1. หน่วยงาน กพร.สป.
2. ชื่อโครงการ กิจกรรมบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบงานและจัดการความรู้ (ระดับความสำเร็จของการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงมหาดไทย)
3. ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงมหาดไทย
4. งบประมาณ 0.0000ล้านบาท
5. ห้วงการรายงาน ไตรมาสที่ 4 (1 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66)
6.1 ยุทธศาสตร์ชาติ
6.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
6.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
6.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
6.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย
6.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
7. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส ผลการดำเนินงานไตรมาส 1
1. มีการประชุม ค.ต.ป.มท. ประจำเดือนตุลาคม 2563 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุมราชสีห์ ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ค.ต.ป.มท. และผู้แทนกรมในสังกัด มท. ประชุมเพื่อ (1) รับทราบผลการติดตามผลการดำเ
นินงานตามรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (2) รับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวง มหาดไทย และพิจารณาตรวจสอบและติดตามความก้าวหน้าในการจัดทำเอกสารรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการฯ ฉบับสมบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (3) พิจารณาประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
2. การประชุม ค.ต.ป.มท. ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ ชั้น 4 อาคารดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย ผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ ค.ต.ป.มท. ประชุมเพื่อ (1) รับทราบการเสนอประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (2) พิจารณาการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการฯ ฉบับสมบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อนำเข้าระบบสารสนเทศการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ และนำส่งสำนักงาน ก.พ.ร. (3) พิจารณาผลการติดตามผลการดำเนินงานตามรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และประเด็น Covid - 19
3. การประชุม ค.ต.ป.มท. ประจำเดือนธันวาคม 2563 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวง มหาดไทย ชั้น 4 อาคารดำรงราชานุภาพ ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ค.ต.ป.มท. เพื่อ (1) รับทราบรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (2) รับทราบผลการประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเกี่ยวกับการกำหนดแนวทาง วิธีการ การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ครั้งที่ 2/2563 และ (3) พิจารณาประเด็นและแผนปฏิบัติการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

ผลการดำเนินงานไตรมาส 2
1. การประชุม ค.ต.ป.มท. ประจำเดือนมกราคม 2564 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวง มหาดไทย ชั้น 4 อาคารดำรงราชานุภาพ ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ค.ต.ป.มท. เพื่อ
(1) รับทราบประเด็นและแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีการกำหนดประเด็นการตรวจสอบหลัก จำนวน 8 ประเด็น โดยมีประเด็นการตรวจสอบและประเมินที่เกี่ยวข้องกับ มท. จำนวน 3 ประเด็น ได้แก่
1) การส่งมอบงานบริการสาธารณะทางสังคมอย่างทั่วถึงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม (เจ้าภาพ : อ.ค.ต.ป. กลุ่มกระทรวงคณะที่ 2 นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ) มีขอบเขตของการตรวจสอบ : ติดาม ตรวจสอบการมีหลักประกันของทุกกลุ่ม/วัย ทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา รายได้ และความเป็นอยู่ เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย
2) ระบบการบริหารข้อมูลด้านการบริหารจัดการภาครัฐ : การจัดธรรมา ภิบาลข้อมูล (Data Governance) (เจ้าภาพ : อ.ค.ต.ป. เฉพาะกิจคณะที่ 1 นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล) ขอบเขตของการตรวจสอบ : ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ตาม พ.ร.บ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ในส่วนที่ต้องทำหลักเกณฑ์ และมาตรฐานกลางของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานของรัฐ เพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐอย่างมั่นคง ปลอดภัย ถูกต้อง ครบถ้วนเป็นปัจจุบัน รักษาความเป็นส่วนบุคคล
3) การพัฒนาเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจให้เป็นเมืองที่น่าอยู่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (เจ้าภาพ : อ.ค.ต.ป.กลุ่มจังหวัด ศาสตราจารย์กิตติคุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ) ขอบเขตของการตรวจสอบ : ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลในการดำเนินการของส่วนราชการเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทพื้นที่ศูนย์กลางความเจริญตามความเหมาะสมของพื้นที่ของแต่ละเมือง ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินของศูนย์เศรษฐกิจ แหล่งที่อยู่อาศัยและพื้นที่เฉพาะในเมือง การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่เพื่อให้เป็นระบบสัญจรหลัก รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม สื่อสาร และดิจิทัลที่ทันสมัย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมให้สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและส่งเสริมศักยภาพของประชาชนอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงจัดระบบและพื้นที่สีเขียวในเมืองให้เพียงพอต่อจำนวนประชากร มุ่งเน้นประสิทธิภาพการใช้พลังงานและสนับสนุนพลังงานสะอาดที่มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
(2) พิจารณาความคืบหน้าการจัดทำรายงานประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลประจำ มท. (ค.ต.ป.มท.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยที่ประชุมเห็นชอบมอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ ดำเนินการ ในแต่ละประเด็นดังนี้
1) การส่งมอบงานบริการสาธารณะทางสังคมอย่างทั่วถึงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม : ให้ทุกกรมในสังกัด มท. รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยระบุแผนงาน/โครงการที่มีการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ให้ชัดเจน โครงการที่มีวงเงินงบประมาณสูงกว่า 500 ลบ. รายงานความเสี่ยงต่อการทุจริต จัดกลุ่มแผนงาน/โครงการตามกลุ่มเป้าหมายผู้เปราะบาง ประสาน ปค. เพื่อขอข้อมูลในการจัดบริการสาธารณะให้กลุ่มเป้าหมายผู้เปราะบาง กรณีไม่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน โดยมอบหมายให้นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ และนายคณิต เอี่ยมระหงษ์ เป็นผู้กำกับ
2) ระบบการบริหารข้อมูลด้านการบริหารจัดการภาครัฐ : การจัดธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ประเด็นย่อย การบริหารจัดการข้อมูลร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชนของ ศดธ. : ให้แยกแยะให้ชัดว่ามีแยกประเภทเรื่องหรือไม่ การพัฒนาฐานข้อมูลของ ศดธ. สามารถตั้งทีมเพื่ออกแบบการดำเนินการได้อย่างไร มีการเก็บเอกสารเป็นแบบ scan หรือไม่ ประสานงานกับฝ่ายเลขานุการ อ.ค.ต.ป. เพื่อขอทราบประเด็นการตรวจสอบที่ชัดเจนว่าเน้นโครงการ กระบวนการทำงาน การบริหารจัดการภารกิจ หรือเฉพาะการจัดการข้อมูล โดยมอบหมายให้นายวิเชียร วุฒิวิญญู เป็นผู้กำกับ
3) การพัฒนาเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจให้เป็นเมืองที่น่าอยู่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเด็นย่อย จัดทำแผนแม่บทพื้นที่ศูนย์กลางความเจริญตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ละเมือง : ให้ฝ่ายเลขาฯ หาคำจำกัดความว่า "เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ" คืออะไร ให้ตรวจสอบขอบเขตงานที่ มท. เกี่ยวข้องว่ารับผิดชอบแค่ไหน รวมทั้งตรวจสอบว่าประเด็นหลักเรื่องการพัฒนาเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ มีกี่ประเด็น เพื่อเกิดความชัดเจน สอดคล้องกับ Value Chain ที่ อ.ค.ต.ป. กลุ่มจังหวัดกำหนด โดยมอบให้นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี เป็นผู้กำกับ
2. การประชุม ค.ต.ป.มท. ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวง มหาดไทย ชั้น 4 อาคารดำรงราชานุภาพ ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ค.ต.ป.มท. เพื่อ
(1) รับทราบผลการประชุม อ.ค.ต.ป. เกี่ยวกับการกำหนดแนวทาง วิธีการ การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ โดยปรับวิธีการทำงาน กำหนดหลักเกณฑ์ การพัฒนาระบบสารสนเทศ รวมทั้งพัฒนาและขยายผล
(2) รับทราบการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานประเด็นการส่งมอบงานบริการสาธารณะทางสังคมอย่างทั่วถึงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ของ อ.ค.ต.ป. กลุ่มกระทรวง คณะที่ 2 โดยแจ้งให้ ค.ต.ป.มท. รายงานข้อมูลความก้าวหน้าการดำเนินงานของกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว ตามแบบรายงานฯ ภายในวันที่ 10 มีนาคม 2564
(3) รับทราบการแจ้งรหัสการการเข้าถึงข้อมูลของระบบการติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) โดยแจ้งรหัสการเข้าสู่ระบบ eMENSCR เพื่อนำข้อมูลในระบบไปใช้ประโยชน์ประกอบการรายงานตามความสมควร
4) พิจารณาความคืบหน้าการจัดทำรายงานประเด็นการตรวจสอบ ค.ต.ป.มท. ประจำปี 2564 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบมอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ ดำเนินการ ในแต่ละประเด็นดังนี้
