1. หน่วยงาน | กพร.สป. |
2. ชื่อโครงการ | การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบงานและจัดการความรู้ (ภารกิจกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร) |
3. ตัวชี้วัด | ระดับความสำเร็จของการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) |
4. งบประมาณ | 0.2330ล้านบาท |
5. ห้วงการรายงาน | ไตรมาสที่ 1 (1 ต.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65) |
6.1 ยุทธศาสตร์ชาติ | ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ |
6.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ | ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ ประชาชน |
6.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 | การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาค รัฐ |
6.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา | นโยบายหลักด้านที่ 9 การพัฒนาระบบสาธารณ สุขและหลักประกันทางสังคม |
6.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย | การพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยน แปลง |
6.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) | |
6.7 นโยบายรัฐบาลใหม่ | |
7. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส | 1. โครงการส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ในการยกระดับกระทรวงมหาดไทย เพื่อมุ่งสู่การเป็นระบบราชการ ๔.๐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
1.1 เมื่อวันที่ 1๔ ธันวาคม ๒๕๖๖ กพร.สป. และผู้แทนหน่วยงานในสังกัด สป.มท. ได้ร่วมรับฟังการชี้แจง 1. โครงการส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ในการยกระดับกระทรวงมหาดไทย เพื่อมุ่งสู่การเป็นระบบราชการ ๔.๐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ 1.1 เมื่อวันที่ 1๔ ธันวาคม ๒๕๖๖ กพร.สป. และผู้แทนหน่วยงานในสังกัด สป.มท. ได้ร่วมรับฟังการชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางการสมัครรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗ 1.๒ สป.มท. โดย กพร.สป. จัดการประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินการและคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ สป.มท. ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมอัษฎางค์ ชั้น ๕ อาคารดำรงราชานุสรณ์ โดยที่ประชุมรับทราบ ๑) การมอบนโยบายการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ประจำปี ๒๕๖๗ ๒) ผลการดำเนินงาน PMQA และผลการพิจารณารางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๖ และ ๓) พิจารณาแผนการขับเคลื่อน PMQA และการเสนอผลงานเพื่อสมัครขอรับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗ ของ สป.มท. 1.๓ สป.มท. ได้มีการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จากรายงานป้อนกลับ (Feedback Report) รางวัล PMQA 4.0 และผลการตรวจประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ ๔.๐ ตามตัวชี้วัด PMQA 4.0 ประจำปี ๒๕๖๖ 1.๔ สป.มท. กำหนดประเด็นการพัฒนาที่สำคัญตามประเด็นผลการตรวจประเมินรางวัลฯ และมอบหมายภารกิจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินการ เพื่อยกระดับค่าคะแนนการประเมินให้เพิ่มมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการสู่การเป็นระบบราชการ ๔.๐ ทั้งนี้ กพร.สป อยู่ระหว่างการจัดทำ (ร่าง) แผนเพิ่มประสิทธิภาพองค์การ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นระบบราชการ 4.0 ต่อไป 2. โครงการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงมหาดไทย จัดประชุมคณะกรรมการฯ แล้ว จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2566 ครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2566 ครั้งที่ 11/2566 เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2566 3. โครงการความสำเร็จของมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 3.1 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการมีมติเห็นชอบ กรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการฯ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 และกำหนดให้ส่วนราชการระดับกรมในสังกัด มท. จัดทำตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (องค์ประกอบที่ 1) โดยให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของ ส่วนราชการในกระทรวงมหาดไทย มี ปมท. เป็นประธานกรรมการ เพื่อพิจารณากำหนดตัวชี้วัด น้ำหนัก ค่าเป้าหมาย ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวงและส่วนราชการในสังกัดกระทรวง กำกับ ติดตาม และให้การสนับสนุนเพื่อให้การดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวงและส่วนราชการในสังกัดเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด 3.2 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดจัดการประชุม เวลา 09.30 น. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกรมในสังกัด มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งคณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นชอบตัวชี้วัดฯ น้ำหนัก และหลักการในการกำหนดเกณฑ์การประเมินค่าเป้าหมายตัวชี้วัด 3.3 สำหรับตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ของ สป.มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวมทั้งสิ้น 9 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 1 มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1. ร้อยละของครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับการขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดผ่านการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจระดับจังหวัด (กรอ.จังหวัด) และภาคีเครือข่าย 3. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไขของศูนย์ดำรงธรรม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 5. ระดับความสำเร็จของการจัดทำข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO) องค์ประกอบที่ 2 มีจำนวน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1. ร้อยละของชุดข้อมูลเปิดที่เป็นไปตามมาตรฐานในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) 2. ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย 3. คะแนนความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย 4. คะแนนการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) "สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางการสมัครและหลัเกณฑ์การพิจารณารางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566 โดยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และขัั้นตอนการประเมินรางวัล PMQA 4.0 โดยหน่วยงานที่ผ่าน PMQA 4.0 ปี 2566 เข้าสู่รอบการตรวจประเมิน ณ พื้นที่ปฏิบัติงาน (Site Visit) จะผ่าน PMQA 4.0 ปี 2567 เข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำรายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (Application Report) โดยปริยาย ดังนั้น กพร.สป. จึงไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ในการยกระดับกระทรวงมหาดไทย เพื่อมุ่งสู่การเป็นระบบราชการ ๔.๐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนลักษณะสำคัญขององค์การ และผลลัพธ์การดำเนินงานของ สป.มท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และ 2) กิจกรรมการศึกษาดูงานแลกปเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการองค์การสู่ความเป็นเลิศของหน่วยงานที่มีผลการดำเนินงานเป็นเลิศ รวมงบประมาณ 233,000 บาท และขอนำงบประมาณดังกล่าวไปดำเนินการกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ""การเสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากร สป.มท. ในการสร้างและใช้นวัตกรรมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2567" |
- เป้าหมายการดําเนินงาน (2.0000 ระดับ 5) - ผลการดําเนินงาน (2.0000) ระดับ 5 | |
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 0.0281 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 0.0000 ล้านบาท | |
8. ปัญหาและอุปสรรค |