาศผลการพิจารณารางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗ โดย สป.มท. ผ่านการประเมินได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประเภทรางวัล PMQA 4.0 ระดับก้าวหน้า (Advance) โดยได้ ๔๓๓.๘๑ คะแนน และได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๗ ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
๓. กพร.สป. ได้พัฒนากระบวนงานที่สำคัญร่วมกับ สำนัก/กอง/ศูนย์ ภายใน สป.มท. โดยได้จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) กระบวนงานติดตามตามภารกิจของหน่วยงานแล้วเสร็จ จำนวนทั้งสิ้น ๓๙ กระบวนงาน (ระดับที่ ๔ ส่วนที่ ๒)
๔. กพร.สป. ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน การใช้จ่ายงบประมาณโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในการยกระดับกระทรวงมหาดไทย เพื่อมุ่งสู่การเป็นระบบราชการ ๔.๐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ (ระดับที่ ๕)
ปัญหาอุปสรรค -ไม่มี-
แนวทางแก้ไข -ไม่มี-

โครงการ สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงมหาดไทย
ผลการดำเนินงาน : งบประมาณ พ.ศ.๒๕๖7 ไตรมาส 1 – ไตรมาส 2 ได้จัดประชุมคณะกรรมการฯ แล้ว จำนวน 6 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2566
ครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2566
ครั้งที่ 11/2566 เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2566
ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2567
ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567
ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2567
- ประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมการ
(อ.ค.ต.ป.) คณะต่างๆ ได้แก่ อ.ค.ต.ป. กลุ่มกระทรวง คณะที่ 3 1 ครั้ง คณะที่ 7 จำนวน 1 ครั้ง / อ.ค.ต.ป กลุ่มจังหวัด ประชุมเป็นประจำทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง
- จัดส่งรายงานความก้าวหน้าการดำเนิน งานรอบ 6 เดือน ประเด็นการตรวจสอบของ ค.ต.ป.มท. เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567
- การลงพื้นที่ตรวจสอบและประเมินผลของ ค.ต.ป.มท. ณ จังหวัดนครปฐม
เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567
ปัญหาอุปสรรค
1.ประเด็นการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องมีจำนวนมากและต่อเนื่อง (ตั้งแต่ปี 2564 - 2566) ทำให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบางแห่งเกิดความสับสนในการรายงานฯ
2. การมอบหมายให้ ค.ต.ป.มท. ร่วมสอบทาน กำกับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโครงการที่เป็นไปตามเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงการทุจริตเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ เป็นเรื่องใหม่ซึ่งไม่เคยดำเนินการมาก่อน รวมทั้งหน่วยงานผู้รับการตรวจก็ไม่เคยมีประสบการณ์จากการตรวจสอบผ่านกลไกดังกล่าว จึงไม่คุ้นเคยกับเอกสาร/แบบฟอร์มที่ต้องรายงาน ทำให้การดำเนินการล่าช้าไปบ้าง
แนวทางแก้ไข
1. ควรพิจารณาติดตามและตรวจสอบเฉพาะประเด็นที่มีความสำคัญ
2. มอบหมายหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการตรวจสอบ เช่น ตรวจสอบภายในของหน่วยงาน กองคลัง หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกันการทุจริตในระดับกระทรวง เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการสอบทาน และควรระบุขอบเขตหน้าที่ของ ค.ต.ป.มท. ในการสอบทานให้ชัดเจนมากขึ้น
ผลการดำเนินงาน : งบประมาณ พ.ศ.๒๕๖7 ไตรมาส 3 ได้จัดประชุมคณะกรรมการฯ แล้ว จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่
ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567
ครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567
และมีการประชุมร่วมกับ อ.ค.ต.ป. คณะอื่น ๆ 2 ครั้ง ได้แก่ การประชุม อ.ค.ต.ป. กลุ่มกระทรวง คณะที่ 2 ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 การประชุม อ.ค.ต.ป. กลุ่มจังหวัด ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567
ปัญหาอุปสรรค
1. ได้รับงบประมาณล่าช้าทำให้ต้องละเว้นการประชุม ค.ต.ป.มท. ในเดือนเมษายน ขาดความต่อเนื่องในการตรวจสอบและประเมินผลตามแผนงานที่กำหนดไว้
แนวทางแก้ไข
1. ปรับแผนการทำงาน แบ่งประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลมาดำเนินการในเดือนที่เหลือในปีงบประมาณ

ผลการดำเนินงาน : งบประมาณ พ.ศ.๒๕๖7 ไตรมาส 4 ได้จัดประชุมคณะกรรมการฯ แล้ว จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่
ครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567
ครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 8/2567 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2567
โดยมีการลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการตรวจสอบของ ค.ต.ป.มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567
มีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่
ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567
ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567
และมีการประชุมร่วมกับ อ.ค.ต.ป. คณะอื่น ๆ 2 ครั้ง ได้แก่
การประชุม อ.ค.ต.ป. กลุ่มจังหวัด ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567
การประชุม อ.ค.ต.ป. กลุ่มจังหวัด ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567
ปัญหาอุปสรรค
1. ได้รับงบประมาณจำนวนจำกัด จึงทำให้สามารถพิจารณาลงพื้นที่ได้เฉพาะจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น
แนวทางแก้ไข
1. ปรับแผนการลงพื้นที่ และใช้การประสานงานล่วงหน้าเพื่อจัดเตรียมข้อมูลตามประเด็นการตรวจสอบ
โครงการ : ความสําเร็จของมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ผลการดำเนินงาน

