1. หน่วยงาน กพร.สป.
2. ชื่อโครงการ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบงานและจัดการความรู้ (ภารกิจกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร)
3. ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)
4. งบประมาณ 0.2330ล้านบาท
5. ห้วงการรายงาน รวม
6.1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ
6.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ ประชาชน
6.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาค รัฐ
6.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา นโยบายหลักด้านที่ 9 การพัฒนาระบบสาธารณ สุขและหลักประกันทางสังคม
6.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย การพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยน แปลง
6.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
6.7 นโยบายรัฐบาลใหม่
7. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส ผลการดำเนินงานไตรมาส ๑
1. เมื่อวันที่ 1๔ ธันวาคม ๒๕๖๖ กพร.สป. และผู้แทนหน่วยงานในสังกัด สป.มท.
ได้ร่วมรับฟังการชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางการสมัครรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗
๒. สป.มท. โดย กพร.สป. จัดการประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินการและคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.มท. ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมอัษฎางค์ ชั้น ๕ อาคารดำรงราชานุสรณ์ โดยที่ประชุมรับทราบ ๑) การมอบนโยบายการส่งเสริม
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ประจำปี ๒๕๖๗ ๒) ผลการดำเนินงาน PMQA และ ผลการพิจารณารางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๖ และ
๓) พิจารณาแผนการขับเคลื่อน PMQA และการเสนอผลงานเพื่อสมัครขอรับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗ ของ สป.มท.
๓. สป.มท. ได้มีการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จากรายงานป้อนกลับ (Feedback Report) รางวัล PMQA 4.0 และผลการตรวจประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ ๔.๐ ตามตัวชี้วัด PMQA 4.0 ประจำปี ๒๕๖๖
๔. สป.มท. กำหนดประเด็นการพัฒนาที่สำคัญตามประเด็นผลการตรวจประเมินรางวัลฯ และมอบหมายภารกิจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินการ เพื่อยกระดับค่าคะแนนการประเมินให้เพิ่มมากขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการสู่การเป็นระบบราชการ ๔.๐ ทั้งนี้ กพร.สป อยู่ระหว่างการจัดทำ (ร่าง) แผนเพิ่มประสิทธิภาพองค์การ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นระบบราชการ 4.0 ต่อไป
ปัญหาอุปสรรค - ไม่มี -
แนวทางแก้ไข -ไม่มี-

ผลการดำเนินงานไตรมาส 2
1. หน่วยงานรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ ๔.๐ (Application Report) ที่มีเนื้อหาสาระที่มีคุณภาพ ครบถ้วนตามเกณฑ์ PMQA 4.0 ภายในระยะเวลาตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด (รางวัล PMQA 4.0) โดยมีผู้แทน สป.มท. ได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการจัดทำรายงานผล
การดำเนินการพัฒนาองค์การ (Application Report)” รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ๔.๐ จัดโดย สำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่
๒๐ - ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
๒. สป.มท. ได้จัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในการยกระดับกระทรวงมหาดไทย เพื่อมุ่งสู่การเป็นระบบราชการ ๔.๐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ กิจกรรม “การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนองค์ความรู้และเทคนิคการพัฒนาผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สู่รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗ (Application Report)” เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น ๕
อาคารดำรงราชานุสรณ์ มท. เพื่อจัดทำ Application Report ของ สป.มท.
ให้มีเนื้อหาสาระที่มีคุณภาพ ครบถ้วนตามเกณฑ์ PMQA 4.0 โดย สป.มท. ได้นำส่งข้อมูล การสมัครรางวัลเลิศรัฐ สาขา PMQA 4.0 และรางวัลการบริหารราชการ
แบบมีส่วนร่วม ประเภทเปิดใช้ใกล้ชิดประชาชน ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านระบบออนไลน์ภายในระยะเวลาที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว
ปัญหาอุปสรรค - ไม่มี -
แนวทางแก้ไข - ไม่มี -