4.1) การส่งมอบงานบริการสาธารณะทางสังคมอย่างทั่วถึงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม : ประเด็นย่อย การสร้างหลักประกันรายได้และสนับสนุนการเสริมสร้างสวัสดิการทางสังคมให้แก่กลุ่มเปราะปรางในท้องถิ่น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มด้อยโอกาสกับกลุ่มเปราะบาง ได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันทางสังคมเพิ่มมากขึ้น โดยให้ กพร.สป. รายงานข้อมูลไปยัง อ.ค.ต.ป. คณะที่ 2 ต่อไป ประสาน ส่วนราชการให้ระบุเหตุผลที่เป็นข้อจำกัดของการดำเนินงานนอกเหนือจากโรคโควิด-19 และให้สรุปผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล ค.ต.ป.มท. ในลักษณะการประเมินผลระดับยุทธศาสตร์
4.2) ระบบการบริหารข้อมูลด้านการบริหารจัดการภาครัฐ : การจัดธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ประเด็นย่อย การบริหารจัดการข้อมูลร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชนของ ศดธ. : ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก เป็นข้อมูจาก ศดธ.มท. และ ศสส.สป. ได้แก่ 2.1) ภาพรวมของระบบฐานข้อมูลเรื่องราวร้องทุกข์ 2.2) กลไกการบริหารจัดการ 2.3) การบริหารข้อมูลของ ศดธ. 2.4) การเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนและบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และเปิดเผยข้อมูล 2.5) ปัญหาอุปสรรค
4.3) การพัฒนาเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจให้เป็นเมืองที่น่าอยู่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเด็นย่อย จัดทำแผนแม่บทพื้นที่ศูนย์กลางความเจริญตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ละเมือง : 3.1) รับทราบและให้ฝ่ายเลขาฯ ศึกษาเรื่อง "เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ" เช่น ขอนแก่น (ในปัจจุบันเป็น Smart City) และมีความโดดเด่นเรื่องการเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคม/โครงสร้างพื้นฐาน ว่าก่อเกิดประโยชน์หรือมีผลกระทบต่อจังหวัดรอบข้างมากน้อยเพียงใด 3.2) กำหนดการลงพื้นที่ของ ค.ต.ป.มท. ณ. จังหวัดขอนแก่นและนนทบุรีในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2564 โดยประธานฯ จะกำหนดวันลงพื้นที่ต่อไป
3. การประชุม ค.ต.ป.มท. ประจำเดือนมีนาคม 2564 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวง มหาดไทย ชั้น 4 อาคารดำรงราชานุภาพ ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ค.ต.ป.มท. เพื่อ
(1) รับทราบผลการประชุมเพื่อติดตาม สอบทานข้อมูลการดำเนินงานของ ค.ต.ป.มท. เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุม สตร.สป. ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุภาพ
(2) พิจารณาความคืบหน้าการจัดทำรายงานประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลของ ค.ต.ป.มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
(3) พิจารณาแผนการขับเคลื่อน/แผนการตรวจสอบของ ค.ต.ป.มท. ในห้วงต่อไป
(4) ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกำหนดลงพื้นที่ ณ จังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี ในวันที่ 22 เมษายน 2564 เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานและรับฟังความคิดเห็น/ปัญหาอุปสรรคจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้ฝ่ายเลขาฯ ประสานขอข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้จัดประชุม ค.ต.ป.มท. ประจำเดือนเมษายน 2564 ณ ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี

ผลการดำเนินงานไตรมาส 3
1. การประชุม ค.ต.ป.มท. เดือนเมษายน 2564 ได้กำหนดลงพื้นที่เพื่อตรวจติดตามและประชุม ค.ต.ป. มท. ประจำเดือน ในวันที่ 22 เมษายน 2564 ณ จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี ในประเด็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การส่งมอบงานบริการสาธารณะทางสังคมอย่างทั่วถึงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม : ประเด็นย่อย การสร้างหลักประกันรายได้และสนับสนุนการเสริมสร้างสวัสดิการทางสังคมให้แก่กลุ่มเปราะปรางในท้องถิ่น 2) ระบบการบริหารข้อมูลด้านการบริหารจัดการภาครัฐ : การจัดธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ประเด็นย่อย การบริหารจัดการข้อมูลร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชนของ ศดธ. 3) การพัฒนาเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจให้เป็นเมืมองที่น่าอยู่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเด็นย่อย จัดทำแผนแม่บทพื้นที่ศูนย์กลางความเจริญตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ละเมือง
ซึ่งได้มีการยกเลิกการลงพื้นที่และประชุมประจำเดือนของ ค.ต.ป.มท. เนื่องจาก เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID -19) ระลอกใหม่ ที่มีความรุนแรงและส่งผลต่อการขับเคลื่อนงานของ ค.ต.ป.มท.
