คำถาม :  โพสข้อความเทิดพระเกียรติ โดย ช.พัน.๔๐๒ร้อย๒
รายละเอียด : 1 ทำความดีวันละนิดเพื่อในหลวง
2 ทำดีตอบแทนพ่อหลวง
3 ทำดีวันละนิดละหน่อยเพื่อตอบแทนพ่ออยู่หัวเรา
4 เรา ช.พัน ๔๐๒ ร้อย ๒ขอให้พระองค์ทรงร่างกายแข็งแรง
5 เรา ช.พัน.๔๐๒ ขอสิ่งสักสิทธิ์ทั่วสากลโลก ขอให้พ่ออยู่หัวอยู่คู่คนไทยสืบไป
6 เรา ช.พัน.๔๐๒ ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
7 เรา ช.พัน.๔๐๒ ขอให้พระองค์ทรงพลานามัยที่สมบูรณ์
8 เราช่วยกันทำในสิ่งที่ดีๆเพื่อในหลวงเราสืบไป
9 เราชาวไทยควรยึดแบบอย่างเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลพระบาทนำมาปฏิบัติให้เกิดผลแก่ตนเองและประเทศชาติ
10 เราชาวไทยจงร่วมใจกันถวายความจงรักภักดีให้กับในหลวงของเรา
11 เราชาวไทยทั้งหลายต้องให้ความเคารพและเทิดทูนไว้สูง
12 เราทำความดีแล้ว เราจงชักชวนคนอื่นทำความดีด้วย เพื่อตอบแทนในหลวงเรา
13 เราทุกคนจะเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดไป
14 เราคนไทยร่วมใจกันทำความดีตอบแทนในหลวง
15 เราคนไทยร่วมใจกันประหยัดตอบแทนพ่อหลวงสืบไป
16 เราเป็นไทยมาได้จนถึงทุกวันนี้ก็ด้วยพระบารมีของพ่อหลวง
17 เรายอมป่วยแทนในหลวง
18 เราช่วยกันทำในสิ่งที่ดีๆเพื่อในหลวงเราสืบไป



