1. หน่วยงาน กพร.สป.
2. ชื่อโครงการ กิจกรรมบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบงานและจัดการความรู้ (ร้อยละความสำเร็จของมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย)
3. ตัวชี้วัด ร้อยละความสำเร็จของมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
4. งบประมาณ 0.9856ล้านบาท
5. ห้วงการรายงาน ไตรมาสที่ 2 (1 ม.ค. 66 - 31 มี.ค. 66)
6.1 ยุทธศาสตร์ชาติ
6.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
6.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
6.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
6.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย
6.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
7. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส ผลการดำเนินงานไตรมาส 1
1. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับส่วนราชการ เกี่ยวกับการปรับแนวทางการประเมินส่วนราชการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ (ร่าง) กรอบการประเมินส่วนราชการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยกรอบการประเมินผล แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบได้แก่ 1) ประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) ซึ่งมีตัวชี้วัดบังคับ ได้แก่ การดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ และภาพรวมตัวชี้วัดไม่เกิน 5 ตัวชี้วัด 2) การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) ตัวชี้วัดบังคับ 1 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย (1) การพัฒนาองค์การดิจิทัล และ (2) การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)
2. สป.มท. แจ้งกรอบการประเมิน ส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งกำหนด (ร่าง) ตัวชี้วัดตามกรอบการประเมินผลให้หน่วยงานในสังกัดทราบเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแผนงานยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิบัติราชการของ มท. / สป.มท. และแผนการปฏิบัติราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. สป.มท. จัดประชุมคณะทำงานประเมินตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและการประเมินผู้บริหารองค์การของ สป.มท. เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุมราชสีห์ อาคารศาลาว่าการ มท. โดยมีรอง ปมท. (บ) เป็นประธาน เพื่อพิจารณา (ร่าง) ตัวชี้วัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของ สป.มท. ก่อนเสนอคณะกรรมการประเมินผลส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของ มท. พิจารณา
4. สป.มท. จัดประชุมคณะกรรมการประเมินผลส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของ มท. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุมราชสีห์ อาคารศาลาว่าการ มท. โดย ปมท. มอบหมายให้ รอง ปมท. (นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)เป็นประธาน เพื่อพิจารณา (ร่าง) ตัวชี้วัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของกรมในสังกัด มท. ก่อนที่กรมจะนำส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการต่อไป
5. สป.มท. ดำเนินการตามแนวทางการประเมินผลและส่ง (ร่าง) กรอบการประเมินและรายละเอียดตัวชี้วัดพร้อมเกณฑ์การประเมินผล รวมจำนวน 6 ตัวชี้วัด ไปยังสำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 30 ตุลาคม 2563 เรียบร้อยแล้ว
6. สป.มท. กำกับติดตามการดำเนินการกำหนดตัวชี้วัดของทุกกรมในสังกัด มท. ให้เป็นไปตามกรอบการประเมินผล และนำเรียนความก้าวหน้าในการดำเนินการเสนอ ปมท. เพื่อพิจารณาการกำหนดตัวชี้วัดในภาพรวมของ ปมท. ในชั้นต้นเรียบร้อยแล้ว
7. สป.มท. ได้รับการประสานจากสำนักงาน ก.พ.ร. (เมื่อวันที่ 10, 25 พฤศจิกายน 2563 และ 7, 23 ธันวาคม 2563 ) เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดตัวชี้วัดของ สป.มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ กพร.สป. ได้นำเรียน ปมท. รวมทั้งนำส่งข้อมูลไปยังสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อพิจารณาดำเนินการนำเข้าคณะทำงานเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดฯ ภายในเดือนธันวาคม 2563 และจะได้แจ้งยืนยันรายละเอียดและค่าเป้าหมายให้ สป.มท. ทราบต่อไป

