1. หน่วยงาน กพร.สป.
2. ชื่อโครงการ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลระบบงานและจัดการความรู้ (ภารกิจกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร)
3. ตัวชี้วัด ร้อยละความสำเร็จของมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
4. งบประมาณ 0.0000ล้านบาท
5. ห้วงการรายงาน ไตรมาสที่ 3 (1 เม.ย. 66 - 31 มิ.ย. 66)
6.1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ
6.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ ประชาชน
6.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาค รัฐ
6.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา นโยบายหลักด้านที่ 11 การปฏิรูปการบริหาร จัดการภาครัฐ,นโยบายเร่งด่วนเรื่องที่ 10 การพัฒนาระบบการ ให้บริการประชาชน
6.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย การพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยน แปลง
6.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
7. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส 1. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ชี้แจงกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565 มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) น้ำหนักร้อยละ 70 (จำนวน 3 - 5 ตัวชี้วัด) 2) การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) น้ำหนักร้อยละ 30 (จำนวน 2 ตัวชี้วัด) และกำหนดให้มีกลไกการประเมินส่วนราชการ 2 ระดับ ได้แก่ 1) คณะทำงานเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ มีนายวรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธานคณะทำงาน และ 2) คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ โดยเน้นบทบาทกระทรวงเพื่อกำหนดตัวชี้วัดระดับกระทรวงและถ่ายทอดลงสู่ระดับกรม รวมทั้งติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามคำสั่ง ที่ 1992/2564 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการใน มท. ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งแต่งตั้งโดย รมว.มท. มี ปมท. เป็นประธานกรรมการ รอง ปมท. ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO) เป็นรองประธาน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาระบบบริหารของ มท. เป็นกรรมการและเลขานุการ

2. ปมท. เห็นชอบให้จัดการประชุมคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการใน มท. เพื่อพิจารณาความเหมาะสมตัวชี้วัด น้ำหนัก ค่าน้ำหนัก ค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของกรม ในสังกัด มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (เฉพาะในองค์ประกอบที่ 1) เมื่อวันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมดำรงธรรม ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการ มท. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ ZOOM) โดยมอบหมาย รอง ปมท. (บ) เป็นประธานการประชุมฯ มีกรรมการและผู้แทนหน่วยงาน ประกอบด้วย ประธาน ค.ต.ป.มท. ผู้แทนกรมในสังกัด มท. ทุกกรม ผู้แทน กยป.มท. ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร. ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานในสังกัด สป.มท. ที่รับผิดชอบตัวชี้วัด โดย สป.มท. เสนอตัวชี้วัดจำนวน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่
1) ร้อยละครัวเรือนยากจนเป้าหมายในระบบ TPMAP ที่ได้รับการสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ “ศจพ.”
2) ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดผ่านการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจระดับจังหวัด (กรอ.จังหวัด) และภาคีเครือข่าย
3) ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4) ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไขของศูนย์ดำรงธรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
โดยคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบร่วมกันกับตัวชี้วัดที่กรมในสังกัด มท. เสนอทั้งหมด และหลักการในการกำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เกณฑ์การประเมินผลเรียบร้อยแล้ว
3. สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดให้ มท. รวบรวมรายละเอียดตัวชี้วัดของทุกกรมในสังกัด มท. ส่งไปยังสำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 12 ตุลาคม 2565 ทั้งนี้ มท. นำเรียน ปมท. เห็นชอบและนำส่งไปยังสำนักงาน ก.พ.ร. ตามระยะเวลาที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว

4. สำหรับองค์ประกอบที่ 2 การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) น้ำหนักร้อยละ 30 (จำนวน 2 ตัวชี้วัด) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สป.มท. ถูกกำหนดให้ประเมินเป็นตัวชี้วัดบังคับ ดังนี้
2.1 ประเด็นการพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล คือ พัฒนาระบบข้อมูลให้เป็นดิจิทัล (Digitize Data) ทั้งข้อมูลที่ใช้ภายในหน่วยงาน และข้อมูลที่จะเผยแพร่สู่หน่วยงานภายนอก/สาธารณะเพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูล ภาครัฐ (Open Data)
2.2 การประเมินสถานะของหน่วยงานในการ เป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) (บังคับทุกส่วนราชการ)
5. สำนักงาน ก.พ.ร. อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดภาพรวมตัวชี้วัดฯ ของทุกกรมในสังกัด มท. ที่ได้จัดประชุมคณะกรรมฯ มท. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 และนำเสนอต่อคณะทำงานเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ มีนายวรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธาน พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำส่งให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายต่อไป

