คำถาม :  โรคปวดข้อระบาดหนัก วัดดินนา คลองพน พระป่วยหลายรูป
รายละเอียด : วัดดินนา ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม กระบี่ มีพระ และชาวบ้านบริเวณวัด ป่วยด้วยโรคปวดข้อ ไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปดูแล หรือช่วยไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค

จึงขอวอลผ่านทาง krabi.go.th กรุณาติดต่อประสานงานไปยังหน่วยงานที่มีงบประมาณไปช่วยพ้นหมอกควันเพื่อกำจัดบริเวณการแพร่กระจ่ายของโรคปวดข้อ
ผู้ถาม : ^_^
ส่งคำถามเมื่อ : วัน จันทร์ ที่ 8 มิถุนายน 2552   เวลา 12 นาฬิกา 36 นาที
คำตอบที่ 1
รายละเอียด :  มาตรการป้องกันโรค : ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคชิคุนกุนยา (รวมทั้งโรคอื่น ๆ ที่มียุงนี้เป็นพาหะ) เป็นมาตรการสำคัญที่ต้องดำเนินการ ดังนี้

ชุมชนตระหนักและร่วมมือกันกำจัดหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายให้อยู่ในระดับต่ำอยู่เสมอ (ซึ่งต้องเร่งรัดมากขึ้น ทั้งก่อนและในช่วงฤดูฝน และในช่วงที่เกิดการระบาด) ประชาชนรู้วิธีป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงลายกัด โดยต้องนอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวดแม้เป็นเวลากลางวัน จุดยากันยุง ทายากันยุง หรือสวมใส่เสื้อผ้าแขนยาว ขายาว เป็นต้น ซึ่งหากใช้มุ้ง ผ้าม่าน มู่ลี่ ฯลฯ ที่ชุบสารเคมีกำจัดแมลง ก็จะยิ่งป้องกันยุงได้ดียิ่งขึ้น
สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน เพื่อประเมินความชุกชุมของยุงพาหะ จำแนกชนิดของแหล่งเพาะพันธุ์ (ยุงลายชอบเพาะพันธุ์ตามภาชนะน้ำขังที่อยู่ในบ้านหรือบริเวณรอบบ้าน เช่น จานรองขาตู้กับข้าว แจกัน จานรองกระถางต้นไม้ โอ่งน้ำ ยางรถยนต์เก่า เป็นต้น) และเพื่อแนะนำวิธีการควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลายแก่ประชาชน เช่น ปิดฝาโอ่ง เปลี่ยนน้ำในจานรองขาตู้ แจกัน ฯลฯ ทุก ๆ 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างบัว ขัดด้านในภาชนะที่อาจมีไข่ยุงติดอยู่ คว่ำกะลา กวาดเก็บใบไม้ (ตามพื้น หลังคาบ้าน ท่อน้ำฝน ฯลฯ) กำจัดยางรถยนต์เก่า หรือนำไปแปรสภาพและใช้ประโยชน์ ฯลฯ
มาตรการควบคุมการระบาด

สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงในบ้านและบริเวณรอบบ้าน โดยใช้วิธีการต่าง ๆ ร่วมกันตามความเหมาะสม เช่น การปกปิดภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด การหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำ (เช่น ทุก ๆ 7 วัน) การใส่ปลากินลูกน้ำ การใส่สารเคมีฆ่าลูกน้ำ เป็นต้น
ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงแบบพ่นหมอกควันหรือพ่นฝอยละออง เพื่อช่วยลดความชุกชุมของยุง โดยต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
แนะนำประชาชนให้ป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
แนะนำประชาชนในครัวเรือนที่มีผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาในบ้าน ต้องให้ผู้ป่วยนอนในมุ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายไปกัดและแพร่เชื้อได้ ซึ่งเชื้อโรคนี้จะแพร่ขณะที่มีไข้สูง (ในระยะ 2-3 วันหลังเริ่มป่วย)

หากทำได้ฉะนี้ก็จะปลอดภัยจากโรคชิคุนกุนย่าได้สบายเลย โดยไม่ต้องคอยหน่วยงานภาครัฐ

บ้านหนูยึดหลักที่ว่า บ้านเรา ถ้าเราไม่ช่วยกันดูแล เราก็จะเสี่ยงกับสิ่งที่เราไม่ได้ดูแล

ขอบคุณค่ะ.........

ผู้ตอบ : หนูน้อย
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันจันทร์ 8 มิถุนายน 2552   เวลา 20 นาฬิกา 27 นาที
คำตอบที่ 2
รายละเอียด :  เก่งมากจ๊ะหนูน้อย แล้วลุงจะนำไปปฏิบัติจ๊ะ ทำได้อย่างนี้ ถือเป็นการพึ่งตนเอง ตามแนวทางขององค์พระบาทสมเด็จฯด้วยนะจ๊ะหนูน้อย

ผู้ตอบ : ลุงเสริฐ
ส่งคำตอบเมื่อ :  วันจันทร์ 8 มิถุนายน 2552   เวลา 22 นาฬิกา 20 นาที