ผลการดำเนินงานไตรมาส 3
๑. สป.มท. ได้จัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในการยกระดับกระทรวงมหาดไทย เพื่อมุ่งสู่การเป็นระบบราชการ ๔.๐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ กิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนองค์ความรู้และเทคนิคการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ ๔.๐ ตามตัวชี้วัด PMQA 4.0 ของจังหวัด และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมเฟื่องนคร ชั้น ๕ อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Webex) ไปยัง ๗๖ จังหวัด
๒. จัดการประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินการและคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 1/2567
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30 – 16.30 น. เพื่อพิจารณาการเตรียมการรับการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ ณ พื้นที่ปฏิบัติงาน (Site Visit) ประจำปี 2567 รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 (PMQA 4.0) ของ สป.มท.
ปัญหาอุปสรรค -ไม่มี-
แนวทางแก้ไข -ไม่มี-

ผลการดำเนินงานไตรมาส ๔
๑. สป.มท. ได้จัดกิจกรรมการประชุม รับการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ ณ พื้นที่ปฏิบัติงาน (Site Visit) และการจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์ผลงานโดดเด่นของ สป.มท. เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมราชบพิธ อาคารดำรงราชานุสรณ์ เพื่อนำเสนอผลงานโดดเด่นของหน่วยงานในสังกัด สป.มท. ในการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ และเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลผลการดำเนินงานให้คณะผู้ตรวจประเมินรางวัลฯ และหน่วยงานอื่นได้รับรู้ รับทราบในวงกว้าง
๒. สำนักงาน ก.พ.ร. ประกาศผลการพิจารณารางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗ โดย สป.มท. ผ่านการประเมินได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประเภทรางวัล PMQA 4.0 ระดับก้าวหน้า (Advance) โดยได้ ๔๓๓.๘๑ คะแนน และได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๗ ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
๓. กพร.สป. ได้พัฒนากระบวนงานที่สำคัญร่วมกับ สำนัก/กอง/ศูนย์ ภายใน สป.มท. โดยได้จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) กระบวนงานติดตามตามภารกิจของหน่วยงานแล้วเสร็จ จำนวนทั้งสิ้น ๓๙ กระบวนงาน (ระดับที่ ๔ ส่วนที่ ๒)
๔. กพร.สป. ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน การใช้จ่ายงบประมาณโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในการยกระดับกระทรวงมหาดไทย เพื่อมุ่งสู่การเป็นระบบราชการ ๔.๐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ (ระดับที่ ๕)
ปัญหาอุปสรรค -ไม่มี-
แนวทางแก้ไข -ไม่มี-

โครงการ สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงมหาดไทย
ผลการดำเนินงาน : งบประมาณ พ.ศ.๒๕๖7 ไตรมาส 1 – ไตรมาส 2 ได้จัดประชุมคณะกรรมการฯ แล้ว จำนวน 6 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2566
ครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2566
ครั้งที่ 11/2566 เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2566
ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2567
ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567
ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2567
- ประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมการ
(อ.ค.ต.ป.) คณะต่างๆ ได้แก่ อ.ค.ต.ป. กลุ่มกระทรวง คณะที่ 3 1 ครั้ง คณะที่ 7 จำนวน 1 ครั้ง / อ.ค.ต.ป กลุ่มจังหวัด ประชุมเป็นประจำทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง
- จัดส่งรายงานความก้าวหน้าการดำเนิน งานรอบ 6 เดือน ประเด็นการตรวจสอบของ ค.ต.ป.มท. เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567
- การลงพื้นที่ตรวจสอบและประเมินผลของ ค.ต.ป.มท. ณ จังหวัดนครปฐม
เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567
ปัญหาอุปสรรค
1.ประเด็นการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องมีจำนวนมากและต่อเนื่อง (ตั้งแต่ปี 2564 - 2566) ทำให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบางแห่งเกิดความสับสนในการรายงานฯ
2. การมอบหมายให้ ค.ต.ป.มท. ร่วมสอบทาน กำกับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโครงการที่เป็นไปตามเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงการทุจริตเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ เป็นเรื่องใหม่ซึ่งไม่เคยดำเนินการมาก่อน รวมทั้งหน่วยงานผู้รับการตรวจก็ไม่เคยมีประสบการณ์จากการตรวจสอบผ่านกลไกดังกล่าว จึงไม่คุ้นเคยกับเอกสาร/แบบฟอร์มที่ต้องรายงาน ทำให้การดำเนินการล่าช้าไปบ้าง
แนวทางแก้ไข
1. ควรพิจารณาติดตามและตรวจสอบเฉพาะประเด็นที่มีความสำคัญ
2. มอบหมายหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการตรวจสอบ เช่น ตรวจสอบภายในของหน่วยงาน กองคลัง หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกันการทุจริตในระดับกระทรวง เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการสอบทาน และควรระบุขอบเขตหน้าที่ของ ค.ต.ป.มท. ในการสอบทานให้ชัดเจนมากขึ้น
ผลการดำเนินงาน : งบประมาณ พ.ศ.๒๕๖7 ไตรมาส 3 ได้จัดประชุมคณะกรรมการฯ แล้ว จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่
ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567
ครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567
และมีการประชุมร่วมกับ อ.ค.ต.ป. คณะอื่น ๆ 2 ครั้ง ได้แก่ การประชุม อ.ค.ต.ป. กลุ่มกระทรวง คณะที่ 2 ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 การประชุม อ.ค.ต.ป. กลุ่มจังหวัด ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567
ปัญหาอุปสรรค
1. ได้รับงบประมาณล่าช้าทำให้ต้องละเว้นการประชุม ค.ต.ป.มท. ในเดือนเมษายน ขาดความต่อเนื่องในการตรวจสอบและประเมินผลตามแผนงานที่กำหนดไว้
แนวทางแก้ไข
1. ปรับแผนการทำงาน แบ่งประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลมาดำเนินการในเดือนที่เหลือในปีงบประมาณ

