1. หน่วยงาน ตท.สป.
2. ชื่อโครงการ การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กระทรวงมหาดไทย
3. ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของกระทรวงมหาดไทย
4. งบประมาณ 9.6845ล้านบาท
5. ห้วงการรายงาน ไตรมาสที่ 2 (1 ม.ค. 66 - 31 มี.ค. 66)
6.1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม
6.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พื้นที่และเมืองอัจฉริยะ,เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอน ต่ำ
6.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 การเติบโตอย่างยั่งยืน
6.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา นโยบายหลักด้านที่ 7 การพัฒนาสร้างความเข้ม แข็งจากฐานราก,นโยบายเร่งด่วนเรื่องที่ 2 การปรับปรุงระบบ สวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
6.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย การเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง ภายใน
6.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุก ที่,เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
6.7 นโยบายรัฐบาลใหม่
7. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส ผลการดำเนินงาน
1.ได้อนุมัติแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ (Action Plan ๑-๓) โครงการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) จำนวน ๙,๖๘๔,๕๐๐ บาท
2.ได้มีการประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เชิงรุก ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ภารกิจของกระทรวงมหาดไทยที่ดำเนินการ
ในห้วงที่ผ่านมาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สามารถสรุปผลการประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่เกี่ยวข้อง ได้ดังนี้
2.1 การประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวงมหาดไทยที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (SDGs) ในงาน Sustainability Expo 2024 ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน – ๘ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ การนำเสนอภารกิจงานของกระทรวงมหาดไทยที่สอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผ่านแนวคิด ๕ กิจกรรม คือ ๑) "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง น้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ที่เกี่ยวข้องทุกพระองค์ สู่การนำมาปฏิบัติผ่านวิสัยทัศน์กระทรวงมหาดไทย ๒) “ก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ผ่านการขับเคลื่อน SDGs ๗๖ จังหวัด ๗๖ คำมั่นสัญญาเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน
๓) “THINK GLOBAL, ACT LOCAL” เล่าเรื่องราวผ่าน Gallery จากภาพฝันสู่การปฏิบัติบูชา ๔) “ACTION NOW” การสร้างความเข้มแข็ง การนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติในเชิงพื้นที่ โดยการนำเสนอกิจกรรม Live Action, MOI WAR ROOM และ Workshop และ ๕) “มหาดไทยปันสุข” ฟื้นฟูวิถีการให้และแบ่งปัน ส่งผลผลิตจากแปลงโคก หนอง นา อารยเกษตร โดยครัวเรือนและชุมชนต้นแบบ สู่มือพี่น้องประชาชน
ทั่วประเทศ” ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวงฯ ให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป
2.2 กระทรวงมหาดไทยและสหประชาชาติประจำประเทศไทยได้จัดการประชุมหุ้นส่วนการพัฒนาระหว่างกระทรวงมหาดไทยและองค์การสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (MOI-UN Partnership towards Sustainable Thailand through SDG Localization) ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 – 16.45 น.
ณ ห้องประชุม ESCAP Hall ชั้น 2 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์
เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำของการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่าง มท.และ UN ประจำประเทศไทย
ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี
ในการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติในเชิงพื้นที่ผ่านโครงการที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน โครงการธนาคารขยะ โครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) และโครงการแฟชั่นผ้าไทยเพื่อความยั่งยืน นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอความก้าวหน้าตามโครงการการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติในระดับพื้นที่ (SDG Localization) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สหประชาชาติประจำประเทศไทย ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนภาควิชาการ ผู้แทนภาคประชาชน