- ๒ -
19 แหลมทองจะเป็นไฟหากชาติไทยไร้ราชัน จะมีแต่ฆ่าฟันเพื่อห้ำหั่นแย่งชิงดี
20 ๓ สถาบันหลักของชาติไทยเป็นมรดกมาจากบรรพบุรุษของเรา
21 การที่เราพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติไว้นั้นมิใช่เพียงเพื่อตัวของเราเองเท่านั้น แต่เป็นการรักษา
22 ขอพระองค์ท่านทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
23 ขอให้คนไทยทุกคนมีความภาคภูมิใจ ในความเป็นพลเมืองของพระองค์
24 ความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เท่านั้นที่จะทำให้ไทยได้ร่มเย็นและเป็นไท
25 ความจงรักภักดีต่อสถาบันอันสูงสุด ถือว่าเป็นหน้าที่หนึ่งของคนไทยทุกคน
26 ความเสียหายของชาติจะบานปลาย ถ้าคนไทยขาดความจงรักภักดี ต่อสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์
27 โครงการตามแนวทางพระราชดำริ ในการพิทักษ์รักษ์ ธรรมชาติสำคัญยิ่ง เพราะหากธรรมชาติไม่สมดุล
28 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ เป็นโครงการที่มีประโยชน์อย่างยิ่งของประเทศ
29 จากความแห้งแล้งกลับกลายมาชุ่มชื้น จากผืนทรายกลับกลายเป็นดิน ด้วยพระบารมีของทั้ง สองพระองค์
30 จากความแห้งแล้งกลับกลายมาชุ่มชื้น จากผืนทรายดิน ด้วยพระบารมีของทั้ง สองพระองค์
31 ทั่วโลกยกย่องชื่นชมยินดีกับบารมีของพระองค์ แล้วเราคนไทยยังจะมาค้นหาคำตอบอะไรกันอีกหรือ
32 ทุกโครงการตามแนวทางพระราชดำริที่พระองค์ทรงพระราชทานล้วนแต่เป็นประโยชน์สุขแก่ปวงชนชาวไทย
33 ไทยเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของประเทศมาช้านาน ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนทั้งชาติ
34 ธงชาติไทยมี ๓ สี แต่ละสีมีความหมาย ช่วยไทยรักสามัคคี
35 ในหลวงของเราทรงเป็นมหาราชผู้ทรงธรรม ย่อมนำความเจริญร่มเย็นมาสู่ปวงชนชาวไทย
36 ในหลวงพระองค์ทรงงาน หนักและเหนื่อย เพื่อราษฎรของพระองค์กลับกลายเป็นสุข
37 ในหลวงพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสให้คนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียวสมัครสมานสามัคคีมีความสุข
38 ในหลวงพระองค์ทรงไม่ละทิ้งประชาชนของพระองค์ แม้พระองค์จะทรงงานหนักและเหนื่อยมานาน
39 บรรพบุรุษท่านต่อสู้กอบเรา้ชาติ เราจึงต้องทำความดีตอบแทนในหลวง
40 บรรพบุรุษท่านต่อสู้กอบเรา้ชาติ ศาสน์ ราชัน แล้วเราเป็นใครกันไม่รักษาให้จงดี
41 ธงชาติไทยมี ๓ สี แต่ละสีมีความหมาย ช่วยไทยรักสามัคคี
42 ในหลวงของเราทรงเป็นมหาราชผู้ทรงธรรม ย่อมนำความเจริญร่มเย็นมาสู่ปวงชนชาวไทย
43 ในหลวงพระองค์ทรงงาน หนักและเหนื่อย เพื่อราษฎรของพระองค์กลับกลายเป็นสุข
44 ในหลวงพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสให้คนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียวสมัครสมานสามัคคีมีความสุข
45 ในหลวงพระองค์ทรงไม่ละทิ้งประชาชนของพระองค์ แม้พระองค์จะทรงงานหนักและเหนื่อยมานาน
46 บรรพบุรุษท่านต่อสู้กอบเรา้ชาติ เราจึงต้องทำความดีตอบแทนในหลวง
47 บรรพบุรุษท่านต่อสู้กอบเรา้ชาติ ศาสน์ ราชัน แล้วเราเป็นใครกันไม่รักษาให้จงดี
48 บรรพบุรุษท่านต่อสู้กอบเรา้ชาติ ศาสน์ ราชัน แล้วเราเป็นไทยมาได้จนถึงทุกวันนี้ก็ด้วยพระบารมีของพ่อหลวง
49 ประวัติศาสตร์สอนให้เรารู้ว่าชาติใดขาดสามัคคีธรรมจะสูญเสียย่อยยับอับปางไปในที่สุด
50 “เพียงพอ” “พออยู่พอกิน” จงทำตามพระราชดำรัชของพ่ออยู่หัวเพื่อตอบแทนในหลวงเรา



- ๓ -
51 ปัญหาของชาติ เราคนไทยทุกคนต้องร่วมใจกันแก้ มิใช่มาซ้ำเติมหรือทำลาย
52 โปรดปกป้องอภิบาลในหลวง ให้ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน
53 พระคุณพ่อนั้นล้นเหลือที่กอปรเกื้อต่อแผ่นดิน หยาดเหงื่อที่หลั่งรินทุกหยดสิ้นเพื่อปวงชน
54 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำ และมุ่งมั่นเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน
55 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคิดหาแนวทางพัฒนาเพื่อมุ่งประโยชน์ต่อ ประชาชนสูงสุด
56 พระบารมีอันแผ่ไพศาล ย่อมบริบาลผู้ที่มีความจงรักภักดีตลอดไป
57 พระมหากษัตริย์ ที่พรั่งพร้อมด้วย ทศพิธราชธรรม
58 พระราชกรณียกิจของพระองค์เป็นที่ประจักษ์ดีกับสายตาของชาวไทยและคนทั่วโลก
59 พระองค์ทรงเป็นผู้นำตามแนวพระราชดำริ ให้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาทด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
60 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพี่อให้ชาติไทยเจริญรุ่งเรือง ยั่งยืน มั่นคงสถาพรสืบไป