ผลการดำเนินงานไตมาส 2
1. สำนักงาน ก.พ.ร. ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic KPIs) ของกระทรวง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านการพิจารณาจาก อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการฯ ในการประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 และครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 มีมติเห็นชอบกับการขอเปลี่ยนแปลงเป้าหมายตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญฯ และการทบทวนตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 – 2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) จึงขอส่งตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญที่กำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับกระทรวงเพื่อให้ รมว.มท. และประธานคณะกรรมการกำกับการประเมินผลปฏิบัติราชการของส่วนราชการ (ปมท. ประธาน) ใช้ในการติดตามและรายงานการพัฒนาระบบราชการในภาพรวม และให้ส่วนราชการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการรายงานผลตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. จะแจ้งรายละเอียดให้ทราบต่อไป (เอกสาร ๖) ทั้งนี้ ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญฯ ของ มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จากจำนวน 9 ตัวชี้วัด จะคงเหลือจำนวน 4 ตัวชี้วัด เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับแผนแม่บท ที่มีการยกเลิกตัวชี้วัดบางตัวออก และตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญดังกล่าวได้ถ่ายทอดไปเป็นตัวชี้วัดระดับกรมด้วยแล้ว พร้อมนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แจ้งสรุปผลรายงานการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของ มท. จำนวน 10 ตัวชี้วัดหลัก โดยมีผลคะแนน 92.24 คะแนน ในส่วน สป.มท. สำหรับตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาและการแก้ไขในระดับพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้ส่งข้อมูลประกอบ การดำเนินงานตามตัวชี้วัดฯ ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งขอยืนยันผลการประเมินตัวชี้วัดดังกล่าวมาด้วยแล้ว ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ส่งผลการประเมินส่วนราชการฯ เป็นรายกรม และรายจังหวัด เพื่อรับทราบผลการประเมินโดยตรงด้วยแล้ว
2. สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งแนวทางการรายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดตามเป้าหมายรอบ 6 เดือน ผ่านระบบการรายงานผลการประเมินส่วนราชการ (e-SAR) และผลการประเมินตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการไปประกอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้บริหารส่วนราชการ (ปมท./อธิบดี) โดยกำหนดแนวทางการดำเนินการดังนี้
2.1 ในกรณีที่ส่วนราชการพบปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้และส่งผลกระทบกับการดำเนินงานตัวชี้วัดตามเป้าหมายรอบ 6 เดือน และมีความประสงค์ขอปรับเปลี่ยนเป้าหมายรอบ 6 เดือน ขอให้เสนอคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการพิจารณาเหตุผลและความเหมาะสม โดยแจ้งผลการพิจารณาให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2566 โดย มท. แจ้งส่วนราชการระดับกรมในสังกัด มท. และหน่วยงานใน สป.มท. ที่รับผิดชอบตัวชี้วัดฯ หากมีความประสงค์ขอปรับเเปลี่ยนเป้าหมายรอบ 6 เดือน ขอให้แจ้ง มท. เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งไม่มีหน่วยงานใดประสงค์ขอปรับเเปลี่ยนค่าเป้าหมายรอบ 6 เดือน
2.2 ส่วนราชการสามารถรายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดตามเป้าหมายรอบ 6 เดือน โดยระบุสรุปผลการดำเนินงานและเอกสารหลักฐาน (ถ้ามี) ผ่านระบบการรายงานผลฯ (e-SAR) ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2566 ทั้งนี้ เมื่อรายงานผลการดำเนินงานครบทุกตัวชี้วัดแล้ว สามารถดาวน์โหลดรายงานจากระบบเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้บริหารส่วนราชการได้ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ หากไม่สามารถรายงานผลได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด ขอให้ประสานแจ้งเหตุผล ความจำเป็น พร้อมทั้งระยะเวลาที่ส่วนราชการสามารถรายงานได้ไปยังสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อทราบทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ me.opdc@opdc.go.th ภายในวันที่ 10 เมษายน 2566 โดย มท. แจ้งให้ส่วนราชการระดับกรมในสังกัด มท. ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว และเมื่อรายงานผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนแล้ว ขอให้ส่งผลการดำเนินงานให้ มท. เพื่อสรุปเสนอ ปมท. ทราบและขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป
- เป้าหมายการดําเนินงาน (0.0000 ร้อยละ) - ผลการดําเนินงาน (0.0000) ร้อยละ
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 0.0000 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 0.0000 ล้านบาท
8. ปัญหาและอุปสรรค ไม่มี