1. หน่วยงาน กพร.สป.
2. ชื่อโครงการ 8. การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบงานและจัดการความรู้ (ภารกิจกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร)
3. ตัวชี้วัด ร้อยละความสำเร็จของการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
4. งบประมาณ 2.1376ล้านบาท
5. PO 0.0000ล้านบาท
6. ห้วงการรายงาน รวม
7.1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ
7.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ ประชาชน
7.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาค รัฐ
7.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
7.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย การพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยน แปลง
7.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
7.7 นโยบายรัฐบาลใหม่
8. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส ไตรมาส 1

ผลการดำเนินงาน
1. สำนักงาน ก.พ.ร. ชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1. การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) น้ำหนักร้อยละ 70 และองค์ประกอบที่ 2. การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) น้ำหนักร้อยละ 30 น้ำหนักรวมร้อยละ 100 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567
2. จัดประชุมคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการใน มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อพิจารณาความเหมาะสมการกำหนดตัวชี้วัด น้ำหนัก ค่าเป้าหมาย (องค์ประกอบที่ 1) สำหรับใช้ในการประเมินผล การปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2567 เวลา 10.30 น. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยในส่วนของ มท. จัดการประชุม ณ ห้องประชุมเฟื่องนคร ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ มท. ซึ่งคณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นชอบตัวชี้วัดฯ น้ำหนัก และหลักการในการกำหนดเกณฑ์การประเมินค่าเป้าหมายตัวชี้วัด
3. สำหรับตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ (สป.มท.)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รวมทั้งสิ้น 11 ตัวชี้วัด ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 มีจำนวน 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) ร้อยละของการดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาหนี้สิน (สป. ร่วมกับ ปค.) (2) ร้อยละเฉลี่ยของจังหวัดที่สามารถขับเคลื่อนตามข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของจังหวัดแบบบูรณาการ (3) ร้อยละเฉลี่ยของงานบริการที่พัฒนาเป็น e-Service และให้บริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง (Biz Portal และ/หรือ Citizen Portal) (4) ร้อยละในการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 (5) ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไขของศูนย์ดำรงธรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (6) ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) คะแนนการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) (2) ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย (3) คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย (4) คะแนน EIT Public (5) คะแนน EIT Survey

ไตรมาส 3
1. ตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ (สป.มท.)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รวมทั้งสิ้น 11 ตัวชี้วัด ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 มีจำนวน 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) ร้อยละของการดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาหนี้สิน (สป. ร่วมกับ ปค.) (2) ร้อยละเฉลี่ยของจังหวัดที่สามารถขับเคลื่อนตามข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของจังหวัดแบบบูรณาการ (3) ร้อยละเฉลี่ยของงานบริการที่พัฒนาเป็น e-Service และให้บริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง (Biz Portal และ/หรือ Citizen Portal) (4) ร้อยละในการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 (5) ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไขของศูนย์ดำรงธรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (6) ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) คะแนนการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) (2) ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย (3) คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย (4) คะแนน EIT Public (5) คะแนน EIT Survey

2. สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งหลักเกณฑ์การปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดการประเมินผล การปฏิบัติราชการเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานให้ส่วนราชการและจังหวัดนำไปใช้ในการเสนอขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัด และเพื่อให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ นำไปใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาความเหมาะสมของการปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยรอบ 6 เดือน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ และรอบ 12 เดือน ภายในเดือนกรกฎาคม หากการดำเนินงานตามตัวชี้วัดได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น
1) สถานการณ์ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติ โรคระบาดรุนแรง โรคอุบัติใหม่ ที่ไม่ได้ มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า
2) การเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาล
3) หน่วยงานเจ้าภาพตัวชี้วัดสากลยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัด
4) ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณหรือได้รับงบประมาณล่าช้าอย่างน้อย 6 เดือน
5) คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการระดับชาติที่เกี่ยวข้องมีมติให้ปรับเป้าหมายแผนการดำเนินงาน หรือรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
3. กระทรวงมหาดไทยได้จัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1/2568 เพื่อพิจารณาข้อเสนอการปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัด ฯ รอบ 6 เดือน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ 256๘ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนของ มท. จัดการประชุม ณ ห้องประชุมดำรงธรรม ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการ มท. โดยมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ด้านบริหาร เป็นประธานการประชุมในวันดังกล่าว
4. ผลการประชุมคณะกรรมการกำกับฯ มท. เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รอบ 6 เดือน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ให้ปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ของ ปค. และ สถ. รวมจำนวน 2 ตัวชี้วัด ตามที่ กรมเสนอ สรุปได้ดังนี้
(1) ปค. ร่วมกับ สป.มท. เห็นชอบให้ปรับเกณฑ์การประเมินผล รอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน โดยให้วัดจำนวนลูกหนี้คงเหลือที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย จำนวน 18,886 ราย มาดำเนินการต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เนื่องจากดำเนินการค่อนข้างยากในการประสานเจ้าหนี้และลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยตามความสมัครใจของทั้งฝ่ายลูกหนี้และเจ้าหนี้
(2) สถ. เห็นชอบให้ปรับเกณฑ์การประเมินผล รอบ 6 เดือน และคงค่าเป้าหมายรอบ 12 เดือน เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานตามคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ ทำให้ระยะเวลา ในการดำเนินงานบางกิจกรรมไม่ตรงตามแผนที่กำหนดไว้ จึงขอปรับแผนและชื่อกิจกรรมให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ได้นำส่งรายงานการประชุมฯ ให้คณะกรรมการกำกับฯ มท. เพื่อพิจารณารับรองรายงานการประชุม พร้อมนำส่งรายละเอียดตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามมติที่ประชุมเห็นชอบเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว
5. สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการในการประชุมครั้งที่ 2/2568 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2568 ได้พิจารณาเห็นชอบการปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดตามมติคณะกรรมการกำกับฯ มท. ตามที่หน่วยงานเสนอ
6. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แจ้งให้ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รอบ 6 เดือน (1 ตุลาคม 2567 – 31 มีนาคม 2568) เพื่อให้การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการของ สป.มท. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงขอให้หน่วยงานจัดส่งข้อมูลผลการดำเนินงานตัวชี้วัดฯ ตามแบบฟอร์มการรายงานที่กำหนด ส่งให้กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สป. ภายในวันที่ 4 เมษายน 2568 เพื่อนำข้อมูลผลการดำเนินงานตัวชี้วัดรายงานในระบบรายงานผลการประเมินส่วนราชการ (e-SAR)
- เป้าหมายการดําเนินงาน (85.0000 85) - ผลการดําเนินงาน (0.0000) 85
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 0.6439 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 0.6439 ล้านบาท
9. ปัญหาและอุปสรรค