1. หน่วยงาน | กจ.สป. |
2. ชื่อโครงการ | การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบงานและจัดการความรู้ (ภารกิจกองการเจ้าหน้าที่) |
3. ตัวชี้วัด | ร้อยละความสำเร็จของการบริหารและพัฒนาทรัพยากร |
4. งบประมาณ | 2.7386ล้านบาท |
5. ห้วงการรายงาน | รวม |
6.1 ยุทธศาสตร์ชาติ | ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ |
6.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ | กำลังคนที่มีสมรรถนะสูง,ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ ประชาชน |
6.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 | การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาค รัฐ |
6.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา | นโยบายหลักด้านที่ 9 การพัฒนาระบบสาธารณ สุขและหลักประกันทางสังคม |
6.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย | การพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยน แปลง |
6.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) | |
6.7 นโยบายรัฐบาลใหม่ | |
7. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส | 1.โครงการ/กิจกรรม การปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงมหาดไทย
ผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4 (1 กรกฎาคม 2567 30 กันยายน 2567) สป. ได้เสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งต่อ อ.ก.พ.มท. ในการประชุม ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566 จำนวน 16 เรื่อง โดยที่ประชุม อ.ก.พ.มท. มีมติอนุมัติ ดังนี้ 1.1. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกระทรวงมหาดไทย/สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 1.1.1 การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ เป็นระดับชำนาญการพิเศษ (ระดับที่ต่ำลง 1 ระดับ เป็นการชั่วคราว) ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและกรมการพัฒนาชุมชน 1.1.2 การเกลี่ยอัตรากำลังและเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงาน เป็นตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี ระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการ ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 1.2. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมการปกครอง จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.2.1 การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นักวิชาการคอมพิวเตอร์เชี่ยวชาญ) กองการสื่อสาร ของกรมการปกครอง 1.2.2 การเกลี่ยอัตรากำลังและเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงานเป็นตำแหน่งประเภทวิชาการ ของกรมการปกครอง 1.2.3 การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานภายในและปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง ของกรมการปกครอง (1) สำนักกิจการความมั่นคงภายใน (2) สำนักงานเลขานุการกรม (3) ที่ทำการปกครองอำเภอ 1.3. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 1.3.1 แผนการกำหนดตำแหน่งเพื่อปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเป็นระดับที่สูงขึ้นของกรมการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 2569 1.3.2 การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ จากระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการ เป็นระดับชำนาญการพิเศษ (ผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์) ของกรมการพัฒนาชุมชน 1.4. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมที่ดิน จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.4.1 การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเป็นระดับที่สูงขึ้น ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ของกรมที่ดิน 1.4.2 การจัดโครงสร้างการแบ่งงานภายในและอัตรากำลังในสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาตั้งใหม่ ของกรมที่ดิน 1.4.3 การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานภายในและกรอบอัตรากำลังของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมที่ดิน 1.5. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.5.1 การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จากตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1.5.2 การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานภายในและเกลี่ยอัตรากำลัง ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (1) กองมาตรการป้องกันสาธารณภัย (2) สำนักงานเลขานุการกรม 1.5.3 การทบทวนการกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบภายใน กลุ่มตรวจสอบภายในของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1.6. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมโยธาธิการและผังเมือง จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.6.1 การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง จากตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง (1) ตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิเคราะห์วิจัยและทดสอบวัสดุ (2) ตำแหน่งผู้อำนวยการกองออกแบบก่อสร้างพลับพลาพิธีและโครงการพิเศษ (3) ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ (4) ตำแหน่งโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด 1.6.2 การปรับปรุงแผนการกำหนดตำแหน่งเพื่อปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเป็นระดับที่สูงขึ้น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2568 ของกรมโยธาธิการและผังเมือง 1.6.3 การเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงานของสำนักสนับสนุนและพัฒนาตามผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง เชิงปริมาณ : กองการเจ้าหน้าที่ สป. ได้เสนอคำขอการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งต่อ อ.ก.พ.มท. เพื่อพิจารณาอนุมัติการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งในคราวการประชุม อ.ก.พ.มท. ครั้งที่ 4/2566 จำนวน 16 เรื่อง เชิงคุณภาพ : การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและโครงสร้างอัตรากำลังของ มท. มีความเหมาะสม เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับภาระงานและสภาพแวดล้อมทางการบริหารที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น จึงมีค่าคะแนนระดับความสำเร็จ อยู่ในระดับ 5 2. โครงการ : การดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนทางวินัยข้าราชการ สป. แผนการดำเนินงาน 1. การรับเรื่องการดำเนินการทางวินัยข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยจากจังหวัดและกรม 2. นิติกรตรวจสอบข้อเท็จจริง เอกสารหลักฐาน และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เสนอความเห็น เป็นหนังสือผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเพื่อเสนอ ผู้อำนวยการกองการหน้าที่ สป. พิจารณาสั่งการ 3. การเสนอที่ประชุมคณะทำงานกลั่นกรองรายงานการดำเนินการทางวินัย เพื่อโปรดพิจารณา 4. การเสนอที่ประชุม อ.ก.พ.มท. เพื่อโปรดพิจารณา 5. การดำเนินการมติ อ.ก.พ.มท. โดยแจ้งให้จังหวัด และกรม ดำเนินการตามมติ อ.ก.พ.มท. ผลการดำเนินงาน 1. กลุ่มงานวินัยได้รับเรื่องรายงานการดำเนินการทางวินัยข้าราชการในสังกัด มท. และดำเนินการตรวจสอบสำนวนรายงานการดำเนินการทางวินัยโดยเสนอความเห็นเพื่อนำเสนอที่ประชุม อ.ก.พ.มท. พิจารณาความถูกต้องและเหมาะสม จำนวน 38 เรื่อง 2. ได้ดำเนินการจัดประชุม อ.ก.พ.มท. เพื่อพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัยข้าราชการในสังกัด มท. จำนวน 33 เรื่อง โดยที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติพร้อมทั้งแจ้งมติให้จังหวัดและกรมเจ้าสังกัด ทราบเรียบร้อยแล้ว ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : ร้อยละของการดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนทางวินัยข้าราชการ สป. ร้อยละ 87.38 หมายเหตุ : ข้อร้องเรียนทางวินัย หมายถึง เรื่องร้องเรียนทางวินัยและรายงานการดำเนินการทางวินัยที่ลงทะเบียนรับที่กลุ่มงานวินัย กจ.สป. ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 3.โครงการ : การปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลบุคลากรให้เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคลของ สป.