คำถาม :  นโยบาย"เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน" คืออะไร
รายละเอียด : นโยบายการให้บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สำหรับประชาชนทุกสิทธิ "เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน"
๑. เจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายถึง ผู้ป่วยที่เป็นโรค ได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจ สมอง ทางเดินหายใจ ต้องดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที
๒. รักษาทุกที่ หมายถึง สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ทั้ง รพ.รัฐและ รพ.เอกชน ที่ใกล้ที่สุด (ไม่รวมโพลีคลินิก/คลินิกเอกชน) โดยไม่ถูกถามสิทธิก่อนรักษาไม่ต้องสำรองจ่ายเงิน ไม่ถูกปฏิเสธการรักษา และได้รับการรักษามาตรฐานเดียวกันจนกว่าอาการจะทุเลา
๓. ทั่วถึงทุกคน หมายถึง ผู้มีสิทธิของสวัสดิการรักษาพยาบาล สิทธิประกันสังคม (รวมคนต่างชาติและต่างด้าวที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนด้วย) และสิทธิหลักประกันสุขภาพ นอกจากนี้ยังรวมถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ
รายละเอียดสามารถดูเพิ่มเติมหนังสือเวียน ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ ว46 ลว 8 มิ.ย. 55 ได้ที่เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th

ผู้ถาม : สนง.คลังจังหวัด
E-mail : kbi@cgd.go.th
ส่งคำถามเมื่อ : วัน พฤหัสบดี ที่ 28 มิถุนายน 2555   เวลา 13 นาฬิกา 2 นาที
คำตอบที่ 1
รายละเอียด :  จากกรณีที่เคยสัมผัสมาพอจะเล่าสู่กันฟัง เรื่องนี้เกิดขึ้นแถว ๆ พุทธมณฑล มีผู้ป่วย(สูงวัย)เข้ารับการรักษาป่วยฉุกเฉินที่โรงพยาบาลแถวนั้น(โรงพยาบาลรัฐ) ทางโรงพยาบาลบอกให้ทางญาติ ให้รีบส่งตัวไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยเคยเข้ารับการรักษา

ปล.ผู้สูงอายุเดินทางจากจังหวัดนครศรีธรรมราชไปเยี่ยมหลานพุทธมณฑลในระหว่างพักอยู่เกิดป่วย จึงเข้ารับการรักษา แพทย์ตรวจแล้วบอกกับญาติผู้ป่วยว่าไม่มีประวัติผู้ป่วยให้นำผู้ป่วยกลับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยเคยเข้ารับการรักษา และได้ให้น้ำเกลือกับผู้ป่วย

ทางญาติผู้ป่วยเมื่อแพทย์บอกอย่างนั้นก็รีบหารถเหมานำผู้ป่วยลงมาที่โรงพยาบาลที่เคยเข้ารับการรักษา

ผู้ตอบ : เล่าสู่กันฟัง
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันจันทร์ 2 กรกฏาคม 2555   เวลา 9 นาฬิกา 1 นาที