ผลการดำเนินงาน : งบประมาณ พ.ศ.๒๕๖7 ไตรมาส 4 ได้จัดประชุมคณะกรรมการฯ แล้ว จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่
ครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567
ครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 8/2567 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2567
โดยมีการลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการตรวจสอบของ ค.ต.ป.มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567
มีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่
ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567
ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567
และมีการประชุมร่วมกับ อ.ค.ต.ป. คณะอื่น ๆ 2 ครั้ง ได้แก่
การประชุม อ.ค.ต.ป. กลุ่มจังหวัด ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567
การประชุม อ.ค.ต.ป. กลุ่มจังหวัด ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567
ปัญหาอุปสรรค
1. ได้รับงบประมาณจำนวนจำกัด จึงทำให้สามารถพิจารณาลงพื้นที่ได้เฉพาะจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น
แนวทางแก้ไข
1. ปรับแผนการลงพื้นที่ และใช้การประสานงานล่วงหน้าเพื่อจัดเตรียมข้อมูลตามประเด็นการตรวจสอบ
โครงการ : ความสําเร็จของมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ผลการดำเนินงาน

ไตรมาสที่ 1
1. เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการมีมติเห็นชอบ กรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการฯ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 และกำหนดให้ส่วนราชการระดับกรม ในสังกัด มท. จัดทำตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (องค์ประกอบที่ 1) โดยให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของ ส่วนราชการในกระทรวงมหาดไทย มี ปมท. เป็นประธานกรรมการ เพื่อพิจารณากำหนดตัวชี้วัด น้ำหนัก ค่าเป้าหมาย ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวงและส่วนราชการในสังกัดกระทรวง กำกับ ติดตาม และให้การสนับสนุนเพื่อให้การดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวงและ ส่วนราชการในสังกัดเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด
2. เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดจัดการประชุม เวลา 09.30 น. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกรมในสังกัด มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งคณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นชอบตัวชี้วัดฯ น้ำหนัก และหลักการในการกำหนดเกณฑ์การประเมินค่าเป้าหมายตัวชี้วัด

ไตรมาสที่ 2
3. สำหรับตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ของ สป.มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวมทั้งสิ้น 9 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 1 มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1. ร้อยละของครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับการขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดผ่านการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจระดับจังหวัด (กรอ.จังหวัด) และภาคีเครือข่าย 3. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไขของศูนย์ดำรงธรรม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 5. ระดับความสำเร็จของการจัดทำข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO) องค์ประกอบที่ 2 มีจำนวน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1. ร้อยละของชุดข้อมูลเปิดที่เป็นไปตามมาตรฐานในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) 2. ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย 3. คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย 4. คะแนนการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

