ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่เปิดประชุมใหญ่สามัญชมรมผู้เลี้ยงแพะจังหวัดกระบี่ ประจำปี ๒๕๕๔ ส่งเสริมการเลี้ยงแพะ รองรับการผลิตอาหารฮาลาล
นอกจากข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารส่วนราชการในจังหวัด ได้จาก ประกาศจังหวัด

ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่เปิดประชุมใหญ่สามัญชมรมผู้เลี้ยงแพะจังหวัดกระบี่ ประจำปี ๒๕๕๔ ส่งเสริมการเลี้ยงแพะ รองรับการผลิตอาหารฮาลาล
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2554 นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานเปิด โครงการพัฒนาเครือข่ายการผลิตและการตลาดแพะ ณ ห้องประชุมช้างเผือก องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ อ.เมือง จ.กระบี่ โดยมีนายวิบูลย์ เลิศวัฒนาสมบัติ ปศุสัตว์จังหวัดกระบี่ กล่าวรายงาน
นายวิบูลย์ เลิศวัฒนาสมบัติ ปศุสัตว์จังหวัดกระบี่ กล่าวว่าแพะเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีความสามารถในการเปลี่ยนอาหารเยื่อใย ให้เป็นโปรตีนในรูปของเนื้อ และนมได้สูง สามารถใช้เป็นอาหาร ในการบริโภค สำหรับคนทุกศาสนา สอดคล้องกับวิถีชีวิตท้องถิ่น และเป็นอาชีพเสริม สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เป็นอย่างดี แพะจัดเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ ของจังหวัดกระบี่ แต่ในขณะนี้ จังหวัดกระบี่กำลังประสบปัญหา จำนวนแพะในพื้นที่ขาดแคลน เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายแพะ จากต่างจังหวัดเข้ามาขุน และจำหน่ายผ่านตลาด ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ จำนวนมากประมาณ ๓,๐๐๐ ตัวต่อปี ส่งผลให้ราคาแพะที่มีชีวิต เนื้อแพะชำแหละในจังหวัดมีราคาสูงราคาโดยเฉลี่ยกิโลกรัมละประมาณ 190 บาท
นายวิบูลย์ เลิศวัฒนาสมบัติ ปศุสัตว์จังหวัดกระบี่ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาการผลิต และการตลาดสูงเพราะมีการรวมตัวกันของเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ เป็นชมรมผู้เลี้ยงแพะจังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่าย ที่มีความเข้มแข็ง และเชื่อว่าในอนาคต สามารถพัฒนาการเลี้ยงแพะ ของจังหวัดกระบี่ ให้มีคุณภาพตามหลักวิชาการ การรวมตัวของกลุ่มเกษตรผู้เลี้ยงแพะจังหวัดกระบี่ เริ่มต้นจาก ๗ กลุ่ม ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น ๑๘ กลุ่ม รวมสมาชิกทั้งหมด ๒๕๐ คน ซึ่งกลุ่มครอบคลุมในทุกอำเภอ ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะของจังหวัดกระบี่ ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นงานด้านวิชาการ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เหมาะสมในการเลี้ยงแพะ การกระจายพันธุ์ และการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์แพะ การให้ยืมและแลกเปลี่ยนแพะพ่อพันธุ์ดี ระหว่างกลุ่ม รวมถึงการสร้างอำนาจการต่อรอง และที่สำคัญยังช่วยเหลือกันในเรื่องการตลาดให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด รวมถึงการพัฒนา และส่งเสริมการเลี้ยงแพะ เพื่อรองรับการผลิตอาหารฮาลาล ต่อไปในอนาคต


หน่วยงานที่แจ้งประชาสัมพันธ์
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดกระบี่
27 มิ.ย. 54 12:54:02 PM

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้องในหมวด สังคม


แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ข้อตกลง  ขอความกรุณาใช้ถ้อยคำสุภาพ และแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ และมีเหตุผล ขอสงวนสิทธิ์ ในการแก้ไข หรือ ตัดรายการ หรือ ข้อความที่ ไม่เหมาะสมออก โดยไม่ต้องชี้แจง
ชื่อ/Email
ความคิดเห็น