ผู้ถาม : ช.พัน.๔๐๒ร้อย๒
E-mail : thaiming-402@hotmail.com
ส่งคำถามเมื่อ : วัน อังคาร ที่ 4 พฤษภาคม 2553   เวลา 9 นาฬิกา 46 นาที
คำตอบที่ 1
รายละเอียด :  ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ " ฝนหลวง "

ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยม พสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ย่านบริเวณเทือกเขาภูพานทรงสังเกตว่า มีปริมาณเมฆมากปกคลุมเหนือพื้นที่ระหว่างเส้นทางบิน แต่ไมสามารถรวมตัวจนเกิดเป็นฝนตกได้ ทั้งที่เป็นช่วงฤดูฝน และทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหา พื้นดินแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักประสบความเดือดร้อนจากภาวะฝนแล้ง
หรือฝนทิ้งช่วง ในระยะวิกฤติของพืชผล ทำให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจไม่มีผลผลิตเลย และอาจทำให้ ผลผลิตที่มีอยู่เสียหายได้ จึงเป็นความเดือดร้อนอย่างสาหัส และก่อให้เกิดความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรอย่างใหญ่หลวง นอกจากนี้ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้นเพราะการขยายตัว

ทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรกรรม และการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งมีผลให้ปริมาณน้ำต้นทุนจากทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ ไม่เพียงพอ ซึ่งเห็นได้ชัดจากปริมาณ น้ำในเขื่อนภูมิพลที่ลดลงอย่างน่าตกใจ ด้วยสายพระเนตรที่ยาว ไกล และทรงความอัจฉริยะของพระองค์ด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น และได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2498 แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหา วิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ กับทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้ "ฝนหลวง"หรือ"ฝนเทียม" จึงกำเนิดขึ้นโดยประยุกต์ผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านฝนเทียมของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวอย่าง ใกล้ชิดพร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานปฎิบัติการฝนหลวง" ขึ้น เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานฝนหลวงในระยะต่อ มาจนถึงปัจจุบัน พระบรมราโชบายในการพัฒนาโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ทรงเน้นความจำเป็นในด้านพัฒนาการ และปรับปรุงวิธีการทำฝนในแนวทางของการออกแบบการปฎิบัติการ การ ติดตามและประเมินผลที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ตลอดจนความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อศึกษารูปแบบเมฆและการปฎิบัติการทำฝนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ทรงย้ำถึงบทบาทของการดัดแปรสภาพอากาศ หรือการทำฝนว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันหนึ่งในกระบวน การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำ ทรงเน้น ความร่วมมือประสานงานของหน่วยงาน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะเป็นกุญแจสำคัญในอันที่จะทำ ให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ผู้ตอบ : nancy
E-mail : nantadsana@hotmail.com
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันพุธ 14 กรกฏาคม 2553   เวลา 7 นาฬิกา 42 นาที
คำตอบที่ 2
รายละเอียด :  ในหลวงกับเทคโนโลยีจัดการทรัพยากรประมง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าประชาชน ในชนบทยังขาดสารอาหารโปรตีนซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และสัตว์น้ำจำพวกปลาน้ำจืดเป็นแหล่งอาหารราคาถูกที่ให้สารอาหารโปรตีน ประกอบกับสามารถหาได้ในท้องถิ่นชนบททั่วประเทศ แนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจในด้านการจัดการทรัพยากรประมงมีดังต่อไปนี้
๑) โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มีบ่อเพาะเลี้ยงปลานิล และมีพันธุ์ปลาพระราชทาน มีบ่อเพาะพันธุ์จำนวน ๖ บ่อ
สามารถผลิตลูกปลานิลพระราชทานในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ จำนวน ๔๒,๔๘๕ ตัวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพันธุ์ปลาไปทั่วประเทศ บ่อยครั้งที่ทรงปล่อยปลาลงตามแหล่งน้ำต่างๆ ด้วยพระองค์เองเพื่อให้มีทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น