2. การประชุม ค.ต.ป.มท. เดือนพฤษภาคม 2564 ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ผ่านระบบสารสนเทศ ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด ชั้น 8 อาคารดำรงราชานุสรณ์ มีมติดังนี้
2.1) กำหนดให้มีการตรวจสอบและประเมินผลในพื้นที่เป้าหมายตามประเด็นการตรวจสอบฯ ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล ของ มท. (VCS) ร่วมกับส่วนราชการ 7 จังหวัด ประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น เชียงใหม่ และภูเก็ต เพื่อรับทราบการดำเนินงานและรับฟังความคิดเห็น/ปัญหาอุปสรรคจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกำหนดให้จัดประชุมวันที่ 16 มิถุนายน 2564 ต่อไป
2.2) เห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการ ค.ต.ป.มท. ประสานขอข้อมูลและผลการดำเนินงานตามประเด็นการตรวจสอบฯ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7 จังหวัด เพื่อซักซ้อมความเข้าใจและเตรียมการก่อนการประชุม
3. การประชุม ค.ต.ป.มท. เดือนมิถุนายน 2564 ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 ณ ห้องประชุมวิสุทธิกษัตริย์ ชั้น 3 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป. ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกลของ มท. (VCS) ซึ่งเป็นการประชุมจัดทำข้อมูลประกอบการตรวจสอบและประเมินผลในพื้นที่เป้าหมายและการประชุมประจำเดือนของ ค.ต.ป.มท. ด้วย โดย กำหนดให้เวลา 09.00 -12.00 น. เป็นการประชุมร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ 7 จังหวัด เพื่อรับทราบข้อมูลติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน และเวลา 13.00 - 16.30 น. ประชุมประจำเดือนของ ค.ต.ป.มท. ครั้งที่ 5/2564 เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และจัดทำรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ฉบับสมบูรณ์ในเดือนกรกฎาคม 2564 ต่อไป

ผลการดำเนินงานไตรมาส 4
1. การประชุม ค.ต.ป.มท. เดือนกรกฎาคม 2564 ครั้งที่ 6/2564 โดยที่ประชุมได้พิจารณา (ร่าง) รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการของ ค.ต.ป.มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ฉบับสมบูรณ์) ใน 3 ประเด็น ได้แก่ (1) การส่งมอบงานบริการสาธารณะทางสังคมอย่างทั่วถึงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม : ประเด็นย่อย การสร้างหลักประกันรายได้และสนับสนุนการเสริมสร้างสวัสดิการทางสังคมให้แก่กลุ่มเปราะปรางในท้องถิ่น (2) ระบบการบริหารข้อมูลด้านการบริหารจัดการภาครัฐ : การจัดธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ประเด็นย่อย การบริหารจัดการข้อมูลร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชนของ ศดธ. (3) การพัฒนาเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจให้เป็นเมืองที่น่าอยู่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเด็นย่อยจัดทำแผนแม่บทพื้นที่ศูนย์กลางความเจริญตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ละเมือง
โดยมีขอบเขตการดำเนินงานตามห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ซึ่ง อ.ค.ต.ป. แต่ละคณะได้กำหนดไว้ และมีกรอบในการตรวจสอบและประเมินผล ตามคู่มือแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้แก่
(๑) การประเมินความเสี่ยง (Risk management)
(๒) การประเมินผลสัมฤทธิ์ตามหลัก Good Governance
(๓) หลักวงจรคุณภาพ (PDCA cycle)
2. การประชุม ค.ต.ป.มท. เดือนสิงหาคม 2564 ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom) โดยสื่อสารจากห้องประชุม สบจ. ชั้น ๘ โดยที่ประชุมได้รับทราบผลการจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการของ ค.ต.ป.มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ฉบับสมบูรณ์) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ.ร. และรับทราบผลการประชุม อ.ค.ต.ป. กำหนดแนวทาง วิธีการ การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการที่ได้กำหนดแนวทางและประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมถึงการรายงานการติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานตามข้อเสนอแนะของ ค.ต.ป.มท. ในห้วงที่ผ่านมา
3. การประชุม ค.ต.ป.มท. เดือนกันยายน 2564 ครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 เวลา 09.00 -14.30 น. ณ ห้องประชุม กถ. ชั้น 8 มท. ซึ่งเป็นการประชุม ครั้งแรกของ ค.ต.ป.มท. ชุดใหม่ตามคำสั่งที่ 2616/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยเป็นการแนะนำคณะกรรมการฯ และรายงานการดำเนินการที่ผ่านมาของ ค.ต.ป.มท. รวมทั้งการมอบนโยบายของประธาน ค.ต.ป.มท. และการกำหนดร่างกรอบแนวทางการดำเนินงานของ ค.ต.ป.มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
- เป้าหมายการดําเนินงาน (5.0000 ระดับ) - ผลการดําเนินงาน (5.0000) ระดับ
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 0.0000 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 0.0000 ล้านบาท
8. ปัญหาและอุปสรรค