ผลการดำเนินงานไตรมาส 2
1. เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้นำส่งรายละเอียดตัวชี้วัดค่าเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน และน้ำหนักของทุกกรมในสังกัด มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะทำงานเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ เรียบร้อยแล้ว มาให้ มท. เพื่อใช้เป็นข้อมูลกำกับการปฏิบัติราชการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
2. กพร.สป. ได้ตรวจสอบเอกสารรายละเอียดการกำหนดตัวชี้วัดฯ ตามข้อ 3 ที่ได้รับการแจ้งยืนยันรายละเอียดจากสำนักงาน ก.พ.ร. พบว่า ในภาพรวมเป็นไปตามที่เสนอ โดย สป.มท. มีตัวชี้วัดจำนวน 6 ตัวชี้วัด แบ่งเป็น 2 ส่วน สรุปได้ดังนี้
2.1 การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) ร้อยละ 70 จำนวน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่
1) ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) (น้ำหนักร้อยละ 10 )
2) ความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (น้ำหนักร้อยละ 15)
3) ความสำเร็จในการพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลาง (น้ำหนักร้อยละ 5)
4) ความสำเร็จตามภารกิจหลักของส่วนราชการ (น้ำหนักร้อยละ 20) ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ 4.1) ความสำเร็จตามภารกิจหลัก/ยุทธศาสตร์ มท. (น้ำหนักร้อยละ 10) และ 4.2) ความสำเร็จในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (น้ำหนักร้อยละ 10)
5) ร้อยละความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของศูนย์ดำรงธรรม (น้ำหนักร้อยละ 20) ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย 5.1) ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนคงค้างที่ดำเนินการจนเป็นที่ยุติ (น้ำหนักร้อยละ 10) และ 5.2) ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนรับใหม่ที่ดำเนินการได้จนเป็นที่ยุติ (น้ำหนักร้อยละ 10)
2.2 การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) น้ำหนักร้อยละ 30 จำนวน 1 ตัวชี้วัด ได้แก่
6) ผลการพัฒนาศักยภาพองค์การสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 น้ำหนักร้อยละ 30 ประกอบด้วย 6.1) การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล : การให้ บริการรับเรื่องร้องเรียนของศูนย์ดำรงธรรม (น้ำหนักร้อยละ 15) และ 6.2) การประเมินสถานะของหน่วยงาน ในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) (น้ำหนักร้อยละ 15)
3. กพร.สป. ได้แจ้งรายละเอียดตัวชี้วัดค่าเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน และน้ำหนักตัวชี้วัดของตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ สป.มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้หน่วยงานในสังกัด สป.มท. ทราบ และร่วมขับเคลื่อน/สนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด หากมีปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนการดำเนินการ ขอให้แจ้ง กพร.สป. ทราบเพื่อสนับสนุนการดำเนินการต่อไป
4. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แจ้งข้อมูลตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของกรมในสังกัด มท. และจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยตรงเพื่อไปดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และนำส่งสำเนามายัง มท. เพื่อให้ รมว.มท. ใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป้าหมายที่กำหนด
5. กพร.สป. ได้สรุปภาพรวมตัวชี้วัดของกรมในสังกัด มท. และจังหวัด นำเรียนผู้บริหารเพื่อโปรดทราบเรียบร้อยแล้ว และ มท. ได้มีเนวทางการดำเนินการดังนี้
5.1 แจ้งกรมในสังกัด มท. ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนตัวชี้วัด ตลอดจนติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งนี้ หากมีปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนการดำเนินการ ขอให้แจ้ง มท. ทราบเพื่อกำกับการดำเนินการต่อไป และจะได้มีการประชุมคณะกรรมการประเมินผลส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ มท. (ปมท. เป็นประธาน) เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการภาพรวมตัวชี้วัดของ มท. ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดในรอบ 9 เดือน / 12 เดือน ต่อไป
5.2 จังหวัดให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนตัวชี้วัด ตลอดจนติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งนี้ หากมีปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนการดำเนินการขอให้แจ้ง มท. ทราบเพื่อกำกับการดำเนินการต่อไป

ผลการดำเนินงานไตรมาส 3
- การดำเนินการตามตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตัวชี้วัดจนถึงในห้วงรอบ 9 เดือน (ตุลาคม 2563 – มิถุนายน 2564) โดยได้แจ้งหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบตัวชี้วัดของ สป.มท. ได้แก่ ศสส.สป. สบจ.สป. กจ.สป. สนผ.สป. และ สตร.สป. (ศดธ.มท.) และกรมในสังกัด มท. รายงานผลการดำเนินงานให้ มท. ทราบ พร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เพื่อนำไปวิเคราะห์ประมวลผลการดำเนินการในภาพรวมของ มท. เสนอผู้บริหารทราบผลการดำเนินงานตัวชี้วัดและพิจารณากำกับการบริหารงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามค่าเป้าหมายที่กำหนดต่อไป

ผลการดำเนินงานไตรมาส 4
- สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แจ้งให้ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ผ่านระบบการรายงานผลการประเมินส่วนราชการ (e-SAR) โดยให้รายงานข้อมูลผลการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน และรายงานการถอดบทเรียนในการบริหารจัดการผลกระทบและการแก้ไขปัญหาในสภาวะวิกฤตโควิด-๑๙ (COVID-19) (ถ้ามี) ณ รอบ 12 เดือน (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) ในระบบได้ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔
- ค.ร.ม. มีมติเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 เรื่อง การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เห็นชอบให้ติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดย (1) ให้ส่วนราชการและจังหวัดรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดต่อสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อใช้ในการติดตาม (Monitoring) แต่จะไม่นำผลไปจัดประเภทตามเกณฑ์การประเมินในระดับคุณภาพ ระดับมาตรฐาน และระดับต้องปรับปรุง (2) ให้ส่วนราชการและจังหวัดถอดบทเรียนการบริหารจัดการผลกระทบและการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานในการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่องส่งสำนักงาน ก.พ.ร. (3) ให้สำนักงาน ก.พ.ร. สรุปบทเรียนการบริหารจัดการผลกระทบในภาพรวมของส่วนราชการและจังหวัด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานและการให้บริการประชาชนได้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพหากเกิดภาวะวิกฤตในอนาคต โดย ก.พ.ร. ดำเนินการดังนี้
1) แจ้งหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบตัวชี้วัดของ สป.มท. ได้แก่ ศสส.สป. สบจ.สป. กจ.สป. สนผ.สป. และ สตร.สป. (ศดธ.มท.) รายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดในรอบ 12 เดือน ได้ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม - 5 ตุลาคม 2564 ส่งให้ กพร.สป. เพื่อเสนอ ปมท. โปรดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนรายงานในระบบ e-SAR ตามระยะเวลาที่กำหนด
2) แจ้งกรมในสังกัด มท. ให้ขับเคลื่อนและกำกับดูแลการติดตามการรายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดผ่านระบบ e-SAR ตามแนวทางที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดอย่างใกล้ชิด และรายงานผลการดำเนินงานพร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามตัวชี้วัดให้ มท. ทราบ ภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 เพื่อนำไปวิเคราะห์ประมวลผลการดำเนินการในภาพรวม ของ มท. และเสนอผู้บริหารเพื่อโปรดทราบต่อไป
ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการดำเนินการรายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดฯ ให้เป็นไปตามแนวทางที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด
- เป้าหมายการดําเนินงาน (45.0000 ร้อยละ) - ผลการดําเนินงาน (45.0000) ร้อยละ
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 0.0000 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 0.0000 ล้านบาท
8. ปัญหาและอุปสรรค