๒) งานศึกษาวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรประมงน้ำจืด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้มีกิจกรรมการทดลองค้นคว้าวิจัยทางด้านการประมง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง ๖ แห่ง โดยทรงเน้นให้ทำการศึกษาการพัฒนาด้านการประมง ซึ่งมิใช่การศึกษาวิจัยทางด้านวิชาการชั้นสูง แต่ต้องศึกษาในด้านวิชาการที่จะนำผลมาใช้ในท้องที่และสามารถปฏิบัติได้จริง เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างการค้นคว้าเชิงวิชาการชั้นสูงกับการนำความรู้ ที่ค้นพบมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพของประชาชน เพื่อให้เกษตรกรทั่วไปที่ไม่มีความรู้มากนักสามารถนำไปปฏิบัติได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงห่วงใยถึงการทำประมงของราษฎรและทรงตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดการทรัพยากรประมง จึงโปรดให้มีกิจกรรมการทดลองวิจัยทางด้านการจัดการทรัพยากรประมง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ โดยให้จัดระเบียบในด้านการบริหารการจับปลาไม่ให้มีการแก่งแย่งและเอาเปรียบกัน และไม่ทำลายพันธุ์ปลา ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยการจัดตั้งเป็นกลุ่มและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการ
๓) งานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในด้านการจัดการทรัพยากรประมง โดยทรงมุ่งมั่นในงานด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงควบคู่ไปกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริซึ่งกระจายครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ เช่น โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในศูนย์ศึกษาการพัฒนาปลวกแดง จังหวัดระยอง - ชลบุรี ด้วยการสงวนพันธุ์และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมเร่งรัดปล่อยพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาโตเร็วที่เหมาะสมในแต่ละท้องที่ลงในแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อให้มีสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของประชาชนไว้บริโภคตลอดไป ในกรณีที่ปลาบางชนิดซึ่งเป็นปลาที่หายากและมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนลดน้อยลงจนอาจสูญพันธุ์ได้ เช่นปลาบึก ซึ่งเป็นปลาในสกุล Catfish ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีอยู่แต่เฉพาะในแม่น้ำโขงเท่านั้น พระองค์ก็ทรงห่วงใยและทรงให้ทำการค้นคว้าหาวิธีการที่จะอนุรักษ์พันธุ์ปลาชนิดนี้ไว้ให้ได้ พร้อมทั้งทรงให้กำลังใจแก่ผู้ค้นคว้าตลอดเวลา จนในที่สุดก็สามารถผสมเทียมพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้สำเร็จ การจัดการทรัพยากรประมงที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้ทรงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาวิจัยตามแนวพระราชดำริเพื่อหาแนวทางการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำอย่างยั่งยืน


ผู้ตอบ : nancy
E-mail : nantadsana@hotmail.com
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันพุธ 14 กรกฏาคม 2553   เวลา 7 นาฬิกา 43 นาที
คำตอบที่ 3
รายละเอียด :  พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์ ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ ซึ่งมีวางขายเลหลังราคาถูกทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ สามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาเมื่อกิจการวิทยุเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ได้นำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุและเครื่องขยายเสียงและพระองค์ท่านก็ได้ทรงทดลองอุปกรณ์แบบใหม่

