1. หน่วยงาน สบจ.สป.
2. ชื่อโครงการ โครงการขับเคลื่อนและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำแผนการบริหารงาน และการบริหารงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
3. ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำแผนการบริหารงาน และการบริหารงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (76 จังหวัด และ 18 กลุ่มจังหวัด)
4. งบประมาณ 1.8000ล้านบาท
5. ห้วงการรายงาน รวม
6.1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ
6.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ ประชาชน
6.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาค รัฐ
6.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา นโยบายหลักด้านที่ 4 การสร้างบทบาทของไทยใน เวทีโลก
6.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย การพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยน แปลง
6.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
6.7 นโยบายรัฐบาลใหม่
7. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส กิจกรรมสนับสนุนการบริหารจัดการภาครัฐ
ผลการดำเนินงาน
1. ประสานและสนับสนุนจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในการจัดทำแผนพัฒนา/แผนปฏิบัติราชการประจำปี และแผนงานโครงการที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุนจากกระทรวง/กรม
2. ประสานและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานกลางและคณะกรรมการ หรือคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงบูรณาการการจัดทำแผนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด รวมทั้ง กลั่นกรองแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2568 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดร่วมกับทีมบูรณาการกลาง (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และกระทรวงมหาดไทย) เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการประจำภาคพิจารณา และเสนอคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (ก.น.บ.) ต่อไป โดยผลการพิจารณาแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2568 ของคณะอนุกรรมการประจำภาค (6 ภาค) ซึ่งพิจารณาข้อเสนอโคร1. เข้าร่วมตรวจนิเทศและติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอยา่างยั่งยืนและโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
3. ประสานและสนับสนุนจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในการเข้าร่วมประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ อาคารรัฐสภา
4. ประสานและสนับสนุนการดำเนินการจัดทำข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO) ของ 5 จังหวัด ได้แก่ (1) จังหวังเชียงราย (จังหวัดอากาศสะอาด -PM 2.5) (2) จังหวัดขอนแก่น (จังหวัดดิจิทัล) (3) จังหวัดบุรีรัมย์ (จังหวัดขจัดหนี้-นอกระบบ) (4) จังหวัดอุบลราชธานี และ (5) จังหวัดเพชรบุรี (จังหวัดสะอาด-จัดการขยะ)
5. สนับสนุนจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในการจัดทำข้อเสนอประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัด เพื่อนำเสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ปี 2566 – 2567 (ครั้งที่ 1/2566 ณ จังหวัดหนองบัวลำภู, ครั้งที่ 1/2567 ณ จังหวัดระนอง, ครั้งที่ 2/2567 ณ จังหวัดพะเยา, ครั้งที่ 3/2567 ณ จังหวัดเพชรบุรี) โดย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอโครงการของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 74 โครงการ งบประมาณรวม 1,667,682,720 บาท
6. เข้าร่วมตรวจนิเทศและติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอยา่างยั่งยืนและโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
7. ลงพื้นที่ดำเนินโครงการถอดบทเรียนการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำแผนและการบริหารงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อรวบรวมข้อมูลและถอดบทเรียนการจดทำแผนและการบริหารงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่มีผลการดำเนินงานโดเด่น สำหรับใช้ในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งใสว่นกลาง จังหวัดและกลุ่มจังหวัดโดยลงพื้นที่ถอดบทเรียน จำนวน 4 ภาค (1) ภาคใต้ เมื่อวันที่ 4 - 5 กันยายน 2567 ณ จังหวัดตรัง (2) ภาคเหนือ เมื่อวันที่ 9 - 10 กันยายน 2567 ณ จังหวัดอุทัยธานี (3) ภาคกลาง เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 ณ จังหวัดเพชรบุรี (4) ภาคตะวันออกเฉียงเหือ เมื่อวันที่ 11 - 12 กันยายน 2567 ณ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย




- เป้าหมายการดําเนินงาน (5.0000 ระดับ 5) - ผลการดําเนินงาน (5.0000) ระดับ 5
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 1.8000 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 0.5370 ล้านบาท
8. ปัญหาและอุปสรรค