ไตรมาสที่ 3
1. เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 สำนักงาน ก.พ.ร. ให้ส่วนราชการรายงานผล การดำเนินงานตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รอบ 6 เดือน ผ่านระบบรายงานผลการประเมินส่วนราชการ (e-SAR) เฉพาะองค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) น้ำหนักร้อยละ 70 โดย สป.มท. มีตัวชี้วัดที่ต้องรายงานในองค์ประกอบที่ 1 จำนวน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่
1.1. ร้อยละของครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับการขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัด
ความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดผ่านการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจระดับจังหวัด (กรอ.จังหวัด) และภาคีเครือข่าย
1.3 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.4 ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไขของศูนย์ดำรงธรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
1.5 ระดับความสำเร็จของการจัดทำข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO)
2. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แจ้งประเมินผลการประเมินฯ รอบการประเมิน 6 เดือน ให้ สป.มท. ซึ่งผลการดำเนินงานตัวชี้วัดเป็นไปตามค่าเป้าหมายขั้นสูงทุกตัวชี้วัด มีค่าคะแนนเท่ากับ 70 คะแนน
3. นำส่งผลการประเมินฯ ไปยัง กจ.สป. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้บริหารส่วนราชการ (ปมท.) สำหรับการประเมินรอบ 6 เดือน ตามแนวทางที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
4. สำหรับการดำเนินงานรอบ 12 เดือน กำหนดให้สามารถปรับรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ภายในเดือนกรกฎาคม 2567 ซึ่งกำหนดจัดประชุมคณะกรรมกำกับการประเมิน ผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการใน มท. วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ผลเป็นประการใดจะรายงานให้ทราบต่อไป

ไตรมาสที่ 4
2. เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 มท. จัดประชุมคณะกรรมการกำกับการประเมินผล การปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาตัวชี้วัดที่มีการขอปรับรายละเอียดตัวชี้วัดฯ รอบ 12 เดือน จำนวน 2 กรม 4 ตัวชี้วัด โดยที่ประชุมมติเห็นชอบปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดฯ จำนวน 2 ตัวชี้วัด และยืนยันค่าเป้าหมายเดิม จำนวน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
- สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 ตัวชี้วัด ยืนยันค่าเป้าหมายเดิม ตัวชี้วัดร้อยละของเครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับการขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- กรมโยธาธิการและผังเมือง จำนวน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่
(1) ร้อยละความสำเร็จของการก่อสร้างโครงการระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนที่อยู่ระหว่างดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เห็นชอบให้ปรับแผนการดำเนินงานโครงสร้างฯ และคงค่าเป้าหมายเดิม
(2) ระดับความสำเร็จของการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำชายแดนระหว่างประเทศ ให้ยืนยันค่าเป้าหมายเดิม
(3) ร้อยละความสำเร็จของการก่อสร้างโครงการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว (Joint KPIs) เห็นชอบให้ปรับลดค่าเป้าหมายเฉพาะค่าเป้าหมายขั้นต้น และคงค่าเป้าหมายมาตรฐานและขั้นสูง
3. สำหรับการรายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดฯ รอบ 12 เดือน ผ่านระบบรายงานผลการประเมินส่วนราชการ (e-SAR) ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2567 กพร.สป. ได้มีหนังสือแจ้งหน่วยงานในสังกัด สป.มท. ที่รับผิดชอบตัวชี้วัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้รายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดฯ ให้ กพร.สป. ภายในวันที่ 7 ตุลาคม 2567 เพื่อสรุปภาพรวมผลการดำเนินงานตัวชี้วัดฯ เสนอ ปมท. เพื่อเห็นชอบผลการดำเนินงานตัวชี้วัดฯ โดยนำไปรายงานในระบบของสำนักงาน ก.พ.ร. ตามระยะเวลาที่กำหนด และส่งผลการประเมินการปฏิบัติราชการฯ ให้ กจ.สป. เพื่อนำไปประกอบ การประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้บริหารส่วนราชการ (ปมท.) ต่อไป

ปัญหาอุปสรรค - ไม่มี
แนวทางแก้ไข - ไม่มี
- เป้าหมายการดําเนินงาน (5.0000 ระดับ 5) - ผลการดําเนินงาน (5.0000) ระดับ 5
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 0.2330 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 0.9000 ล้านบาท
8. ปัญหาและอุปสรรค