1. หน่วยงาน | กก.สป. |
2. ชื่อโครงการ | การอำนวยการและประสานงานภาครัฐ |
3. ตัวชี้วัด | จังหวัดมีการทำกิจกรรมวันสำตัญที่จัดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี และวันสำคัญของสถาบันหลักของชาติ |
4. งบประมาณ | 55.9164ล้านบาท |
5. PO | 0.0000ล้านบาท |
6. ห้วงการรายงาน | ไตรมาสที่ 2 (1 ม.ค. 66 - 31 มี.ค. 66) |
7.1 ยุทธศาสตร์ชาติ | ด้านความมั่นคง,ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ |
7.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ | ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ ประชาชน |
7.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 | ความมั่นคง |
7.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา | นโยบายหลักด้านที่ 1 การปกป้องและเชิดชู สถาบันพระมหากษัตริย์ |
7.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย | การพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยน แปลง |
7.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) | |
7.7 นโยบายรัฐบาลใหม่ | |
8. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส | สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ครั้งที่ 1 จังหวัดละ 240,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 18,240,000 บาท ซึ่งจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมวันสำคัญที่จัดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี และวันสำคัญของสถาบันหลักของชาติ รวมทั้งสิ้น 13 กิจกรรม (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568) ได้แก่
(1) วันที่ 1 ตุลาคม รัฐพิธีวันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2) วันที่ 13 ตุลาคม วันนวมินทรมหาราช (3) วันที่ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช (4) วันที่ 25 พฤศจิกายน รัฐพิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต (5) วันที่ 5 ธันวาคม วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ (6) วันที่ 7 ธันวาคม พิธีถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาเนื่องในวันคล้ายวันประสูติ (7) วันที่ 28 ธันวาคม รัฐพิธีวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (8) วันที่ 8 มกราคม พิธีถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ (9) วันที่ 17 มกราคม รัฐพิธีถวายราชสักการะ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช) (10) วันที่ 18 มกราคม รัฐพิธีถวายราชสักการะ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (เนื่องจากเป็นวันยุทธหัตถี) (11) วันที่ 24 กุมภาพันธ์ รัฐพิธีวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (12) วันที่ 31 มีนาคม รัฐพิธีวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า และ (13) วันที่ 13 มกราคม 2568 พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเทียบเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จากการจัดกิจกรรมวันสำคัญตามมติคณะรัฐมนตรี และวันสำคัญของสถาบันหลักของชาติดังกล่าวจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด และประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้มีส่วนร่วมสำคัญในการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ สร้างจิตสำนึกในการธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติแก่ประชาชนชาวไทย สร้างความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศชาติเกิดความผาสุกโดยทั่วหน้ากัน รวมถึงได้ร่วมกันน้อมนำพระราชจริยวัตร พระราชกรณียกิจ พระราชปณิธาน ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ มาเสริมสร้างเป็นแรงบันดาลใจ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันสืบต่อไป |
- เป้าหมายการดําเนินงาน (76.0000 จังหวัด) - ผลการดําเนินงาน (76.0000) จังหวัด | |
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 5.7680 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 4.3077 ล้านบาท | |
9. ปัญหาและอุปสรรค | แนวทางการใช้งบประมาณมีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ให้เบิกจ่ายในรายการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมวันสำคัญในรายการ ดังนี้ 1. ค่าพิธีทางศาสนา (เช่น ค่าเครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ค่าภัตตาหาร ค่าเครื่องสักการะ เป็นต้น) ทั้งนี้ มิให้นับรวมถึงค่าปัจจัย 2. ค่าตกแต่งสถานที่ 3. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดงาน (เช่น อุปกรณ์สำนักงานสำหรับใช้ในกิจกรรมวันสำคัญ อุปกรณ์สำหรับใช้โฆษณาและเผยแพร่กิจกรรม เป็นต้น) 4. ค่าจัดซื้อพานพุ่ม/พวงมาลา รวมถึงมีการกำหนดให้เบิกจ่ายได้เฉพาะภายใน 24 กิจกรรมเท่านั้น ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณขาดความยืดหยุ่น |