1. หน่วยงาน สนผ.สป.
2. ชื่อโครงการ การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามคู่มือการพัฒนาคนทุกช่วงวัย (จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน) ในพื้นที่ (จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
3. ตัวชี้วัด ร้อยละของครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 ที่ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
4. งบประมาณ 0.0000ล้านบาท
5. ห้วงการรายงาน รวม
6.1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากร มนุษย์,ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทาง สังคม
6.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ความยากจนข้ามรุ่นและความคุ้มครองทาง สังคม
6.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
6.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา นโยบายหลักด้านที่ 5 การพัฒนาเศรษฐกิจและ ความสามารถในการแข่งขันของไทย
6.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย การลดความเหลี่อมล้ำทางสังคม สร้างความเข้ม แข็งของชุมชน และพัฒนาเศรษฐกิจฐากราก
6.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุก ที่,ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และ ยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน,บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่ม บทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน
6.7 นโยบายรัฐบาลใหม่
7. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส 1. สป.มท. ได้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อกำหนดทิศทาง แนวทาง ในการดำเนินงานจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินการตามตัวชี้วัด โดยกำหนดให้ตัวชี้วัดการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) กำหนดเป็นตัวชี้วัดตามนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงมหาดไทย (Agenda KPI) ที่กำหนดให้มีการประเมินทุกจังหวัด ทั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยจะประเมินผลตัวชี้วัดนี้จากผลการดำเนินงานของจังหวัดเป็นภาพรวมของประเทศ
2. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 มท. โดย พช. ได้มีหนังสือแจ้งการซักซ้อมการดำเนินงานขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไปยังจังหวัดทุกจังหวัดเรียบร้อยแล้ว
3. เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 67 สป.มท. ได้ชี้แจงหลักเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินการตามตัวชี้วัดร้อยละของครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับการขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการประชุมชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
4. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการตรวจสอบสภาพปัญหาครัวเรือน ตามเงื่อนไขข้อยกเว้นที่กำหนด เพื่อให้ได้จำนวนครัวเรือนที่ต้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งผลจากการตรวจสอบพบว่า มีกลุ่มเป้าหมายครัวเรือนยากจนตามระบบ TPMAP ปี 2566 (ที่ปรับลดตามข้อยกเว้นแล้ว) จำนวน 173,318 ครัวเรือน (จากเดิม 197,298 ครัวเรือน)
5. มท. ดำเนินการมอบนโยบายและข้อสั่งการในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการประชุมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของ มท.
6. มีการสื่อสารและสร้างการรับรู้ให้กับสังคมเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านหน้าเพจ “กระทรวงมหาดไทย PR” https://www.facebook.com/prmoithailand?mibextid=LQQJ4d
7. สป.มท. ได้ประสาน พช. เพื่อขอข้อมูลครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 (ที่ปรับลดตามข้อยกเว้นแล้ว) เพื่อใช้ในการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (รอบ 12 เดือน) ซึ่ง พช. ได้ประสานงานกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพื่อดำเนินการจัดทำข้อมูลดังกล่าว ซึ่งมีการปรับจำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 โดยปรับลดตามข้อยกเว้น จาก 197,298 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 9 มีนาคม 2566) เป็น 172,467 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2567) โดยมีการปรับลดตามเงื่อนไข จำนวนครัวเรือน 24,831 ครัวเรือน จำแนกได้ดังนี้ (1) ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ตัวชี้วัดเด็กแรกเกิดมีน้ำหนัก 2,500 กรัม จำนวน 133 ครัวเรือน (2) ครัวเรือนที่มีสมาชิกครัวเรือน
ตกเกณฑ์ในเรื่องของการมีอาชีพ และรายได้ แต่มีความพิการ ชราภาพ ไม่สามารถพัฒนาได้ จำนวน 21,046 ครัวเรือน (3) ครัวเรือนที่ไม่มีอยู่จริงในพื้นที่ เนื่องจากย้ายออกจากหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 1,953 ครัวเรือน และ (4) ครัวเรือนที่ไม่มีสมาชิกอยู่ เนื่องจากสมาชิกทั้งหมดเสียชีวิต จำนวน 1,699 ครัวเรือน
8. ผลการประเมินผลตัวชี้วัด (รอบ 12 เดือน) โดยวัดจากผลการดำเนินงานของจังหวัดในภาพรวมของประเทศ โดยพิจารณาความสำเร็จของการดำเนินงานการขับเคลื่อนงานขจัดความยากจนของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ จากจำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 เทียบกับจำนวนครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 ที่ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2567 (เฉพาะ 17 ตัวชี้วัดที่นำมาใช้ในการคำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ (MPI)) พบว่า มีครัวเรือนเป้าหมายตามระบบ TPMAP ปี 2566 ที่ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2567 จำนวน 140,256 ครัวเรือน (จากครัวเรือนเป้าหมาย ปี 66 จำนวน 197,298 ครัวเรือน) คิดเป็นร้อยละ 71.09
- เป้าหมายการดําเนินงาน (25.0000 ร้อยละ 25 (48,060 ครัวเรือน)) - ผลการดําเนินงาน (71.0900) ร้อยละ 25 (48,060 ครัวเรือน)
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 0.0000 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 0.0000 ล้านบาท
8. ปัญหาและอุปสรรค