มท. ผลการดำเนินงาน : การบันทึกข้อมูลทรัพยากรบุคคลของ สป. (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ) ในระบบทะเบียนประวัติข้าราชการ SEIS (ก.พ.7อิเล็กทรอนิกส์) และระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม (DPIS) (อาทิ การปรับปรุงข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับวุฒิการศึกษา การฝึกอบรม เงินเดือน สถานะการสมรส การเปลี่ยนชื่อ-สกุล การบันทึกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการบรรจุใหม่ คำสั่งย้าย คำสั่งโอน/รับโอน คำสั่งช่วยราชการ คำสั่งพ้นทดลองปฏิบัติราชการ คำสั่งรักษาการในตำแหน่ง คำสั่งเลื่อนเงินเดือน คำสั่งลาออกจากราชการ และประกาศข้าราชการเกษียณอายุราชการ เป็นต้น) เชิงปริมาณ : - มีการบันทึกข้อมูลบุคลากรในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาส 1 จำนวน 144 คำสั่ง 881 ราย ไตรมาส 2 จำนวน 114 คำสั่ง 582 ราย ไตรมาส 3 จำนวน 119 คำสั่ง 415 ราย ไตรมาส 4 จำนวน 92 คำสั่ง 278 ราย รวมไตรมาส 1-4 จำนวน 469 คำสั่ง 2,156 ราย เชิงคุณภาพ : - สป.มท. มีฐานข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคลในสังกัด สป.มท. ที่ถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการบริหาร และพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ - บุคลากรสามารถเข้าใช้งานในระบบสารสนเทศ ทรัพยากรบุคคลระดับกรม (DPIS) เพื่อ ตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานของตนเองได้ 4.โครงการ การประเมินบุคคล/ผลงานเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ ประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานและอาวุโส ผลการดำเนินงาน กจ.สป. ได้ดำเนินการประเมินบุคคลและผลงานเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 19 ราย เชิงปริมาณ : สามารถเลื่อนระดับข้าราชการจากระดับปฏิบัติการไปสู่ระดับชำนาญการได้จำนวน 19 ราย เชิงคุณภาพ : สามารถสร้างความก้าวหน้าให้กับข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัด กระทรวงมหาดไทยได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด 5.โครงการ การประเมินบุคคลเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 ตำแหน่ง ผลการดำเนินงาน กจ.สป. ได้ดำเนินการ ประเมินบุคคล เชิงปริมาณ : สามารถดำเนินการ ประเมินบุคคลเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 ตำแหน่ง เชิงคุณภาพ : สามารถสร้างความก้าวหน้าให้กับข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัด กระทรวงมหาดไทยได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด 6.โครงการ/กิจกรรม : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการงานออกบัตรเหรียญพิทักษ์เสรีชน และเหรียญราชการชายแดน แผนการดำเนินงาน : 1. เจ้าหน้าที่ แนะนำผู้มาติดต่อขอรับบริการทำบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.1 ผู้ยื่นคำขอทำบัตรต้องมีรายชื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาเหรียญพิทักษ์เสรีชนและหรือเหรียญราชการชายแดน และมีความประพฤติเรียบร้อย เหมาะสม 1.2 ผู้ได้รับพระราชทานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดใด ให้ยื่นคำขอมีบัตรที่ได้รับการลงนามรับรองตามระเบียบแล้วที่จังหวัด (สำนักจังหวัด) นั้น เพื่อทำการออกบัตร 1.3 ผู้ได้รับพระราชทานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอมีบัตรที่ได้รับการลงนารับรองตามระเบียบแล้ว ที่กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อทำการออกบัตร 1.4 เจ้าหน้าที่จะพิจารณาดำเนินการออกบัตรให้ต่อเมื่อยื่นหลักฐานประกอบการออกบัตรถูกต้องและครบถ้วน 2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เสนอผู้บังคับบัญชา 3. ผู้บังคับบัญชาลงนามในบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน และส่งให้ผู้ยื่นขอทำบัตร ผลการดำเนินงาน : เป็นไปตามแผนดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข : ผู้ขอทำบัตรประจำตัว ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน อาจมีรายชื่อที่ไม่ตรงกับราชกิจจานุเบกษา เนื่องจากสะกดคำผิด เจ้าหน้าที่แก้ไขด้วยการสืบสวนและหาหลักฐานที่สามารถยืนยันตัวตนในขณะนั้นได้ เช่น หลักฐานทางทะเบียนราษฎร หลักฐานคำสั่งปฏิบัติหน้าที่ หลักฐานการยืนยันตัวบุคคลของทางราชการ เป็นต้น เชิงปริมาณ : - เชิงคุณภาพ : ประชาชนผู้มาทำบัตรประจำตัว ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน มีความพึงพอใจ ในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 91.82 คิดเป็นร้อยละ 91.82 คิดเป็นระดับ ๕ ของเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด (เกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด ระดับ 1 ร้อยละ 65 ระดับ 2 ร้อยละ 70 ระดับ 3 ร้อยละ 75 ระดับ 4 ร้อยละ 80 ระดับ 5 ร้อยละ 85) 7. โครงการ/กิจกรรม : ร้อยละของผู้ขอทำบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดนได้รับการออกบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดนตามระยะเวลาที่กำหนด แผนการดำเนินงาน : 1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารของผู้ขอรับบริการทำบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน โดยตรวจสอบคำนำหน้าชื่อ ชื่อ สกุล ราชกิจจานุเบกษา พร้อมเอกสารเพิ่มเติมของ ผู้ขอรับบริการ (แล้วแต่กรณี) 2. เมื่อเจ้าหน้าที่พิจารณาตรวจสอบแล้ว หากพบว่าเอกสารครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะดำเนินการออกเลขบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน และเหรียญราชการชายแดน พร้อมลงวันที่ออกบัตร/บัตรหมดอายุ และประทับตรายางลายมือชื่อปลัดกระทรวงมหาดไทย 3. เสนอผู้มีอำนาจลงนามกำกับบนบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน และประทับตราครุฑดุนบนบัตรดังกล่าว 4. จ่ายบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดนให้แก่ผู้ขอรับบริการ ผลการดำเนินงาน : เป็นไปตามแผนดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข : ผู้ขอรับบริการทำบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดนบางอาจมีรายชื่อที่ไม่ตรงกับราชกิจจานุเบกษา เนื่องจากสะกดคำผิด เจ้าหน้าที่แก้ไขด้วยการสืบสวนและหาหลักฐานที่สามารถยืนยันตัวตนในขณะนั้นได้ เช่น หลักฐานทางทะเบียนราษฎร หลักฐานคำสั่งปฏิบัติหน้าที่ หลักฐานการยืนยันตัวบุคคลของทางราชการ เป็นต้น เพื่อดำเนินการออกบัตรประจำตัวให้แก่ผู้ขอรับบริการต่อไป เชิงปริมาณ : - เชิงคุณภาพ : ประชาชนผู้ขอทำบัตรประจำตัว ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดน ได้รับการออกบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนและเหรียญราชการชายแดนตามระยะเวลาที่กำหนด ไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 100 คิดเป็นระดับ 5 ของเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด (เกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด ระดับ 1 ร้อยละ 65 ระดับ 2 ร้อยละ 70 ระดับ 3 ร้อยละ 75 ระดับ 4 ร้อยละ 80 ระดับ 5 ร้อยละ 85) 8.โครงการ/กิจกรรม การประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการ ผลการดำเนินงาน ได้ดำเนินการจัดประชุม จำนวน 2 ครั้ง (ในไตรมาส 4 เดิมตามแผนฯ ไม่ได้กำหนดจัดประชุมในช่วงเวลาดังกล่าว) ดังนี้ 1) จัดประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการ สป. จำนวน 1 ครั้ง เพื่อพิจารณาผลการประเมินผลฯ รอบการประเมินที่ 2/2567 เพื่อเสนอปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมิน เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการ สป. เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 (ใช้งบประมาณ 350 บาท) 2) จัดประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ สป. ในราชการบริหารส่วนกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 (ใช้งบประมาณ 540 บาท) เชิงปริมาณ : ไตรมาสที่ 1 4 ดำเนินการสำเร็จเกินกว่าแผนที่กำหนด (แผนจัดประชุม 3 ครั้ง ผลการดำเนินการจัดประชุม 6 ครั้ง) คิดเป็น ร้อยละ 200 ทั้งนี้ มีผลการเบิกจ่ายในไตรมาส 4 เป็นเงิน 890 บาท (รวม 4 ไตรมาส จำนวน 4,600 บาท) (งบประมาณตามแผน 3,150 บาท) เชิงคุณภาพ : การประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน เป็นไปตามแนวทางการประเมินผลฯ ตามที่ กพ. และ สป. กำหนด |
- เป้าหมายการดําเนินงาน (80.0000 ร้อยละ 80) - ผลการดําเนินงาน (92.0300) ร้อยละ 80 | |
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 2.7386 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 2.7306 ล้านบาท | |
8. ปัญหาและอุปสรรค |