ไตรมาสที่ 1
1. เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการมีมติเห็นชอบ กรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการฯ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 และกำหนดให้ส่วนราชการระดับกรม ในสังกัด มท. จัดทำตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (องค์ประกอบที่ 1) โดยให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของ ส่วนราชการในกระทรวงมหาดไทย มี ปมท. เป็นประธานกรรมการ เพื่อพิจารณากำหนดตัวชี้วัด น้ำหนัก ค่าเป้าหมาย ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวงและส่วนราชการในสังกัดกระทรวง กำกับ ติดตาม และให้การสนับสนุนเพื่อให้การดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวงและ ส่วนราชการในสังกัดเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด
2. เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดจัดการประชุม เวลา 09.30 น. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกรมในสังกัด มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งคณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นชอบตัวชี้วัดฯ น้ำหนัก และหลักการในการกำหนดเกณฑ์การประเมินค่าเป้าหมายตัวชี้วัด

ไตรมาสที่ 2
3. สำหรับตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ของ สป.มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวมทั้งสิ้น 9 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 1 มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1. ร้อยละของครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับการขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดผ่านการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจระดับจังหวัด (กรอ.จังหวัด) และภาคีเครือข่าย 3. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไขของศูนย์ดำรงธรรม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 5. ระดับความสำเร็จของการจัดทำข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO) องค์ประกอบที่ 2 มีจำนวน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1. ร้อยละของชุดข้อมูลเปิดที่เป็นไปตามมาตรฐานในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) 2. ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย 3. คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย 4. คะแนนการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

ไตรมาสที่ 3
1. เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 สำนักงาน ก.พ.ร. ให้ส่วนราชการรายงานผล การดำเนินงานตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รอบ 6 เดือน ผ่านระบบรายงานผลการประเมินส่วนราชการ (e-SAR) เฉพาะองค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) น้ำหนักร้อยละ 70 โดย สป.มท. มีตัวชี้วัดที่ต้องรายงานในองค์ประกอบที่ 1 จำนวน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่
1.1. ร้อยละของครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับการขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัด
ความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดผ่านการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจระดับจังหวัด (กรอ.จังหวัด) และภาคีเครือข่าย
1.3 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.4 ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไขของศูนย์ดำรงธรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
1.5 ระดับความสำเร็จของการจัดทำข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO)
2. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แจ้งประเมินผลการประเมินฯ รอบการประเมิน 6 เดือน ให้ สป.มท. ซึ่งผลการดำเนินงานตัวชี้วัดเป็นไปตามค่าเป้าหมายขั้นสูงทุกตัวชี้วัด มีค่าคะแนนเท่ากับ 70 คะแนน
3. นำส่งผลการประเมินฯ ไปยัง กจ.สป. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้บริหารส่วนราชการ (ปมท.) สำหรับการประเมินรอบ 6 เดือน ตามแนวทางที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
4. สำหรับการดำเนินงานรอบ 12 เดือน กำหนดให้สามารถปรับรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ภายในเดือนกรกฎาคม 2567 ซึ่งกำหนดจัดประชุมคณะกรรมกำกับการประเมิน ผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการใน มท. วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ผลเป็นประการใดจะรายงานให้ทราบต่อไป

ไตรมาสที่ 4
2. เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 มท. จัดประชุมคณะกรรมการกำกับการประเมินผล การปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาตัวชี้วัดที่มีการขอปรับรายละเอียดตัวชี้วัดฯ รอบ 12 เดือน จำนวน 2 กรม 4 ตัวชี้วัด โดยที่ประชุมมติเห็นชอบปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดฯ จำนวน 2 ตัวชี้วัด และยืนยันค่าเป้าหมายเดิม จำนวน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
- สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 ตัวชี้วัด ยืนยันค่าเป้าหมายเดิม ตัวชี้วัดร้อยละของเครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับการขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- กรมโยธาธิการและผังเมือง จำนวน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่
(1) ร้อยละความสำเร็จของการก่อสร้างโครงการระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนที่อยู่ระหว่างดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เห็นชอบให้ปรับแผนการดำเนินงานโครงสร้างฯ และคงค่าเป้าหมายเดิม
(2) ระดับความสำเร็จของการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำชายแดนระหว่างประเทศ ให้ยืนยันค่าเป้าหมายเดิม
(3) ร้อยละความสำเร็จของการก่อสร้างโครงการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว (Joint KPIs) เห็นชอบให้ปรับลดค่าเป้าหมายเฉพาะค่าเป้าหมายขั้นต้น และคงค่าเป้าหมายมาตรฐานและขั้นสูง
3. สำหรับการรายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดฯ รอบ 12 เดือน ผ่านระบบรายงานผลการประเมินส่วนราชการ (e-SAR) ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2567 กพร.สป. ได้มีหนังสือแจ้งหน่วยงานในสังกัด สป.มท. ที่รับผิดชอบตัวชี้วัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้รายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดฯ ให้ กพร.สป. ภายในวันที่ 7 ตุลาคม 2567 เพื่อสรุปภาพรวมผลการดำเนินงานตัวชี้วัดฯ เสนอ ปมท. เพื่อเห็นชอบผลการดำเนินงานตัวชี้วัดฯ โดยนำไปรายงานในระบบของสำนักงาน ก.พ.ร. ตามระยะเวลาที่กำหนด และส่งผลการประเมินการปฏิบัติราชการฯ ให้ กจ.สป. เพื่อนำไปประกอบ การประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้บริหารส่วนราชการ (ปมท.) ต่อไป