นี้ด้วยเช่นกัน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมา ประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส.เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อแรกตั้งเป็นสถานีเล็กๆ มีเครื่องส่ง ๒ เครื่อง ขนาดที่มีกำลังส่ง ๑๐๐ วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบ AM พร้อมๆ กัน เครื่องส่งรุ่นแรกนี้เป็นเครื่องที่
กรมประชาสัมพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวายและติดตั้งให้ด้วยเมื่อออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง และในระบบคลื่นสั้นก็มีจดหมายรายงานผลการรับฟัง เข้ามาจากหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกา เยอรมันฯ เป็นต้น ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำลังส่ง โดยมีชื่อรหัสสถานีว่า HS 1 AS ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สถานีวิทยุ อ.ส.ได้เพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบFMขึ้นอีกระบบหนึ่งในการขยายด้านกำลังส่งนั้นอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนแต่มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อให้สถานีวิทยุ อ.ส. สามารถบริการประชาชนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น อาจถือได้ว่าเป็นสถานีวิทยุเอกชนเพียงแห่งเดียวที่สามารถกระจายเสียงคลื่นสั้นได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ พระองค์ทรงมีวัตถุประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน
ทรงใช้สถานีวิทยุเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน และเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และประชาราษฎร์ ที่ทรงแสดงให้ทราบถึงใจรักที่พระองค์ท่านพระราชทาน
ให้กับประชาชนทั่วทุกคน
นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิง และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนแล้ว ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญ หรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ขึ้น เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง
ในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นบ่อเกิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีคุณขวัญแก้ว วัชโรทัย ทำหน้าที่นายสถานี เล่าให้ฟังว่า นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานี ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ด้านสถานีด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงใช้นโยบายประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด และในปัจจุบันนี้สถานีวิทยุ อ.ส. ยังคงกระจายเสียงเป็นประจำทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยออกอากาศทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว ในระบบ AM 1332 KHzและ FM 104 MHz ควบคู่กันไปด้วยกำลังส่ง ๑๐ กิโลวัตต์ โดยออกอากาศวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา ๑๐.๓๐-๑๒.๐๐ และ ๑๖.๐๐-๑๙.๐๐ วันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐-๑๒.๐๐ หยุดทุกวันจันทร์




ผู้ตอบ : nancy
E-mail : nantadsana@hotmail.com
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันพุธ 14 กรกฏาคม 2553   เวลา 7 นาฬิกา 44 นาที
คำตอบที่ 4
รายละเอียด :  สะพานพระราม8

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาการจราจรแออัดบนสะพานสมเด็จ พระปิ่นเกล้าโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครชั้นในบริเวณถนนราชดำเนินกลาง ซึ่งเชื่อมต่อกับฝั่งธนบุรีผ่านทางสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและเข้าบรรจบกับถนนจรัญสนิทวงศ์ เพื่อคลี่คลายปัญหาพื้นผิวจราจรไม่เพียงพอและปรับปรุง
การไหลเวียนของการจราจรในบริเวณนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนน จากถนนอรุณอมรินทร์ถึงตลิ่งชันเมื่อประมาณ

กลางปี2538เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนน บรมราชชนนี เป็นทางยกระดับขนาด 4ช่องจราจร ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้แล้ว และเพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดใช้เส้นทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรม-ราชชนนีรวมทั้งเพิ่มจุดเชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร ฝั่งพระนครและธนบุรีจึงทรงมีพระราชดำริผ่านมายังปลัดกรุงเทพมหานครให้พิจารณาก่อสร้างสะพานเป็นเส้นทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง บริเวณถนนอรุณอัมรินทร์ไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ผ่านบางยี่ขัน) และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ด้วย ได้พระราชทานแผนที่ให้กรุงเทพมหานครซึ่งเขียนแนวเส้นทางพระราชดำริด้วยลายพระหัตถ์ของพระองค์เองเพื่อให้กรุงเทพมหานครไปศึกษา ความเป็นไปได้ในการก่อสร้างตาม

