รายละเอียดของคำถาม ไปหน้ารายการคำถาม    แก้ไขคำถาม   พิมพ์หน้านี้  ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  
คำถาม :  พวกเองจะโหวต No กันทำไมโว้ยยยย
รายละเอียด :  

   
เชื่อตามศาสดา ครั้งก่อน ศาสดาบอกหากรักชาติต้องกุ้ชาติ พาสาวกปิดสนามบิน ทุบหมือข้าวตัวเอง วันนี้ ท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นบางรายถึงกะหมดตัว วันนี้ ยังจะโหวตโน
งั้นถาม ที่กะจะโหวตโน แล้ว ใครจะเข้ามาบริหารประเทส ใครจะมาเป้นนายรัฐมนตรี มีคำตอบให้ สังคมไม่ละ ให้ชาวบ้าน โหวตโนแต่ไม่มีความคิดที่จะบอกว่าโหวตโนไม่เอานักการเมืองไม่เอา รัฐบาลที่มาจากการเลือกคั้ง
แล้วไม่มีนักการเมือง ไม่มี นายก ประเทศไทยจะไปยังไง ใครจะมาบริหารประเทศ ใครจะเข้ามาแก้ปํญหาให้กับประเทศ มีคำตอบไม่

อีกอย่า ขนาด พธม ตัวศาสดา กะ แกนนำ กัดสุนัขกัน ตัวหนึง บอกโหวต โน อีกตัวเคราแพะ บอก อยากเลือกตั้ง วันนี้ หาเสียง เอาตกลงจะเอาไง แกนนำทำแบบนี้ สาวก ไปไม่ถูก จะโหวตโน หรือ จะเลือกไอ่เคราแพะ สับสนจริง พวกป่วนเมือง พวกอยากฉีก รัฐธรรมนูญ พวก ไม่ยอมรับกติกาของสังคม พวกคิดแต่จะล้มระบบประชาธิปไตย

โหวตโนเพื่อสร้างเงิ่อนไขในอณาคตหลังการเลือกตั้งเสร็จ ให้กับระบบประชาธิปไตย หวังให้มีการปฎิวัติหรือเปลี่ยนแปลงระบบที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเขาเลือก
ผู้ถาม : ยึดกติกา
118.174.219.86-
ส่งคำถามเมื่อ :  วัน ศุกร์ ที่ 17 มิถุนายน 2554   เวลา 17 นาฬิกา 4 นาที

 คำตอบที่  1 แก้ไขคำตอบโดยเจ้าของคำตอบเท่านั้น  กลับด้านบน  
รายละเอียด :  

   
vote no
ผู้ตอบ : dfdf
118.173.50.151-
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันศุกร์ 17 มิถุนายน 2554   เวลา 21 นาฬิกา 4 นาที

 คำตอบที่  2 แก้ไขคำตอบโดยเจ้าของคำตอบเท่านั้น  กลับด้านบน  
รายละเอียด :  

   
vote no = เลือกเพื่อไทยเป็นรัฐบาล
ผู้ตอบ : จิง ๆ
182.52.213.51-
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันเสาร์ 18 มิถุนายน 2554   เวลา 0 นาฬิกา 46 นาที

 คำตอบที่  3 แก้ไขคำตอบโดยเจ้าของคำตอบเท่านั้น  กลับด้านบน  
รายละเอียด :  

   
เลือก ปชป. แล้วได้อะไร เลือกไปก็เป็นฝ่ายค้าน แต่ที่สำคัญทำอะไรให้บ้านเมืองกระบี่ของเราบ้างครับ คราวนี้ต้อง VOTE NO แล้วก็ VOTE NO อย่างเดียวครับ เพื่อจังหวัดกระบี่ และประเทศไทยของเรา
ผู้ตอบ : คนไม่เชื่อ ปชป.
115.67.61.24-
 Mail to คนไม่เชื่อ ปชป.
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันเสาร์ 18 มิถุนายน 2554   เวลา 16 นาฬิกา 36 นาที

