กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่6จังหวัดฝั่งอันดามัน
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ห้องประชุมปกาสัย ศาลากลางจังหวัดกระบี่ นางสุกาญจนวดี มณีรัตน์ ผู้อำนวยการ ส่วนจัดการที่ดินชายฝั่งทะเล สำนักการจัดการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและพื้นที่ชายฝั่งทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เป็นประธานในการเปิดโครงกาจัดทำแผนหลักและแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ครั้งที่ 2 เพื่อประมาณ สภถานภาพและแนวโน้มการกัดเซาะและการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลอันดามันอย่างเป็นระบบ จากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อหาทางป้องกันและแก้ในพื้นที่วิกฤต6 พื้นที่ คือกระบี่ ตัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐ ผู้แทนองค์กรเอกชนในพื้นที่ศึกษา ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมประชุม
นายวุฒิชัย เจนงาน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการทรัพยากรทางทะเล กล่าวว่า ปัญหากัดเซาะชายฝั่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ภาวะเรือนกระจกทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น คลื่นลมแรงประกอบกับกิจกรรมที่มนุษย์ทำขึ้นทำให้เกิดผลกรทบต่อชายฝั่ง เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อยในระดับจังหวัด รวมทั้งข้อมูลจากการสำรวจในช่วงปี 2554 ถึงเดือนกันยายน 2555 พบว่าพื้นที่แนวชายฝั่งทะเลอันดามัน ความยาว 1,093 กิโลเมตร ซึ่งประกอบไปด้วยจังหวัด กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนองและสตูล ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจำนวน 57 พื้นที่ แยกออกเป็นชายฝั่งบริเวณแผ่นดินใหญ่ 45 พื้นที่ และบริเวณเกาะต่างๆ 12 พื้นที่
โดยพบว่าพื้นที่ที่วิกฤตเสี่ยงภัยระดับรุนแรงมากที่สุด3 อันดับ คือ อันดับแรก พื้นที่ ชายฝั่งตำบลศาลาด่าน อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ อัตราการกัดเซาะ 5 เมตรต่อปี อันดับที่2 คือพื้นที่ แหลมปะการัง-บ้านหลาโอน ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา และหาดปากเม็ง ต.ไม้ฝาด อสิเกา จ.ตรังซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นพื้นที่สำคัญ ระดับประเทศ และ เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ ตลอดจนเป็นพื้นที่ชุมชนและทรัพยากรที่มีคุณค่าในเชิงท่องเที่ยว
สำหรับแนวทางการในการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นนั้น คือจะต้องมีการก่อสร้างแนวป้องกัน เพื่อลดความรุนแรงของการกัดเซาะ โดยทางคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านหลักเกณฑ์พิจารณาแนวทางของโครงสร้าง อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อพื้นที่โครงการ หรือกระทบน้อยที่สุด เช่น การใช้วัสดุที่มีความคงทน และดูดซับพลังงานคลื่นได้ดี และต้องเป็นวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ค่าบำรุงรักษาต่ำ และที่สำคัญต้องเป็นที่ยอมรับของชุมชนในท้องถิ่นด้วย
|