พระราชดำริ
กรุงเทพมหานครได้ศึกษาทางเลือก 3 - 4 แนวสายทางแล้ว เห็นว่าสายทางที่โครงการ
เริ่มจากทางแยกวิสุทธิกษัตริย์ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเกษมตรงธนาคารแห่งประเทศไทย อ้อมลงใต้ ผ่านถนนอรุณอัมรินทร์เข้าบรรจบกับโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีเป็นแนวสายทางที่เหมาะสม กรุงเทพมหานครได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและให้กรุงเทพมหานครเป็น ผู้รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้าง
คณะรัฐมนตรีมีมติให้กรุงเทพมหานครดำเนินการก่อสร้างโครงการโดยวิธีออกแบบรวม ก่อสร้างในวงเงิน 3,170 ล้านบาท โดยกรุงเทพมหานครแบ่งโครงการออกเป็น 2 ตอน คือ จากถนนวิสุทธิกษัตริย์ถึงคลอบางยี่ขันเป็นสะพานข้ามแม่น้ำและทาง ยกระดับ ประมาณการค่าออกแบบรวมก่อสร้าง 2,720 ล้านบาท ใช้เวลา ดำเนินการ 24 เดือน


ผู้ตอบ : nancy
E-mail : nantadsana@hotmail.com
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันพุธ 14 กรกฏาคม 2553   เวลา 7 นาฬิกา 44 นาที
คำตอบที่ 5
รายละเอียด :  จากความแห้งแล้งกลับกลายมาชุ่มชื้น จากผืนทรายกลับกลายเป็นดินดี ด้วยพระบารมีของทั้ง ๒ พระองค์



ผู้ตอบ : นศท.อโณทัย ให
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันศุกร์ 20 สิงหาคม 2553   เวลา 18 นาฬิกา 1 นาที
คำตอบที่ 6
รายละเอียด :  ทรงยึดหลักศาสนา ทรงศึกษาสรรพวิทยา ทรงนำมาปฏิบัติ ทรงขจัดปัญหาด้วยการพัฒนาโครงการพระราชดำริ ทรงเตือนสติด้วยการปฏิบัติพระองค์เป็นตัวอย่าง ทรงสร้างค่านิยม ทรงห่วงใยประชาราษฎร์ทุกเมื่อ ทรงสละหยาดพระเสโท เพื่อประชาชนและประเทศไทยอย่างแท้จริง ทรงเป็นบุคคลที่หาได้ยากยิ่งในโลก ( ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก )

ผู้ตอบ : นพส.47-7
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันอังคาร 15 มีนาคม 2554   เวลา 5 นาฬิกา 30 นาที
คำตอบที่ 7
รายละเอียด :  ของพระองค์จงมีพลานามัยที่แข็งแรง

ผู้ตอบ : นพส47-5
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันพุธ 16 มีนาคม 2554   เวลา 7 นาฬิกา 44 นาที
คำตอบที่ 8
รายละเอียด :  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่นเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกรชาวไทย ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน

ผู้ตอบ : กรม.ทพ.42
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันพุธ 16 มีนาคม 2554   เวลา 10 นาฬิกา 49 นาที
คำตอบที่ 9
รายละเอียด :  ขอเดชะ...ธ ในใจไทยทั้งผอง
ผู้เรืองรองด้วยบุญญานานัปแสน
เป็นมิ่งขวัญปวงประชาทั่วทั้งแดน
ทุกถิ่นแคว้นต่างแซ่ซ้องสาธุการ
ขอองค์พระทรงธำรงค์ยั้งคงอยู่
สถิตย์คู่ฉัตรแก้วแคล้วภัยผอง
เหล่าปวงข้าฯก้มกายามาเฝ้ารอง
พระบาทป้องจากกรวดหินแลดินทราย
พระเมตตาดุจดั่งฝนชโลมหล้า
เหล่าประชาต่างเทิดทูลขึ้นเหนือหัว
ยอมพลีกายถวายให้ไม่หวั่นกลัว
พระเจ้าอยู่หัวของปวงชน...ขอจงทรงพระเจริญ

ผู้ตอบ : นพส47-5
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันพฤหัสบดี 17 มีนาคม 2554   เวลา 12 นาฬิกา 3 นาที
คำตอบที่ 10
รายละเอียด :  ผมขอสัญญาว่าจะรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และขอให้พระองค์มีสุขภาพแข๊งแรง


ผู้ตอบ : นพส47-5
E-mail : blackarmy47-5@hotmail.com
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันพฤหัสบดี 17 มีนาคม 2554   เวลา 12 นาฬิกา 21 นาที