คำถาม :  ประกันสังคมขานรับ เดินหน้าสนองนโยบายรัฐบาล
รายละเอียด : สำนักงานประกันสังคม เตรียมเดินหน้าสนองนโยบายรัฐบาล ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ ๓๐๐ บาท พัฒนาระบบประกันสังคม ขยายความคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ผลักดันปรับปรุงกฎหมายเพิ่มสิทธิฯ พัฒนาสิทธิประโยชน์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ประกันตน
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ประชุมผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม กล่าวมอบนโยบายรัฐบาล รวมทั้งนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่สำนักงานประกันสังคม รับมาดำเนินการ ดังนี้ ในส่วนนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน คือ การดำเนินการให้แรงงานมีรายได้ขั้นต่ำวันละ 300 บาท โดยการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคม เพื่อสนับสนุนสินเชื่อแก่สถานประกอบการที่ประสบปัญหาอย่างมีเงื่อนไข เช่น เพิ่มรายได้โดยไม่มีการเลิกจ้าง และเตรียมการรองรับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวหากมีการเลิกจ้าง โดยพัฒนาระบบบริการสิทธิประโยชน์ประกันสังคมกรณีว่างงาน ทั้งนี้ได้ขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ประกันสังคมใช้ความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าหน้าที่ กับหน่วยงาน สถานประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง ช่วยสนับสนุนให้นโยบายประสบผลสำเร็จ
นอกจากนี้ในส่วนของนโยบายรัฐบาล คือ ๑. การพัฒนาระบบประกันสังคม ได้แก่ การพัฒนาสิทธิประโยชน์ประกันสังคมให้ครอบคลุมถึงการป้องกันและมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ประกันตน ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้ ๑.๑) ให้ผู้ประกันตนสามารถรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาล เริ่มจากการร่วมมือกับกระทรวง สาธารณสุขโรงพยาบาลรัฐในสังกัด และเครือข่ายโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพ ให้สามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลในสังกัดเดียวกัน และขยายไปยังโรงพยาบาลต่างสังกัด ต่อไปจะขยายการดำเนินการไปยังโรงพยาบาลเอกชนภายในปี ๒๕๕๖-๒๕๕๗ ๑.๒) ผลักดันการปรับปรุงกฎหมายเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน เช่น ให้ผู้ประกันตนที่พิการได้รับสิทธิทุพพลภาพ,เพิ่มเงินสมทบกรณีตาย เพิ่มค่าทำศพ ,ขยายระบบบำนาญให้รวมถึงบำนาญตกทอด ,เพิ่มสิทธิประโยชน์ในส่วนของกรณีคลอดบุตรและสงเคราะห์บุตร ๑.๓) ระบบประกันการมีงานทำ และขยายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน โดยพัฒนากฎหมายให้ระบบประกันการว่างงานคลอบคลุมถึงระบบประกันการมีงานทำเพื่อสร้างเสถียรภาพการจ้างงาน (ให้สินเชื่อผ่อนปรนนายจ้าง) และให้เงินช่วยเหลือในระหว่างการพัฒนาทักษะฝีมือ พร้อมทั้งสนับสนุนสถานประกอบการที่มีการจ้างงานผู้สูงอายุรวมทั้งได้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณี ผู้ประกันตนตกงาน ได้แก่ ลดเงื่อนไขรับสิทธิประกันการว่างงาน ,การเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน , จูงใจเข้าสู่ระบบการจ้างงานโดยเร็ว และข้อ ๒ ขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ โดยการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนมาตรา 40 เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แรงงานนอกระบบสมัครเป็นผู้ประกันตน เช่น เพิ่มค่าทำศพ ,เพิ่มเงินชดเชยการขาดรายได้ กรณีผู้ป่วยในให้ได้รับตั้งแต่วันแรกที่นอนรักษาตัวโรงพยาบาล ,ปรับสัดส่วนเงินสมทบให้ส่วนของบำเหน็จสะสมเพิ่มขึ้น ,จัดสิทธิประโยชน์ให้บุตรและคู่สมรสของแรงงานนอกระบบ, ผลักดันให้รัฐร่วมจ่ายเงินสมทบตามความต้องการของเครือข่ายแรงงานนอกระบบ อีกทั้งปรับจำนวนเงินสมทบและสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันตามอาชีพและรายได้ เช่น อาชีพเกษตรที่มีพันธะสัญญาอาจจะจ่ายเงินสมทบน้อยกว่าผู้ประกอบอาชีพในสถานบันเทิง
ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคม จะเร่งดำเนินการผลักดันนโยบายดังกล่าวให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ท่านสะดวก หรือโทร. ๑๕๐๖ (เจ้าหน้าที่ให้บริการ ๒๔ ชั่วโมง)