ปัญหาอุปสรรค - ไม่มี
แนวทางแก้ไข - ไม่มี

การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบงานและจัดการความรู้ (ภารกิจสถาบันดำรงราชานุภาพ)
สดร.สป.
ร้อยละความสำเร็จในการสนับสนุนการฝึกอบรมตามเป้าหมาย
ดำเนินโครงการตามที่ได้รับการจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ไตรมาสที่ 1 (1 ตุลาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566)

1) โครงการศึกษาอบรมหลักสูตร "การเป็นข้าราชการที่ดี" รุ่นที่ 100 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 8 พฤศจิกายน 2566 ณ กรุงเทพมหานคร และวิทยาลัยมหาดไทย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม จำนวน 130 คน (เป็นข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 33 คน)

2) โครงการศึกษาอบรมหลักสูตร "การเป็นข้าราชการที่ดี" รุ่นที่ 101 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 9 - 18 พฤศจิกายน 2566 ณ กรุงเทพมหานคร และวิทยาลัยมหาดไทย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม จำนวน 131 คน (เป็นข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 45 คน)

3) โครงการศึกษาอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 9 - 13 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงมหาดไทย (ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมเป็นข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 32 คน)

ไตรมาสที่ 2 (1 มกราคม 2567-31 มีนาคม 2567)

1) โครงการพัฒนาและเสริมสร้างบุคลากรกระทรวงมหาดไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้บริหารที่มีสมรรถนะสูง (MOI SMART Agent for CAST) ช่วงที่ 4 ระยะที่ 1 ระหว่างวันท่ี่ 21 - 23 มกราคม 2567 ณ วิทยาลัยมหาดไทย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม จำนวน 76 คน (เป็นข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 10 คน)

2) โครงการศึกษาอบรมหลักสูตร "ต้นกล้าข้าราชการ" รุ่นที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 5 เมษายน 2567 ณ กรุงเทพมหานคร และวิทยาลัยมหาดไทย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม จำนวน 100 คน (เป็นข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 83 คน)

ไตรมาสที่ 3 (1 เมษายน 2567 – 30 มิถุนายน 2567)

1) โครงการศึกษาอบรมหลักสูตรนักปกครองระดับสูง (นปส.) รุ่นที่ 82 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 22 เมษายน - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ณ วิทยาลัยมหาดไทย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม จำนวน 101 คน (เป็นข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 8 คน)

2) โครงการศึกษาอบรมหลักสูตร "ต้นกล้าข้าราชการ" รุ่นที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 1 - 10 พฤษภาคม 2567 ณ กรุงเทพมหานคร และวิทยาลัยมหาดไทย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม จำนวน 96 คน (เป็นข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 80 คน)

ไตรมาสที่ 4 (1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567)

1) โครงการพัฒนานักบริหารเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (หลักสูตรเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด : นักปกครองระดับสูง 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 20 มิถุนายน - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ กระทรวงมหาดไทย และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม จำนวน 60 คน (เป็นข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 54 คน)

การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
สน.สป.
จำนวนสื่อประชาสัมพันธ์ที่ได้รับการเผยแพร่
มีการเบิกจ่ายในไตรมาสที่ 1 - 4 (1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67) จำนวน 2,226,137.18 บาท รายละเอียด ดังนี้
- ค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 368,960 บาท
- ค่าจ้างเหมาบุคลากรช่วยปฏิบัติงาน 556,766.62 บาท
- ค่าเดินทางไปราชการ 168,030.76 บาท - ค่าวัสดุ 160,437.20 บาท
- ค่าสนับสนุนภารกิจภายในหน่วยงานอื่น 63,710.60
- ค่าจ้างบริการข้อมูลข่าวสารผ่านระบบออนไลน์ 360,000 บาท
- ค่าจ้างบริการเช่าระบบ line@ 473,232 บาท
- ค่าใช้จ่ายผลิตเทปโทรทัศน์ 75,000 บาท

การพิจารณาร่างกฎหมายและข้อหารือทางข้อกฎหมาย
สกม.สป.
จำนวนครั้งที่จัด การประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย 25 ครั้ง
ไตรมาสที่ 1- 4 จัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย ตามเป้าหมายกำหนดไว้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 25 ครั้ง และเป้าหมายเบิกจ่าย รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 0.6649 ล้านบาท ผลการดำเนินงานดังนี้ 1) จัดประชุมได้จำนวนทั้งสิ้น 31 ครั้ง ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และพิจารณาเรื่องได้แล้วเสร็จ จำนวนทั้งสิ้น 72 เรื่อง แยกเป็นร่างกฎหมายต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น 55 เรื่อง ได้แก่ ร่างประกาศ มท. 27 เรื่อง/ ร่าง พ.ร.บ. 4 เรื่อง /ร่าง พ.ร.ฎ. 10 เรื่อง /ร่างระเบียบ มท. 8 เรื่อง /ร่างคำสั่ง 1 เรื่อง/ ร่างกฎกระทรวง 4 เรื่อง/ร่างประมวล กม. 1 เรื่อง และข้อหารือทางข้อกฎหมายจำนวนทั้งสิ้น 17 เรื่อง 2) ผลการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 0.8034 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ เนื่องจากมีจำนวนเรื่องนำเสนอเข้าที่ประชุมจำนวนมากและมีความสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จึงได้จัดประชุมเพิ่มจำนวนครั้ง ในส่วนของงบประมาณที่ใช้ในการประชุมเพิ่มจำนวนครั้งได้ดำเนินการปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2567 จากรายการค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการมาสมทบเพิ่มเป็นเงิน 0.0744 ล้านบาท และเงินโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณเหลือจ่ายจากงบรายจ่ายอื่น ได้แก่ โครงการฝึกอบรม หลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ (ภาคพิเศษ (กระทรวงมหาดไทย)) ระดับปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มาสมทบเพิ่มเป็นเงิน 0.0641 บาท ดังนั้น งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการทั้งปี เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 0.8034 ล้านบาท (ประกอบด้วย 1. งบประมาณตามเป้าหมายการเบิกจ่ายที่ตั้งไว้เดิม เป็นเงินทั้งสิ้น 0.6649 ล้านบาท 2. เงินสมทบระหว่างปีเพิ่มเติม เป็นเงินทั้งสิ้น 0.1385 ล้านบาท)



การพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
สกถ.สป.
ร้อยละความพึงพอใจในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
-สนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานได้ตามเป้าหมาย
-ดำเนินการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น จำนวน 7 ครั้ง
-ดำเนินการประชุมคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น จำนวน 12 ครั้ง
-ดำเนินการโอนเปลี่ยนแปลงวงเงินงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพองกรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพบุคลากรรายบุคคล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้ตามเป้าหมาย
-ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีผลการประเมินจากข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 95.4
-จัดทำรายงานประจำปีของ ก.ถ. และสำนักงาน ก.ถ. รวม 200 เล่ม และ E-Book จำนวน 1 ฉบับ โดยเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานและแจกจ่ายให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น วิทยาลัยมหาดไทย สภาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาพันธ์/สมาคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
-มีเงินเหลือจากการเบิกจ่าย 0.1670 ล้านบาท

การอำนวยการและประสานงานภาครัฐ
กก.สป.
จำนวนหน่วยงานที่ได้รับบริการด้านอำนวยการ
ผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4/2567
ดำเนินการจัดงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานพระราชพิธี งานรัฐพิธี และงานพิธีต่าง ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในนามของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ตามนโยบายของผู้บริหารและตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย งานประสานงานราชการกับส่วนภูมิภาค รวมถึงขับเคลื่อนงานสารบรรณผ่านการแจกจ่ายหนังสือทั้งรับเข้า และส่งออก ให้กับส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ จำนวน 153 หน่วยงาน
ผลการเบิกจ่าย ไตรมาสที่ 4/2567
- งบประมาณตาม พ.ร.บ.เงินประจำงวดที่ได้รับ 3,564,900 บาท และได้รับงบประมาณสุทธิ จำนวน 3,258,380 บาท
(เนื่องจากระหว่างปีงบประมาณมีการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ จำนวน 306,520 บาท)
- มีผลการเบิกจ่ายไตรมาสที่ 1 - 4 รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,253,921.66 บาท คงเหลือ จำนวน 4,458.34 บาท และกันเงินเหลื่อมปี จำนวน 99,927 บาท)

การสนับสนุนการบริหารราชการทั่วไป (ภารกิจกองคลัง)
กค.สป.
ร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณกองคลัง สป.
กองคลัง สป. ได้รับเงินจัดสรรงบประมาณตามรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 279,154,000 บาท เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายรายจ่ายประจำในการบริหารจัดการส่วนราชการในส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง ได้แก่ ค่าจ้างเหมาบุคลากรช่วยปฏิบัติงาน ค่าจ้างเหมากำจัดปลวก ค่าเช่ารถยนต์ ค่าเช่าที่ดิน ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น เฉพาะไตรมาสที่ 4/2567 ได้รับงบประมาณเหลือจ่าย งบดำเนินงาน จำนวน 50,557,006.01 บาท รวมทั้งสิ้น 329,711,006.01 บาท ดังนั้น ณ ไตรมาสที่ 4 (สิ้นเดือนกันยายน 2567) มีผลการเบิกจ่ายสะสม จำนวน 314,570,187.26 บาท และมีการใช้จ่ายสะสม จำนวน 328,098,952.01 บาท (PO จำนวน 13,528,764.75 + เบิกจ่าย จำนวน 314,570,187.26 บาท) คิดเป็นร้อยละ 117.53 ของงบประมาณ (279,154,000) และคิดเป็นร้อยละ 99.51 ของงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง (329,711,006.01)

การสนับสนุนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ศสส.สป.
ร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร สป.
- อยู่ระหว่างเบิกจ่ายตามงวดงาน
- ข้อมูลผลการเบิกจ่ายรายไตรมาส มาจากรายงานการเบิกจ่ายในระบบ GFMIS

อบรมหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ (ภาคพิเศษ(กระทรวงมหาดไทย)) ระดับปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
สกม.สป.
ร้อยละของผู้เข้าร่วมผ่านการฝึกอบรม และความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
(1) จัดโครงการฝึกอบรม “หลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ (ภาคพิเศษ (กระทรวงมหาดไทย))” ระดับปฏิบัติการ
ผลการดำเนินงาน : นิติกรระดับปฏิบัติการ ที่ปฏิบัติงานด้านกฎหมายสังกัดกระทรวงมหาดไทย เข้ารับการฝึกอบรมระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม – 15 มิถุนายน 2567 ณโรงแรมในกรุงเทพมหานคร มีจำนวนทั้งสิ้น 38 คนโดยกำหนดสอบข้อเขียนในวันที่ 13 กรกฎาคม 2567 มีผู้สอบผ่าน 31 คน และสอบซ่อมวันที่ 3 สิงหาคม 2567 มีผู้สอบซ่อมผ่าน 5 คน (โดยที่มีผู้เข้าร่วมอบรมไม่ประสงค์เข้าสอบจำนวน 2 คน เนื่องจากได้ลาออกเพื่อไปบรรจุเป็นพนักงานคดีปกครอง) ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดเป็นไปตามเป้าหมาย มีผู้ผ่านการฝึกอบรมและความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 100 และเบิกจ่ายเงินค่าดำเนินการไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 0.8100 ล้านบาท สำหรับค่าคุมสอบและออกข้อสอบ เป็นเงิน 16,180 บาท เป็นรายจ่ายค้างเบิกข้ามปีเนื่องจากได้ขอทำความตกลงไปยังสำนักงบประมาณแล้วไม่สามารถดำเนินการให้ทันภายในสิ้นเดือนกันยายน 2567

การสนับสนุนและอำนวยการศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย
สตร.สป.
ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ได้รับเข้า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และสามารถแก้ไขปัญหาจนได้ ข้อยุติในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
เรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ที่รับเข้าใหม่และแก้ไขปัญหาจนยุติในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไตรมาสที่ 1 - 4
1) แจ้งเบาะแสการกระทำความผิด จำนวน 3,740 เรื่อง / ยุติ 3,593 เรื่อง
2) ปัญหาความเดือดร้อน จำนวน 8,429 เรื่อง / ยุติ 7,936 เรื่อง
3) ร้องเรียนหน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 4,121 เรื่อง / ยุติ 3,809 เรื่อง
4) ปัญหาที่ดินทำกิน จำนวน 1,892 เรื่อง / ยุติ 1,726 เรื่อง
5) ขอความช่วยเหลือ จำนวน 12,865 เรื่อง / ยุติ 12,312 เรื่อง
6) บัตรสนเทห์ จำนวน 537 เรื่อง / ยุติ 498 เรื่อง
7) เรื่องอื่นๆ จำนวน 5,021 เรื่อง / ยุติ 5,007 เรื่อง
รวมเรื่องรับเข้าทั้งสิ้น 36,605 เรื่อง ยุติเรื่องได้ 34,881 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 95.29

โครงการสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสของกระทรวงมหาดไทย
ศปท.มท.
จำนวนบุคลากรได้รับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมที่ดี
โครงการสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสให้แก่บุคลากรของกระทรวงมหาดไทย
กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกจริยธรรมและคุณธรรมในระดับจังหวัด งบประมาณ 8,000,000 บาท ดำเนินโครงการในประเด็นปลูกฝังวิธีคิด สร้างจิตสำนึกในความซื่อสัตย์สุจริต การแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ส่วนรวม
การป้องกัน ปราบปรามการทุจริต การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และยกระดับคะแนน ITA
ผลการดำเนินงาน
1. จัดสรรงบประมาณให้จังหวัด 77 โครงการ 76 จังหวัด จังหวัดขนาดใหญ่ 35 จังหวัด จังหวัดละ 85,000 บาท จังหวัดขนาดกลาง 30 จังหวัด จังหวัดละ 63,000 บาท บาท และจังหวัดขนาดเล็ก 11 จังหวัด จังหวัดละ 42,500 บาท รวม 5,333,300 บาท (จัดสรรรอบที่ 1)
2. จังหวัดดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จำนวน 70 จังหวัด (จัดสรรรอบที่ 1)
3. จัดสรรงบประมาณให้จังหวัด 76 โครงการ 76 จังหวัด จังหวัดขนาดใหญ่ 35 จังหวัด จังหวัดละ 35,000 บาท จังหวัดขนาดกลาง 30 จังหวัด จังหวัดละ 33,000 บาท บาท และจังหวัดขนาดเล็ก 11 จังหวัด จังหวัดละ 41,000 บาท รวม 2,666,700 บาท (จัดสรรรอบที่ 2)
4. ไตรมาสที่ 4/2567 จังหวัดดำเนินโครงการในประเด็นปลูกฝังวิธีคิด สร้างจิตสำนึกในความซื่อสัตย์สุจริตการแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ส่วนรวม การป้องกัน ปราบปรามการทุจริต การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ โดยจังหวัดดำเนินโครงการแล้วเสร็จ ทั้ง 76 จังหวัด
กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกจริยธรรมและคุณธรรมของ มท. งบประมาณ 7,085,100 บาท
ผลการดำเนินงาน
1. โครงการขับเคลื่อนภารกิจด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการป้องกันปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบของกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้
1) จัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (มท.) ณ ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย มีผู้เข้าร่วม 62 คน
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 และจัดนิทรรศการวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล ณ อิมแพคเมืองทองธานี เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566
2) ประกาศเจตนารมณ์ “สุจริต โปร่งใส มหาดไทยใสสะอาด 2567” และ “งดรับ งดให้” ของขวัญ ของกำนัล ทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่
(No Gift Policy) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566
3) จัดกิจกรรมการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาและยกระดับคะแนนการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 กลุ่มเป้าหมาย 85 คน (ส่วนกลาง) 152 คน (76 จังหวัด) 7,848 คน (อปท.) รวม 8,080 คน ณ ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกลของกระทรวงมหาดไทย และถ่ายทอดผ่านทางเพจกระทรวงมหาดไทย PR
4) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบของกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567เมื่อวันที่ 18 – 19 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมจากกรม รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานจังหวัด 76 จังหวัด รวมจำนวน 160 คน
5) การขับเคลื่อนการประเมินความเสี่ยงการทุจริตของหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมราชบพิธ มท. และผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกลของกระทรวงมหาดไทย และถึงถ่ายทอดผ่านทางเพจกระทรวงมหาดไทย PR
มีผู้เข้าร่วม 64 คน (ส่วนกลาง) และ 76 จังหวัด
6) การคัดเลือกบุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อยกย่องเป็นผู้มีจริยธรรมดีเด่น ประจำปี 2566 โดยจัดพิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติให้กับผู้ที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 3 คน เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ณ ห้องราชสีห์ อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย
7) จัดกิจกรรมบรรยายธรรมให้แก่บุคลากรในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมอัษฎางค์ ชั้น 5
อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย มีผู้เข้าร่วม 120 คน
8) การอบรมให้ความรู้การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ห้องราชบพิธ อาคารดำรงราชานุสรณ์ และผ่านระบบ VCS วันที่ 14 สิงหาคม 2567
มีผู้เข้าร่วมฯ 70 คน และ 76 จังหวัด (ภูมิภาค)

