1. หน่วยงาน กพร.สป.
2. ชื่อโครงการ 8. การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบงานและจัดการความรู้ (ภารกิจกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร)
3. ตัวชี้วัด ร้อยละความสำเร็จของการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
4. งบประมาณ 2.1376ล้านบาท
5. PO 0.0000ล้านบาท
6. ห้วงการรายงาน ไตรมาสที่ 1 (1 ต.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65)
7.1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ
7.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ ประชาชน
7.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาค รัฐ
7.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
7.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย การพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยน แปลง
7.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
7.7 นโยบายรัฐบาลใหม่
8. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส ผลการดำเนินงาน
1. สำนักงาน ก.พ.ร. ชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1. การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) น้ำหนักร้อยละ 70 และองค์ประกอบที่ 2. การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) น้ำหนักร้อยละ 30 น้ำหนักรวมร้อยละ 100 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567
2. จัดประชุมคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการใน มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อพิจารณาความเหมาะสมการกำหนดตัวชี้วัด น้ำหนัก ค่าเป้าหมาย (องค์ประกอบที่ 1) สำหรับใช้ในการประเมินผล การปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2567 เวลา 10.30 น. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยในส่วนของ มท. จัดการประชุม ณ ห้องประชุมเฟื่องนคร ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ มท. ซึ่งคณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นชอบตัวชี้วัดฯ น้ำหนัก และหลักการในการกำหนดเกณฑ์การประเมินค่าเป้าหมายตัวชี้วัด
3. สำหรับตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ (สป.มท.)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รวมทั้งสิ้น 11 ตัวชี้วัด ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 มีจำนวน 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) ร้อยละของการดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาหนี้สิน (สป. ร่วมกับ ปค.) (2) ร้อยละเฉลี่ยของจังหวัดที่สามารถขับเคลื่อนตามข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของจังหวัดแบบบูรณาการ (3) ร้อยละเฉลี่ยของงานบริการที่พัฒนาเป็น e-Service และให้บริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง (Biz Portal และ/หรือ Citizen Portal) (4) ร้อยละในการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 (5) ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไขของศูนย์ดำรงธรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (6) ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) คะแนนการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) (2) ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย (3) คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย (4) คะแนน EIT Public (5) คะแนน EIT Survey
- เป้าหมายการดําเนินงาน (0.0000 85) - ผลการดําเนินงาน (0.0000) 85
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 0.7026 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 0.6439 ล้านบาท
9. ปัญหาและอุปสรรค ไม่มี