ผู้ถาม : สนง.ประกันสังคม
E-mail : social_sso@hotmail.com
WebSite : http://www.sso.go.th/wprp/krabi
ส่งคำถามเมื่อ : วัน เสาร์ ที่ 29 ตุลาคม 2554   เวลา 13 นาฬิกา 8 นาที
คำตอบที่ 1
รายละเอียด :  จะเป็นรูปธรรมมื่อไหร่ครับ อยากปรับให้ 300 บาท ต่อวันเหมือนกัน แต่นายจ้างเองก็ต้องทำให้ธุรกิจก้สวไปข้างหน้าด้วยครับ เห็นในกระทู้เรื่อง สินเชื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ มีนโยบายหรือมีเม็ดเงินหรือยังครับ ถ้าธุรกิจก้าวหน้ ยอขายเพิ่ม เงินที่จะเพิ่มค่าแรงให้ 300 ต่อวันก็ทำได้ครับ

ผู้ตอบ : เจ้าของกิจการ
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันเสาร์ 29 ตุลาคม 2554   เวลา 14 นาฬิกา 42 นาที
คำตอบที่ 2
รายละเอียด :  กระทรวงแรงงานเตรียมปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท นำร่อง 7 จังหวัดในเดือนมกราคมปีหน้าได้แก่ กรุงเทพ ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และนนทบุรี ในเดือนมกราคม 2555

ผู้ตอบ : จากข่าว
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันอังคาร 1 พฤศจิกายน 2554   เวลา 12 นาฬิกา 18 นาที
คำตอบที่ 3
รายละเอียด :  ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทนำร่อง 7 จังหวัด เริ่ม มกราคม 2555

กระทรวงแรงงานเตรียมปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท นำร่อง 7 จังหวัดในเดือนมกราคมปีหน้าและมีแผนปรับลดภาษี เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ

กระทรวงแรงงานเตรียมปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท นำร่อง 7 จังหวัดในเดือนมกราคมปีหน้า และมีแผนปรับลดภาษี เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ขณะที่องค์กรแรงงาน ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพียง 7 จังหวัด และเตรียมยื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้ากับนายกรัฐมนตรีในวันที่ 7 ตุลาคมนี้

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าและทิศทางของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศว่า จะมีนโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำนำร่อง 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และนนทบุรี ในเดือนมกราคมปีหน้า

ส่วนจังหวัดที่เหลืออีก 70 จังหวัด จะปรับขึ้นร้อยละ 40 ของค่าจ้างขึ้นต่ำ สำหรับสาเหตุที่ไม่สามารถขึ้นค่าแรงขั้นต่ำได้เท่ากันทุกจังหวัด เนื่องจากคณะอนุกรรมการไตรภาคีแต่ละจังหวัดเป็นผู้กำหนดค่าครองชีพ และรายได้ขั้นต่ำของแต่ละจังหวัด ที่ไม่เท่ากัน ซึ่งจะต้องประชุมหารือกันอีกครั้ง สำหรับนโยบายที่จะให้ผู้ประกอบการ เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำนั้นทางกระทรวงแรงงานมีแผนปรับลดภาษีให้ผู้ประกอบการ

ด้านนายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ไม่ยอมรับนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนำร่อง 7 จังหวัด เนื่องจาก แรงงานทุกจังหวัดต้องรับภาระค่าครองชีพที่สูงเกิน 300 บาทมาตลอดหลายปี และยืนยันให้ภาครัฐดำเนินการตามนโยบายที่เคยหาเสียงไว้ให้คลอบคลุมทุกจังหวัด โดยจะให้เวลารัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ถึงเดือนมกราคมปีหน้า หากยังไม่มีนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะแจ้งความดำเนินคดี และยื่นเรื่องต่อศาลปกครอง

สำหรับในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ กลุ่มสมัชชาแรงงานและองค์กรแรงงานทั่วประเทศ จะขอเข้าพบนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นหนังสือทวงถามการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทคลอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ขณะที่กระทรวงแรงงาน ให้ความมั่นใจว่า นโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขึ้นต่ำ 300 บาท ใน 7 จังหวัดจะสามารถทำได้จริง และจะส่งผลให้จังหวัดอื่น ๆ ปรับขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะขอหารือกับคณะอนุกรรมการไตรภาคีของแต่ละจังหวัดอีกครั้ง


ผู้ตอบ : จากข่าว
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันอังคาร 1 พฤศจิกายน 2554   เวลา 12 นาฬิกา 22 นาที