2. จัดสรรค่าใช้จ่ายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตจังหวัด โดยจัดสรรงบประมาณให้ 76 จังหวัด ๆ ละ 30,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 2,280,000 บาท สำหรับการจัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากลของทุกจังหวัด และสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายที่เกี่ยวกับ
การป้องกันปราบปรามการทุจริต และการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (จัดสรรรอบที่ 1)
3. จัดสรรค่าใช้จ่ายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตจังหวัด โดยจัดสรรงบประมาณให้ 76 จังหวัด ๆ ละ 15,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 1,140,000 บาท สำหรับการสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายที่เกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามการทุจริต และการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (จัดสรรรอบที่ 2)
4. โครงการเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ หลักสูตร "การพัฒนาแนวทาง
การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงาน" รูปแบบ onsite เมื่อวันที่ 17 - 19 มกราคม 2567 ณ โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ โดยมีผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเข้าร่วม จำนวน 150 คน และรูปแบบ online
ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ Cisco Webex Meetings) เมื่อวันที่ 28 - 30 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมเฟื่องนคร ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย โดยมีผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
เข้าร่วม จำนวน 221 คน
5. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 17 – 19 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมตรัง กรุงเทพมหานคร โดยมีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ เข้าร่วม จำนวน 270 คน
6. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบของกระทรวงมหาดไทย ระหว่างวันที่ 2 - 3 กันยายน 2567 ณ โรงแรม ปริ๊นซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร
โดยมี นายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ด้านบริหาร เป็นประธาน ในพิธีเปิดฯ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 ซึ่งการสัมมนาฯ ดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก นายวิบูลย์ สงวนพงศ์
อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย นายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการ ป.ป.ช. และผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย โดยมีบุคลากรจากกรม หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
หน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย รวมถึงบุคลากรจากจังหวัด 76 จังหวัด เข้าร่วมการสัมมนาฯ ทั้งสิ้น 200 คน
7. จังหวัดจัดกิจกรรมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานภารกิจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด

โครงการสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสให้แก่บุคลากรของกระทรวงมหาดไทย
ศปท.มท.
คะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
โครงการสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสให้แก่บุคลากรของกระทรวงมหาดไทย
กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกจริยธรรมและคุณธรรมในระดับจังหวัด งบประมาณ 8,000,000 บาท ดำเนินโครงการในประเด็นปลูกฝังวิธีคิด สร้างจิตสำนึกในความซื่อสัตย์สุจริต การแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ส่วนรวม
การป้องกัน ปราบปรามการทุจริต การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และยกระดับคะแนน ITA
ผลการดำเนินงาน
1. จัดสรรงบประมาณให้จังหวัด 77 โครงการ 76 จังหวัด จังหวัดขนาดใหญ่ 35 จังหวัด จังหวัดละ 85,000 บาท จังหวัดขนาดกลาง 30 จังหวัด จังหวัดละ 63,000 บาท บาท และจังหวัดขนาดเล็ก 11 จังหวัด จังหวัดละ 42,500 บาท รวม 5,333,300 บาท (จัดสรรรอบที่ 1)
2. จังหวัดดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จำนวน 70 จังหวัด (จัดสรรรอบที่ 1)
3. จัดสรรงบประมาณให้จังหวัด 76 โครงการ 76 จังหวัด จังหวัดขนาดใหญ่ 35 จังหวัด จังหวัดละ 35,000 บาท จังหวัดขนาดกลาง 30 จังหวัด จังหวัดละ 33,000 บาท บาท และจังหวัดขนาดเล็ก 11 จังหวัด จังหวัดละ 41,000 บาท รวม 2,666,700 บาท (จัดสรรรอบที่ 2)
4. ไตรมาสที่ 4/2567 จังหวัดดำเนินโครงการในประเด็นปลูกฝังวิธีคิด สร้างจิตสำนึกในความซื่อสัตย์สุจริตการแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ส่วนรวม การป้องกัน ปราบปรามการทุจริต การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ โดยจังหวัดดำเนินโครงการแล้วเสร็จ ทั้ง 76 จังหวัด
กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกจริยธรรมและคุณธรรมของ มท. งบประมาณ 7,085,100 บาท
ผลการดำเนินงาน
1. โครงการขับเคลื่อนภารกิจด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการป้องกันปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบของกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้
1) จัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (มท.) ณ ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย มีผู้เข้าร่วม 62 คน
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 และจัดนิทรรศการวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล ณ อิมแพคเมืองทองธานี เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566
2) ประกาศเจตนารมณ์ “สุจริต โปร่งใส มหาดไทยใสสะอาด 2567” และ “งดรับ งดให้” ของขวัญ ของกำนัล ทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่
(No Gift Policy) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566
3) จัดกิจกรรมการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาและยกระดับคะแนนการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 กลุ่มเป้าหมาย 85 คน (ส่วนกลาง) 152 คน (76 จังหวัด) 7,848 คน (อปท.) รวม 8,080 คน ณ ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกลของกระทรวงมหาดไทย และถ่ายทอดผ่านทางเพจกระทรวงมหาดไทย PR
4) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบของกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567เมื่อวันที่ 18 – 19 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมจากกรม รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานจังหวัด 76 จังหวัด รวมจำนวน 160 คน
5) การขับเคลื่อนการประเมินความเสี่ยงการทุจริตของหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมราชบพิธ มท. และผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกลของกระทรวงมหาดไทย และถึงถ่ายทอดผ่านทางเพจกระทรวงมหาดไทย PR
มีผู้เข้าร่วม 64 คน (ส่วนกลาง) และ 76 จังหวัด
6) การคัดเลือกบุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อยกย่องเป็นผู้มีจริยธรรมดีเด่น ประจำปี 2566 โดยจัดพิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติให้กับผู้ที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 3 คน เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ณ ห้องราชสีห์ อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย
7) จัดกิจกรรมบรรยายธรรมให้แก่บุคลากรในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมอัษฎางค์ ชั้น 5
อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย มีผู้เข้าร่วม 120 คน
8) การอบรมให้ความรู้การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ห้องราชบพิธ อาคารดำรงราชานุสรณ์ และผ่านระบบ VCS วันที่ 14 สิงหาคม 2567
มีผู้เข้าร่วมฯ 70 คน และ 76 จังหวัด (ภูมิภาค)

2. จัดสรรค่าใช้จ่ายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตจังหวัด โดยจัดสรรงบประมาณให้ 76 จังหวัด ๆ ละ 30,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 2,280,000 บาท สำหรับการจัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากลของทุกจังหวัด และสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายที่เกี่ยวกับ
การป้องกันปราบปรามการทุจริต และการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (จัดสรรรอบที่ 1)
3. จัดสรรค่าใช้จ่ายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตจังหวัด โดยจัดสรรงบประมาณให้ 76 จังหวัด ๆ ละ 15,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 1,140,000 บาท สำหรับการสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายที่เกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามการทุจริต และการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (จัดสรรรอบที่ 2)
4. โครงการเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ หลักสูตร "การพัฒนาแนวทาง
การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงาน" รูปแบบ onsite เมื่อวันที่ 17 - 19 มกราคม 2567 ณ โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ โดยมีผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเข้าร่วม จำนวน 150 คน และรูปแบบ online
ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ Cisco Webex Meetings) เมื่อวันที่ 28 - 30 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมเฟื่องนคร ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย โดยมีผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
เข้าร่วม จำนวน 221 คน
5. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 17 – 19 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมตรัง กรุงเทพมหานคร โดยมีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ เข้าร่วม จำนวน 270 คน
6. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบของกระทรวงมหาดไทย ระหว่างวันที่ 2 - 3 กันยายน 2567 ณ โรงแรม ปริ๊นซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร
โดยมี นายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ด้านบริหาร เป็นประธาน ในพิธีเปิดฯ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 ซึ่งการสัมมนาฯ ดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก นายวิบูลย์ สงวนพงศ์
อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย นายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการ ป.ป.ช. และผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย โดยมีบุคลากรจากกรม หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
หน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย รวมถึงบุคลากรจากจังหวัด 76 จังหวัด เข้าร่วมการสัมมนาฯ ทั้งสิ้น 200 คน
7. จังหวัดจัดกิจกรรมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานภารกิจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด


การอำนวยความเป็นธรรมและสร้างเสริมราชการใสสะอาด (ภารกิจสำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์)
สตร.สป.
จำนวนครั้งในการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยได้ออกตรวจราชการไปแล้ว จำนวน 192 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 240 ของเป้าหมายรวม (สตร.สป. กำหนดแผนการออกตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยไว้จำนวน 80 ครั้ง/ปีงบประมาณ ) โดยผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยได้ออกตรวจติดตามการดำเนินงานโครงการตามนโยบายรัฐบาล และที่กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ (จังหวัด) ทั้ง 18 เขตตรวจราชการ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ/ข้อสังเกต ตามประเด็นการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยประจำในแต่ละเดือน เพื่อหน่วยรับตรวจ (จังหวัด) จำนวน 76 จังหวัด พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