 คำตอบที่  4 แก้ไขคำตอบโดยเจ้าของคำตอบเท่านั้น  กลับด้านบน  
รายละเอียด :  

   
พรรคเพื่อไทย เขาไม่เอาคนใต้ครับ เลือกไป เขาก็ขอบคุณ ที่เลือกครับ แต่จะไม่ทำอะไรให้ คอยดู
ผู้ตอบ : ธรรมดา
118.173.60.204-
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันเสาร์ 18 มิถุนายน 2554   เวลา 17 นาฬิกา 13 นาที

 คำตอบที่  5 แก้ไขคำตอบโดยเจ้าของคำตอบเท่านั้น  กลับด้านบน  
รายละเอียด :  

   
vote no
ผู้ตอบ : vote no
118.173.28.94-
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันอาทิตย์ 19 มิถุนายน 2554   เวลา 17 นาฬิกา 46 นาที

 คำตอบที่  6 แก้ไขคำตอบโดยเจ้าของคำตอบเท่านั้น  กลับด้านบน  
รายละเอียด :  

   
เห็นด้วยว่า vote no เพื่อเป็นเงื่อนไขไว้ต่อรอง

อยากเข้าฝ่ายไหนก็ได้ ใครแพ้ ใครชนะแต่ศาสดาชนะหมด เพราะมีข้อแม้ เงื่อนไขว่า นี่ไงเห็นไหม vote no กันเท่านั้นเท่านี้ ใครชนะศาสดาชนะด้วย ใครแพ้ศาสดาไม่เกี่ยว
ผู้ตอบ : หมากรุก
118.173.55.147-
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันจันทร์ 20 มิถุนายน 2554   เวลา 9 นาฬิกา 6 นาที

 คำตอบที่  7 แก้ไขคำตอบโดยเจ้าของคำตอบเท่านั้น  กลับด้านบน  
รายละเอียด :  

   
นานาจิตตัง ไม่เห็นเดือดร้อนใคร
ผู้ตอบ : vote no
118.173.55.127-
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันจันทร์ 20 มิถุนายน 2554   เวลา 18 นาฬิกา 27 นาที

 คำตอบที่  8 แก้ไขคำตอบโดยเจ้าของคำตอบเท่านั้น  กลับด้านบน  
รายละเอียด :  

   
ผู้คนในสังคมโดยทั่วไปส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า การเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น จะเกิดขึ้นได้เฉพาะในกรณีที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียวในเขตเลือกตั้งนั้นเท่านั้น มิฉะนั้น กกต.จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นใหม่ โดยสังคมไทยมีประสบการณ์จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ซึ่งหลายเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยเพียงพรรคเดียว เพราะพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชนได้บอยคอตการเลือกตั้ง (Election boycott) จนนำไปสู่ปรากฏการณ์พรรคใหญ่จ้างพรรคเล็ก และถูกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย เพราะถือว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2540 มาตรา 66 (1) และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามมาตรา 66 (3) (คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ 3-5/2550)

แท้จริงแล้ว แม้ในเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน ผู้สมัครที่จะเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ไม่เพียงแต่จะต้องเป็นผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดแล้ว ยังจะต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งอีกด้วย ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 มาตรา 89 ประกอบมาตรา 88 ซึ่งบัญญัติไว้ ดังนี้ มาตรา 89 ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีการจับสลากซึ่งต้องกระทำต่อหน้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

มาตรา 88 ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียว ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง

ในกรณีที่ผู้สมัครได้รับคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น หรือไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ และให้นำความในมาตรา 9 มาใช้บังคับ

ในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสอง ถ้ามีผู้สมัครคนเดียว ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และถ้าผู้สมัครได้คะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นอีก หรือได้ไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยให้ดำเนินการตามวรรคสองอีกครั้งหนึ่ง

ในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสาม ถ้ามีผู้สมัครคนเดียว ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งให้ผู้ได้รับเลือกตั้งภายในระยะเวลาตามมาตรา 8

ในกรณีที่มีการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสาม หากปรากฏว่าไม่มีผู้สมัครให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มเติม เพื่อให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และให้นำความในวรรคสอง และวรรคสาม และความในส่วนที่ 5 ผู้สมัครและการสมัครรับเลือกตั้ง 2.การสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า มาตรา 89 บัญญัติให้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 88 ซึ่งเป็นเทคนิคการร่างกฎหมายที่ต้องการให้มาตรา 89 นำหลักการตามมาตรา 88 มาใช้บังคับด้วยโดยไม่ระบุซ้ำลงไปในมาตรา 89 อีก จึงหมายความว่า ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครหลายคน ผู้สมัครที่จะถือว่าเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง จะต้องผ่านองค์ประกอบของกฎหมายทั้งมาตรามาตรา 88 และมาตรา 89 กล่าวคือ

1.ได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต
เลือกตั้งนั้น

2.ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง และ

3.ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้น

ทั้งนี้ เนื่องจากหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย คือ การถือเสียงข้างมากของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และเกณฑ์มาตรฐานเสียงข้างมากขั้นต่ำตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 ก็คือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง

ดังนั้น จำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (VOTE NO) จึงมีผลทางนิตินัยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว และหากในเขตเลือกตั้งใดมีจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งมากกว่าคะแนนเลือกตั้งของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้น ผู้สมัครผู้นั้นก็ไม่ถือว่าเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา 88 วรรคสองถึงวรรคห้า

การที่มาตรา 61 ของกฎหมายเลือกตั้งดังกล่าวบัญญัติไว้ให้บัตรเลือกตั้งมีช่องทำเครื่องหมายว่าไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งด้วยนั้น ก็เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่จะสงวนสิทธิ์ไม่เลือกผู้ใด ในกรณีที่เห็นว่าไม่มีพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดมีคุณสมบัติดีเพียงพอที่จะได้รับเลือกให้เป็น ส.ส. ยิ่งถ้าบรรดาพรรคการเมืองและนักการเมืองที่มีอยู่และลงสมัครรับเลือกตั้งในปัจจุบันได้พยายามสื่อสารกับสังคมว่าขอให้เลือกพรรคหรือผู้สมัครที่เลวน้อยที่สุด กรณีการที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยกาบัตรเลือกตั้งในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน (VOTE NO) ด้วยเหตุผลว่าระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถสร้างพรรคการเมืองและนักการเมืองที่ดีได้ ด้วยวาทะที่ว่า “อย่าปล่อยสัตว์เข้าสภา” และข้อกล่าวหาว่า “มีแต่พรรคการเมืองเผาบ้านเผาเมืองจาบจ้วง ล้มเจ้า พรรคการเมืองปล่อยคนเผาบ้านเผาเมืองขายชาติหลอกเจ้า และพรรคการเมืองโกงชาติกินเมืองโหนเจ้า” จึงสามารถกระทำได้โดยชอบ และมีผลต่อการเลือกตั้งตามกฎหมายดังกล่าว

หากมีจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (VOTE NO) มากกว่าคะแนนของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดจำนวนมากๆ หรือแม้แต่คะแนนของจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (VOTE NO) รวมกับคะแนนของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนในลำดับรองๆ ลงไป มากกว่าคะแนนของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุด ก็อาจทำให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะได้ เพราะผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดย่อมไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนเสียงข้างมากไปในตัว และน่าจะต้องถือว่าขัดต่อหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ต้องยอมรับเสียข้างมาก แต่มีหลักประกันสำหรับเสียงข้างน้อย เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ที่ กกต.เพียงแต่จัดการเลือกตั้งโดยหันคูหากลับด้านทำให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งที่จัดคูหาให้ผู้เลือกตั้งหันหน้าเข้าคูหาและหันหลังให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและประชาชน ไม่เป็นการลงคะแนนโดยลับ (รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 93 วรรคสอง) เป็นเหตุให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ

(คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549) แล้ว การเลือกตั้งกรณีนี้อาจจะต้องถือว่านั้นเป็นโมฆะยิ่งกว่าบรรทัดฐานที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิฉัยไว้ดังกล่าวเสียอีก ทั้งหากพรรคการเมืองใดยังฝืนส่งคนไม่ดีที่ประชาชนปฏิเสธลงสมัครรับเลือกตั้งอีก อาจถึงขั้นถือได้ว่า เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ จนนำไปสู่การถูกยุบพรรคการเมืองนั้นก็เป็นได้ (รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 68)

ท้ายที่สุดนี้ ขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า บัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (VOTE NO) มีผลทางนิตินัยตามกฎหมายดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นอย่างแน่นนอน

อนุรักษ์ สง่าอารีย์เราล
เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา
ผู้ตอบ : ตึกร้างหลังงาน
118.173.56.195-
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันอังคาร 21 มิถุนายน 2554   เวลา 7 นาฬิกา 33 นาที

 คำตอบที่  9 แก้ไขคำตอบโดยเจ้าของคำตอบเท่านั้น  กลับด้านบน  
รายละเอียด :  

   
เออ สำหรับผมคิดว่าคนที่ vote no ไม่ผิดหรอครับเพราะมันเป็นสิทธิ์ของแต่ละคน แต่ผมคิดว่า vote no ไม่มีผลหรอกครับ และผมยังคิดอีกว่า vote no เหมือนคนสองคนที่ไปกินข้าว "คนแรกสั่งผัดกระเพา และคนที่สองก็บอกแม่ค้าว่าเอาเหมือนคนแรกครับ" คือจะบอกว่ายังไงการ vote no ก็จะไม่ได้เป็นคะแนนเสียงที่มากที่สุดอย่างแน่นอน และจะเป็นการลดคู่แข่งให้พรรคที่ได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่ง และเป็นนัยที่จะบอกว่าเห็นด้วยกันพรรคที่ได้คะแนนเสียงข้างมาก ถึงคนที่vote no ไม่ได้คิดแบบนั้น แต่คนอื่นที่ไม่ได้vote no เค้าจะคิดแบบนั้น เหมือนกับการสั่งอาหารของคนสองคนนี้ vote noก็เหมือนคนที่ยอมรับและสั่งตามเค้าไป ผมคิดแบบนั้นนะครับ แต่อาจจะไม่ถูกก็ได้เพราะมันเป็นความคิดเห็นของผมคนเดียว และอีกอย่างเงินที่เราเสียภาษีให้รัฐตกคนละ48,000บ.ต่อปี ใช้สิทธิ์ของคุณให้คุ้ม ขอบคุณครับ
ผู้ตอบ : อืมนะ
118.173.48.38-
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันอังคาร 21 มิถุนายน 2554   เวลา 18 นาฬิกา 43 นาที


โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความคิดเห็น
1.โปรดงดเว้น การใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ซึ่งอาจเข้าข่ายผิดกฏหมาย ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้องได้
2. ทุกความคิดเห็นไม่เกี่ยวข้องกับผู้ดำเนินการเว็บไซต์ และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้
3. ทีมงานเว็บมาสเตอร์ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
รายละเอียดคำตอบ   
* รายละเอียด :  
การสร้าง Link และเน้นข้อความ
คลิกเพื่อเลือก สีเน้น

คลิกเพื่อเลือก Smilly
       

       

       

         
* ผู้ตอบ :     
E-Mail :  
WebSite :  
 
Captcha :   
*
ถ้าคุณเป็นสมาชิก คุณจะไม่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวครับ
เลือก Icon แทนบุคลิกของคุณ