คำถาม :  ข้อพิรุธและความสามานย์ของเจ้าหน้าที่ เหตุการณ์ 7 ต.ค.
รายละเอียด : ทนายจากสภาทนายความ ยังมีข้อสังเกตว่าการให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้นั้นมีหลายจุดที่ขัดแย้งกับข้อมูลที่ระบุไว้ในสำนวนฟ้อง สื่อให้เห็นถึงเจตนาที่ต้องการบิดเบือน ใส่ร้ายและสร้างความเสียหายให้แก่นายปรีชาซึ่งเป็นจำเลย เช่น

วีระ มุสิกพงษ์ ได้กล่าวในรายการความจริงวันนี้ เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2551 ว่า ร.ต.อ.เกรียงไกร กิ่งสามี รอง สวป.ป้องกันและปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ถูกรถของนายปรีชาพุ่งชนว่า “ ตอนนั้นมีการยิงปืนเข้ามาในรัฐสภาจึงต้องล่าถอย ช่วงที่เดินมาบริเวณราชภัฏสวนดุสิตมีรถยนต์โตโยต้าขับมาเรื่อยๆ ต่อมารถเร่งความเร็วและพุ่งเข้าชน ตนไม่ทันระวังเลยล้มลงไปนอนกับพื้น รถคันดังกล่าวถอยมาทับ หันมาขาเละไปหมดเลยครับ ไม่คิดว่าเขาจะใจร้ายกับตนขนาดนี้ ทั้งที่ตนปฏิบัติตามหน้าที่ และทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ”

แต่ในขณะที่ในสำนวนฟ้องระบุว่า “ จำเลย (ปรีชา ตรีจรูญ) ได้บังอาจขับรถยนต์กระบะที่เตรียมการไว้ไล่ชนผู้เสียหายที่ 1 (ร.ต.ต.เกรียงไกร กิ่งสามี) อย่างแรง จนผู้เสียหายที่ 1 ล้มลง จากนั้นจำเลยขับรถยนต์กระบะถอยหลังเพื่อทับร่างผู้เสียหายที่ 1 ที่นอนบาดเจ็บอยู่ แต่การกระทำไม่บรรลุผล เนื่องจากผู้เสียหายที่ 1 หลบทัน และมีผู้เข้าช่วยเหลือ” นอกจากนั้นในรายงานผลการตรวจบาดแผลของแพทย์ที่แนบในส่วนท้ายของคำฟ้องก็ระบุเพียงว่า “ มีบาดแผลเย็บที่ศีรษะและที่คาง, มีแผลถลอกที่ขมับขวา โหนกแก้มขวา หลังมือขวาและซ้าย, มีแผลถลอกช้ำ อักเสบ ตามขาขวาและซ้าย , ผลการเอ็กซเรย์ ทรวงอก เข่าขวา หน้าแข็งซ้าย และข้อเท้าทั้ง 2 ข้าง ไม่พบว่ามีกระดูกหัก”

นอกจากนี้ก็ยังมีคำให้สัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นผู้เสียหายขัดแย้งกันอีกด้วย คือ

ส.ต.ท.เศรษฐวุฒิ บัวทุม เจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ได้ให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2551 ว่า “ ผมได้รับบาดเจ็บจากการถูกรถยนต์ชนและลากไปไกลพอสมควร ใต้คาง รูจมูกเป็นแผล ฟันหัก 3 ซี่ ศีรษะแตก สมองได้รับความกระทบกระเทือน ผมไม่รู้เรื่องเพราะสลบไป เพื่อนเล่าให้ฟังว่ามีคนจะขับรถมาทับแต่ทำไม่ได้ ผมไม่รู้ว่าเขาโกรธแค้นผมมาจากไหน”

ขณะที่ในคำฟ้องกลับระบุว่า “จำเลย (ปรีชา ตรีจรูญ) ได้บังอาจได้บังอาจขับรถยนต์กระบะที่เตรียมการไว้ไล่ชนผู้เสียหายที่ 4 (ส.ต.ท.เศรษฐวุฒิ บัวทุม) อย่างแรง จนผู้เสียหายที่ 4 ล้มลง แต่การกระทำไม่บรรลุผล เนื่องจากผู้เสียหายที่ 4 หลบทันและมีผู้เข้าช่วยเหลือ”

ทนายคนเดิมกล่าวต่อว่า จะเห็นได้ชัดว่า แม้แต่การให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นคู่กรณียังมีลักษณะบิดเบือนให้ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงแล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน ตลอดจนการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ปรีชาซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดาที่มีคดีความกับตำรวจที่สลายการชุมนุมในวันที่ 7 ต.ค. นั้นจะเป็นไปด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใส ในเมื่อคนทำคดีก็อยู่ในเครื่องแบบสีกากีเช่นกัน อีกทั้งปฏิเสธไม่ได้ว่าหลังจากถูกสังคมตั้งคำถามต่อการใช้กำลังอาวุธเข้าปราบปรามประชาชนเพื่อสลายการชุมนุม 7 ต.ค. ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็พยายามทุกวิถีทางที่จะสร้างความชอบธรรมต่อปฎิบัติการดังกล่าว

ผู้ถาม : ตอบหน่อย
ส่งคำถามเมื่อ : วัน พฤหัสบดี ที่ 9 กรกฏาคม 2552   เวลา 10 นาฬิกา 1 นาที
คำตอบที่ 1
รายละเอียด :  on

ผู้ตอบ : JustSlodia
E-mail : justTymn@edfast-medrx.com
WebSite : http://costofcial.com
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันศุกร์ 22 ธันวาคม 2560   เวลา 23 นาฬิกา 17 นาที