การอำนวยความเป็นธรรมและสร้างเสริมราชการใสสะอาด (ภารกิจตรวจสอบภายใน กระทรวงมหาดไทย)
ตภ.มท.
จำนวนรายงานผลการตรวจสอบด้านการเงิน การบัญชี และการปฏิบัติกฎระเบียบ ด้านการดำเนินงาน และการตรวจสอบอื่นๆ ตามแผนตรวจสอบประจำปี
ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 - กันยายน 2567 ตภ.มท ได้ดำเนินการตรวจสอบหน่วยรับตรวจที่มีความเสี่ยงสูงและออกรายงานผลฯ รวม 10 รายงาน ได้แก่
1. รายงานตรวจสอบด้านดำเนินงาน (Performance Audit) โครงการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (บูรณาการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม) ด้วยระบบกล้องโทรศทัศน์วงจรปิด CCTV System จำนวน 2 รายงาน ดังนี้
1) รายงานผลการตรวจสอบฯ การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV หมู่ที่ 3 บ้านทรายงาม เทศบาลตำบลดอยลาน อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
2) รายงานผลการตรวจสอบฯ การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV หมู่ที่ 1,2,6,7,8,10 ชุมชนในเขต เทศบาลตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

2. รายงานผลการตรวจสอบด้านการเงินการบัญชีและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Financial & Compliance Audit) 8 รายงาน ดังนี้
1) รายงานผลการตรวจสอบด้านการเงินการบัญชีและการปฏิบัติตามกฎระเบียบของสำนักงานลำพูน
2) รายงานผลการตรวจสอบด้านการเงินการบัญชีและการปฏิบัติตามกฎระเบียบของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
3) รายงานผลการตรวจสอบด้านการเงินการบัญชีและการปฏิบัติตามกฎระเบียบของสำนักงานจังหวัดสตูล
4) รายงานผลการตรวจสอบด้านการเงินการบัญชีและการปฏิบัติตามกฎระเบียบของสำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา
5) รายงานผลการตรวจสอบด้านการเงินการบัญชีและการปฏิบัติตามกฎระเบียบของสำนักงานจังหวัดชัยนาท
6) รายงานผลการตรวจสอบด้านการเงินการบัญชีและการปฏิบัติตามกฎระเบียบของสำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี
7) รายงานผลการตรวจสอบด้านการเงินการบัญชีและการปฏิบัติตามกฎระเบียบของสำนักงานจังหวัดเพชบุรี
8) รายงานผลการตรวจสอบด้านการเงินการบัญชีและการปฏิบัติตามกฎระเบียบของสำนักงานจังหวัดบึงกาฬ

การอำนวยความเป็นธรรมและสร้างเสริมราชการใสสะอาด (ภารกิจตรวจสอบภายใน กระทรวงมหาดไทย)
ตภ.มท.
ร้อยละของหน่วยงานรับตรวจที่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจ
ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 - กันยายน 2567 หน่วยรับตรวจได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบภายใน จำนวน 4 หน่วยตรวจรับตรวจคิดเป็นร้อยละ 80 ดังนี้
1.ผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะฯ ของสำนักงานจังหวัดลำพูน
2.ผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะฯ ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
3.ผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะฯ ของสำนักงานจังหวัดสตูล
4.ผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะฯ ของโครงการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (บูรณาการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เทศบาลตำบลดอยลาน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการติดตามผลการดำเนินการปรับปรุงฯ ทั้งสิ้น 6 หน่วยงาน ดังนี้
1.รายงานผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะฯ โครงการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (บูรณาการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม) ด้วยระบบกล้องโทรศทัศน์วงจรปิด CCTV System เทศบาลตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
2.ผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะฯ การตรวจสอบด้านการเงินการบัญชีและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Financial & Compliance Audit) จำนวน 5 หน่วยงาน ดังนี้
- สำนักงานจังหวัดบึงกาฬ
- สำนักงานจังหวัดเพชบุรี
- สำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี
- สำนักงานจังหวัดชัยนาท
- จังหวัดฉะเชิงเทรา

การอำนวยความเป็นธรรมและสร้างเสริมราชการใสสะอาด (ภารกิจตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย)
ตภ.สป.
จำนวนรายงานการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบภายในประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และจำนวนหน่วยรับตรวจที่เข้าตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ
รายงานการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบภายในประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

การสนับสนุนการบริหารราชการทั่วไป (ภารกิจกลุ่มยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลง)
กยป.มท.
ร้อยละการประสานงานและสนับสนุนงานอำนวยการได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
1. ผลการเบิกจ่ายรวม ประจำไตรมาส 1-4 ผลการเบิกจ่ายสะสมเป็นจำนวนเงิน 539,721.12 บาท ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2567
2. ร้อยละความสำเร็จ ในการช่วยอำนวยทั่วไปของผู้บริหารได้ตามเป้าหมาย ร้อยละ 90

การอำนวยความเป็นธรรมเเละสร้างเสริมราชการใสสะอาด (ภารกิจสำนักตรวจราชการเเละเรื่องราวร้องทุกข์)
สตร.สป.
ร้อยละจำนวนข้อเสนอของผู้ตรวจราชการที่ได้รับการตอบสนอง
ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ทั้ง 18 เขตตรวจราชการ ได้ให้ข้อเสนอแนะ/ข้อสังเกต ตามประเด็นการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยผลการตอบสนองข้อเสนอแนะ/ข้อสังเกต ของหน่วยรับตรวจ (จังหวัด) ตามประเด็นการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในแต่ละเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง สิงหาคม 2567 ซึ่งหน่วยรับตรวจ (จังหวัด) จำนวน 76 จังหวัด พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว เฉลี่ยสะสมรวมคิดเป็น ร้อยละ 88.19 (เนื่องด้วยมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 ไตรมาสแรกจึงยังไม่มีการออกตรวจราชการ)