2.3 การประชาสัมพันธ์ภารกิจของกระทรวงมหาดไทยที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยปลัดกระทรวงมหาดไทยในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ ๒๘ (COP28) ที่บริเวณศาลาไทย (Thailand Pavillion) Expo City Dubai เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. ตามเวลาประเทศไทย โดยปลัดกระทรวงมหาดไทยพร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ปาฐกถาพิเศษ "ความสำเร็จการคัดแยกขยะต้นทางของกระทรวงมหาดไทย" โดยมี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ศาสตราจารย์ ดร.ชนาธิป ผาริโน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นางต้องใจ ธนะชานันท์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานความยั่งยืนและกลยุทธ์ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ นายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ด้านการบริหารความยั่งยืน บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย นางแสงจันทร์ ระวังกิจ ปลัด อบต.โก่งธนู นายพิทักษ์รัฐ ระวังกิจ ปลัด อบต.บ้านข่อย นายณวิช อุ่นวิจิตร หัวหน้ากลุ่มงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กองสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และผู้สนใจ ร่วมรับฟัง โดยเป็นการถ่ายทอดผ่านระบบ FB Live
2.4 กระทรวงมหาดไทยประกาศร่วมกับสหประชาชาติประจำประเทศไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกาศความสำเร็จการจัดตั้งธนาคารขยะภายใต้หุ้นส่วนการพัฒนาอย่างยั่งยืน (The Success of Thailand's Waste Bank Partnership Initiative) เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุม ESCAP โดยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน วัตถุประสงค์เป็นการประกาศความสำเร็จในการจัดตั้งธนาคารขยะให้ครบทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำขยะที่สามารถใช้ประโยชน์ได้กลับไปสู่กระบวนการใช้ประโยชน์อีกครั้งหนึ่ง เป็นการลดปริมาณขยะในประเทศที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และยังสามารถสร้างรายได้ สร้างสวัสดิการให้แก่ประชาชนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อน SDGs ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ในการนี้ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้เน้นย้ำว่ากระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม โดยให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง ๑๗ ข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อที่ ๑๗ "Partnership" ที่ถือเป็นกลไกการทำงานที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้ ความสำเร็จการจัดตั้งธนาคารขยะ รวมถึงความสำเร็จของการมีถังขยะเปียกลดโลกร้อนในทุกครัวเรือน กระทรวงมหาดไทยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ Key Success ที่สำคัญ คือ ภาคีเครือข่ายทั้ง ๗ ภาคีทั่วประเทศ จนทำให้เกิดความสำเร็จ ด้วยพวกเรามีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการดำเนินการตามคำมั่นสัญญาที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเจตนารมณ์ "๗๖ จังหวัด ๗๖ คำมั่นสัญญา เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน" ร่วมกับ UN เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ แสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยมีความสุข และหนุนเสริมทำให้เราชาวมหาดไทยมีแรงกระตุ้นและมี "Passion" ในการนำหัวใจของเราไปสู่พี่น้องประชาชน ด้วยการขับเคลื่อนอย่างมีพลังทำให้เกิดความสำเร็จดังที่พวกเราตั้งใจจนเกิดผลเป็นรูปธรรมได้ ซึ่งการคัดแยกขยะครัวเรือนใน ๑๔ ล้านครัวเรือน ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นจุดเริ่มต้นของการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้รับสนับสนุนรับซื้อคาร์บอนเครดิตจากธนาคารกสิกรไทย จำนวน ๓,๑๔๐ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า รวมมูลค่า ๘๑๖,๔๐๐ บาท ตลอดจน บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ และองค์กรภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุน ทำให้ปัจจุบันเราได้จำหน่ายคาร์บอนเครดิตแล้วกว่า ๒.๕ ล้านบาท โดยมี UN ประจำประเทศไทยเป็นกำลังใจให้เราชาวมหาดไทย ขับเคลื่อนโดยนำต้นแบบของการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ไปสู่การจัดตั้งธนาคารขยะ ในจำนวน ๗,๘๔๙ อปท. ปัจจุบันเราสามารถจัดตั้งธนาคารขยะ ๑๔,๖๕๘ แห่ง ครบทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ทุกหมู่บ้านใน ๘๗๘ อำเภอ ๗๖ จังหวัดมีตัวอย่างที่ดี "Best Practice" ขยายผลไปสู่หมู่บ้านครัวเรือนเพิ่มเติม
2.5 การรายงานข้อมูลภารกิจกระทรวงมหาดไทยที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (SDGs) ในรูปแบบเอกสารต่อกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้นำเสนอในการประชุม Asia-Pacific Forum on Sustainable Development 2024 : APFSD เมื่อวันที่ ๒๐ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุม ESCAP Hall ชั้น 2 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร โดยการประชุม APFSD 2024 เป็นเวทีหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สำคัญของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อเตรียมการสำหรับเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-level Political Forum on Sustainable Development: HLPF) ภายใต้กรอบการดำเนินงานของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Council: ECOSOC) ซึ่งมีกำหนดจัดระหว่างวันที่ ๘ - ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ (The 2030 Agenda for Sustainable Development: Agenda 2030) ในระดับภูมิภาค



- เป้าหมายการดําเนินงาน (2.0000 ระดับ 5) - ผลการดําเนินงาน (2.0000) ระดับ 5
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 0.0000 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 0.0000 ล้านบาท
8. ปัญหาและอุปสรรค