1. หน่วยงาน สนผ.สป.
2. ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนการป้องกัน ปราบปรามและบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดกระทรวงมหาดไทย (ระดับความสำเร็จในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด)
3. ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
4. งบประมาณ 20.9033ล้านบาท
5. ห้วงการรายงาน ไตรมาสที่ 1 (1 ต.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65)
6.1 ยุทธศาสตร์ชาติ
6.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
6.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
6.4 นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
6.5 ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงมหาดไทย
6.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
7. ผลการดําเนินงานของแผนงาน/โครงการรายไตรมาส • ดำเนินการแปลงนโยบายและแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยปฏิบัติใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่
• สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยแจ้งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศอ.ปส.จ.) ทุกจังหวัด ให้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2564 และจัดสรรงบประมาณด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ ศอ.ปส.จ. เพื่อใช้ในการดำเนินงานฯ และบริหารจัดการ ในห้วง 6 เดือนแรก จำนวน 8,284,000 บาท รวมทั้งงบประมาณที่สำนักงาน ป.ป.ส. จัดสรรให้ ศอ.ปส.จ. และศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอ (ศป.ปส.อ.) จำนวน 142,584,000 บาท เพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการป้องกัน ด้านการปราบปราม และด้านการบำบัดรักษา
• ศอ.ปส.จ. 76 จังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2564 โดยกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานฯ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติกำหนด
• ศอ.ปส.จ. 76 จังหวัด ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการฯ
• ส่วนกลาง/จังหวัด ติดตามผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ และเพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติการฯ กระทรวงมหาดไทย ในฐานะฝ่ายเลขานุการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกระทรวงมหาดไทย (ศอ.ปส.มท.) จึงได้ดำเนินการ ดังนี้
1) จัดประชุมศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกระทรวงมหาดไทย (ศอ.ปส.มท.) เพื่อพิจารณาปรับแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
2) จัดทำยุทธการพิชิตภัยยาเสพติด ด้วยแนวคิดชีวิตวิถีใหม่ เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน) ประจำปี 2564 ของกระทรวงมหาดไทย เพื่อเป็นแนวทางรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก ประจำปี 2564 โดยให้หน่วยงานส่วนกลาง/หน่วยงานในระดับพื้นที่ขับเคลื่อนภายใต้การดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ส. และมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ของกระทรวงสาธารณสุข
3) ติดตามผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ส. ผ่านคณะอนุกรรมการกำกับติดตามผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน เป็นประธาน ผู้เข้ารับการติดตาม ได้แก่ คณะอนุกรรมการกำกับติดตามผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เป็นประธาน เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษา ในพื้นที่ 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร โดยลงพื้นที่ และประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสิ้น 11 ครั้ง
4) จังหวัดมีผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 76 จังหวัด รวมทั้ง การสำรวจสภาพปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้บรรลุผลตามตัวชี้วัด ร้อยละของพื้นที่ที่มีปัญหาแพร่ระบาดยาเสพติดเกิดการจัดการเพื่อเสริมสร้างให้มีพื้นที่ปลอดภัย เป้าหมาย 6,026 ตำบล/เขต ผลการดำเนินงาน 5,538 ตำบล/เขต คิดเป็นร้อยละ 91.90 (ข้อมูลจากสำนักงาน ป.ป.ส. ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2564)
- เป้าหมายการดําเนินงาน (1.0000 ระดับ) - ผลการดําเนินงาน (0.0000) ระดับ
- เป้าหมายการเบิกจ่าย 1.3783 ล้านบาท - ผลการเบิกจ่าย 0.0000 ล้านบาท
8. ปัญหาและอุปสรรค เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ทำให้หน่วยงานในส่วนกลางและระดับจังหวัดไม่สามารถดำเนินงานและเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ โดยกระทรวงมหาดไทยได้แจ้งให้ ศอ.ปส.จ. พิจารณาปรับแผนการดำเนินงานฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เช่น การบูรณาการจัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด และการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่ เป็นต้น