1. หน่วยงาน | กพร.สป. |
2. ชื่อโครงการ | 8. การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบงานและจัดการความรู้ (ภารกิจกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร) |
3. ตัวชี้วัด | ร้อยละความสำเร็จของการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 |
4. งบประมาณ | 2.1376ล้านบาท |
5. PO | 0.0000ล้านบาท |
6. ห้วงการรายงาน | ไตรมาสที่ 2 (1 ม.ค. 66 - 31 มี.ค. 66) |
7.1 ยุทธศาสตร์ชาติ | ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ |
7.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ | ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ ประชาชน |
7.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 | การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาค รัฐ |
7.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา | |
7.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย | การพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยน แปลง |
7.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) | |
7.7 นโยบายรัฐบาลใหม่ | |
8. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส | 1. ตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ (สป.มท.)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รวมทั้งสิ้น 11 ตัวชี้วัด ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 มีจำนวน 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) ร้อยละของการดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาหนี้สิน (สป. ร่วมกับ ปค.) (2) ร้อยละเฉลี่ยของจังหวัดที่สามารถขับเคลื่อนตามข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของจังหวัดแบบบูรณาการ (3) ร้อยละเฉลี่ยของงานบริการที่พัฒนาเป็น e-Service และให้บริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง (Biz Portal และ/หรือ Citizen Portal) (4) ร้อยละในการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 (5) ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไขของศูนย์ดำรงธรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (6) ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง องค์ประกอบที่ 2 มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) คะแนนการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) (2) ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย (3) คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย (4) คะแนน EIT Public (5) คะแนน EIT Survey 2. สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งหลักเกณฑ์การปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดการประเมินผล การปฏิบัติราชการเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานให้ส่วนราชการและจังหวัดนำไปใช้ในการเสนอขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัด และเพื่อให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ นำไปใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาความเหมาะสมของการปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยรอบ 6 เดือน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ และรอบ 12 เดือน ภายในเดือนกรกฎาคม หากการดำเนินงานตามตัวชี้วัดได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น 1) สถานการณ์ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติ โรคระบาดรุนแรง โรคอุบัติใหม่ ที่ไม่ได้ มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า 2) การเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาล 3) หน่วยงานเจ้าภาพตัวชี้วัดสากลยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัด 4) ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณหรือได้รับงบประมาณล่าช้าอย่างน้อย 6 เดือน 5) คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการระดับชาติที่เกี่ยวข้องมีมติให้ปรับเป้าหมายแผนการดำเนินงาน หรือรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 3. กระทรวงมหาดไทยได้จัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1/2568 เพื่อพิจารณาข้อเสนอการปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัด ฯ รอบ 6 เดือน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ 256๘ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนของ มท. จัดการประชุม ณ ห้องประชุมดำรงธรรม ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการ มท. โดยมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ด้านบริหาร เป็นประธานการประชุมในวันดังกล่าว 4. ผลการประชุมคณะกรรมการกำกับฯ มท. เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รอบ 6 เดือน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ให้ปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ของ ปค. และ สถ. รวมจำนวน 2 ตัวชี้วัด ตามที่ กรมเสนอ สรุปได้ดังนี้ (1) ปค. ร่วมกับ สป.มท. เห็นชอบให้ปรับเกณฑ์การประเมินผล รอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน โดยให้วัดจำนวนลูกหนี้คงเหลือที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย จำนวน 18,886 ราย มาดำเนินการต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เนื่องจากดำเนินการค่อนข้างยากในการประสานเจ้าหนี้และลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยตามความสมัครใจของทั้งฝ่ายลูกหนี้และเจ้าหนี้ (2) สถ. เห็นชอบให้ปรับเกณฑ์การประเมินผล รอบ 6 เดือน และคงค่าเป้าหมายรอบ 12 เดือน เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานตามคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ ทำให้ระยะเวลา ในการดำเนินงานบางกิจกรรมไม่ตรงตามแผนที่กำหนดไว้ จึงขอปรับแผนและชื่อกิจกรรมให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ได้นำส่งรายงานการประชุมฯ ให้คณะกรรมการกำกับฯ มท. เพื่อพิจารณารับรองรายงานการประชุม พร้อมนำส่งรายละเอียดตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามมติที่ประชุมเห็นชอบเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว 5. สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการในการประชุมครั้งที่ 2/2568 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2568 ได้พิจารณาเห็นชอบการปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดตามมติคณะกรรมการกำกับฯ มท. ตามที่หน่วยงานเสนอ 6. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แจ้งให้ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รอบ 6 เดือน (1 ตุลาคม 2567 31 มีนาคม 2568) เพื่อให้การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการของ สป.มท. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงขอให้หน่วยงานจัดส่งข้อมูลผลการดำเนินงานตัวชี้วัดฯ ตามแบบฟอร์มการรายงานที่กำหนด ส่งให้กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สป. ภายในวันที่ 4 เมษายน 2568 เพื่อนำข้อมูลผลการดำเนินงานตัวชี้วัดรายงานในระบบรายงานผลการประเมินส่วนราชการ (e-SAR) |
- เป้าหมายการดําเนินงาน (0.0000 85) - ผลการดําเนินงาน (0.0000) 85 | |
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 0.5557 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 0.4250 ล้านบาท | |
9. ปัญหาและอุปสรรค | ไม่มี |