จังหวัดกระบี่ แถลงข่าวจัดการแข่งขันพายเรือหัวโทงชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และงานวัฒนธรรมพื้นบ้านจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 1
นอกจากข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารส่วนราชการในจังหวัด ได้จาก ประกาศจังหวัด

จังหวัดกระบี่แถลงข่าวจัดการแข่งขันพาย เรือหัวโทงชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และงานวัฒนธรรมพื้นบ้านจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 ณ ท่าเทียบเรือขนาบน้ำ (ประติมากรรมปูดำ) นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ นายกีรติศักดิ์ ภูเก้าล้วน นายยกเทศมนตรีเมืองกระบี่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันแถลงข่าวจัดการแข่งขันพายเรือหัวโทงชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และงานวัฒนธรรมพื้นบ้านจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 1 ชิงถ้วยพระราชทานพร้อมเงินรางวัล รวมกว่า 211,000 บาท มีกำหนดจัดการแข่งขัน ตั้งแต่วันที่ 7 – 9 เมษายน 2553 ณ บริเวณแม่น้ำกระบี่ ท่าเทียบเรือขนาบน้ำ
นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่าการจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรักษาวัฒนธรรมพื้นบ้าน, เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่, ส่งเสริมการขายสินค้าชุมชน (โอทอป) ระดับจังหวัด และระดับ, เพื่อให้เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและถูกบันทึกไว้ในปฏิทินท่องเที่ยวของการท่อง เที่ยวแห่งประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น การจัดแข่งพายเรือหัวโทงนอกจากเป็นการอนุรักษ์ส่งเสริมการวัฒนธรรมของท้อง ถิ่นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดให้มีความคึกคักมากขึ้น
สำหรับในปี 2553 จังหวัดกระบี่ มุ่งเน้นที่จะให้หน่วยงาน ส่วนราชการของจังหวัดกระบี่ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานกับทางเทศบาลเมืองกระบี่ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจัดงาน ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการแข่งขันมีความยิ่งใหญ่ สมพระเกียรติ และจะผลักดันให้เป็นงานระดับชาติ เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยจะมีการปรับรูปแบบของงานใหม่มีการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และการจัดกิจกรรมกีฬาส่งเสริมการท่องเที่ยวการพายเรือแคนูเส้นทางท่องเที่ยว เขาขนาบน้ำ ทางชมรมจักรยานจัดการแข่งขันจักรยาน แนะนำเส้นทางปั่นจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวที่บ้านเกาะกลาง

นายกีรติศักดิ์ ภูเก้าล้วน นายยกเทศมนตรีเมืองกระบี่ กล่าวว่า เรือหัวโทงเป็นเรือที่ชาวประมงฝั่งอันดามันนิยมใช้กันมากที่สุดในบรรดาเรือ เล็ก ที่เป็นพาหนะ ในการเดินทาง ในการทำประมงชายฝั่งทะเล จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เรือหัวโทงจะมีหัวเรือเชิดสูงกว่าท้ายเรือ ภายในตัวเรือมีแผ่นกระดาษปูพื้นตามตำแหน่งที่ใช้ประโยชน์ ถ้ามีหลังคา ส่วนใหญ่ทำด้วยใบจากเย็บติดกัน เรียกว่ากระแซง เพื่อป้องกันแดด,ลม, ฝน สามารถเก็บไว้ใต้ท้องเรือได้ ขนาดความยาวประมาณ 8 เมตร
เรือหัวโทง มีลักษณะพิเศษ คือ มีหลักแจวสองหลักติดกันอยู่กับแคมเรือทั้งสอง ค่อนไปทางท้ายเรือ สำหรับยึดแจวทั้งคู่ไม้ข้างละอัน ขนาดใช้งานปลายแจวทั้งสองข้างทำหน้าที่พุ้ยน้ำ ส่วนหัวแจว ถือไขว้กัน เมื่อไม่ใช้งานจะกดด้านแจวไปไว้ข้างหลัง เพื่อยกแจวพาดกับแคมเรือส่วนหน้าทั้งสองข้าง ปัจจุบันเรือหัวโทง ยังคงมีบทบาทในวิถีชีวิตของประชาชนชาวกระบี่ แต่ได้ถูกประยุกต์นำเครื่องยนต์มาดัดแปลง ติดตั้งแทนการแจวเรือพาย ด้วยแรงคน จึงทำให้การแจวหรือพายเรือหัวโทงค่อยๆ สูญหายไป
จังหวัดกระบี่ ร่วมกับ เทศบาลเมืองกระบี่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดกระบี่
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกระบี่ และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงได้
ร่วมกันจัดการแข่งขันพายเรือหัวโทงชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2553 ขึ้น เพื่ออนุรักษ์เรือหัวโทงที่ชาวกระบี่ได้คิดค้น ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นพาหนะในการดำรงชีวิต เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชาวกระบี่ให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่าง ประเทศ ได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญา ของท้องถิ่น และที่สำคัญจะได้รู้จักเรือหัวโทงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการต่อเรือ การแจว/พายเรือหัวโทง อันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกระบี่
หน่วยงานที่แจ้งประชาสัมพันธ์
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดกระบี่
12 มี.ค. 53 10:48:05 AM

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้องในหมวด ท่องเที่ยว


แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ข้อตกลง  ขอความกรุณาใช้ถ้อยคำสุภาพ และแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ และมีเหตุผล ขอสงวนสิทธิ์ ในการแก้ไข หรือ ตัดรายการ หรือ ข้อความที่ ไม่เหมาะสมออก โดยไม่ต้องชี้แจง
ชื่อ/Email
ความคิดเห็น