โครงการธนาคารขยะรีไซเคิลร.ร.ลำทับประชานุเคราะห์”เปิดอย่างเป็นทางการ
นอกจากข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารส่วนราชการในจังหวัด ได้จาก ประกาศจังหวัด

โครงการธนาคารขยะรีไซเคิลร.ร.ลำทับประชานุเคราะห์”เปิดอย่างเป็นทางการ

นายสุรศักดิ์ เพ็ชรสุก นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลลำทับ กล่าวว่า เทศบาลตำบลลำทับ มีพื้นที่ทั้งหมด 8.11 ตร.กม.มีประชากร 3,871 คน มี 6 ชุมชน ปัจจุบันมีปริมาณขยะที่เก็บได้ จำนวน 7 ตันต่อวัน นำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบพื้นที่ 7 ไร่ คาดว่า อีก 2-3 ปีปริมาณขยะมีเพิ่มขึ้นจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การที่โรงเรียนริเริ่มจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลเพื่อส่งเสริมเยาวชนในการคัดแยกขยะเป็นการลดปริมาณขยะจากต้นกำเนิด และสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็นในการคัดแยกขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นแนวทางในการลดปัญหามลพิษ และลดโลกร้อนด้วยตัวเราเอง จะเป็นโครงการนำร่องและเป็นต้นแบบการจัดตั้งธนาคารในโรงเรียนอื่นๆในพื้นที่เทศบาลตำบลลำทับ ซึ่งจะครอบคลุมไปยังชุมชนที่โรงเรียนแต่ละแห่งตั้งอยู่ ดังนั้น ปัญหาขยะล้น การกำจัดขยะ มลพิษสิ่งแวดล้อมในภาพรวมของเทศบาลตำบลลำทับย่อมจะลดลง ไปด้วยจึงเป็นสิ่งที่ควรยกย่องและชื่นชมกับโรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ที่วางพื้นฐานแก่เยาวชน และขยายสู่ชุมชนให้มีความรับผิดชอบร่วมกัน
นายณรงค์ ทรัพย์ชนะกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้กล่าวว่าปัจจุบันโรงเรียนดังกล่าวเปิดสอนในชั้น ม.1-ม.6 มีนักเรียน 685 คน ครู จำนวน 38 คน ทางโรงเรียนได้จัดทำโครงการคัดแยกขยะมูลฝอย จำพวกกระดาษ กล่องนม ขวด/ถุงพลาสติก ขวดแก้ว เศษเหล็ก ฯลฯ และได้นำเศษวัสดุมาประดิษฐ์เป็นสิ่ง เครื่องใช้ ของประดับตกแต่ง และอื่นๆขยะที่เหลือรวบรวมขายให้กับผู้รับซื้อของเก่า เป็นการนำร่อง
และในปี 2553นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเป็น กลุ่มแกนนำอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ร.ร.ลำทับประชานุเคราะห์ ได้จัดทำโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ของโรงเรียนขึ้น ภายใต้โครงการรณรงค์คัดแยกขยะรีไซเคิล เพื่อสนับสนุนโครงการลดเมืองร้อนด้วยมือเราชาวลำทับ และบริหารจัดการโครงการฯโดยคณะกรรมการนักเรียน มีอ.พรรณพิไล เกษีสม หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6)เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู เป็นที่ปรึกษา
นายณรงค์ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับการริเริ่มจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลครั้งนี้ เป็นรูปแบบหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยในโรงเรียนและชุมชน โดยเริ่มต้นที่เยาวชนเป็นหลัก และใช้โรงเรียนเป็นสถานที่ดำเนินการ เปิดทำการ 3 ช่วง คือ เวลาก่อนเข้าเรียน พักเที่ยง และช่วงเย็นหลังเลิกเรียน มีนักเรียนทุกชั้นเรียน สมัครเป็นสมาชิกของธนาคารขยะ และนำขยะรีไซเคิลทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านมาฝากกับธนาคาร โดยคณะกรรมการนักเรียนเป็นเจ้าหน้าที่คัดแยกขยะ ชั่งน้ำหนัก และคำนวณเป็นจำนวนเงิน บึกทึกลงสมุดคู่ฝาก ที่ใช้ราคาร้านรับซื้อของเก่าเป็นเกณฑ์กำหนดราคา รายได้จากการขายขยะรีไซเคิลจะเป็นกองทุนหมุนเวียนจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาและกิจกรรมของโรงเรียนต่อไป
หน่วยงานที่แจ้งประชาสัมพันธ์
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดกระบี่
8 ก.พ. 53 2:47:26 PM

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้องในหมวด สังคม


แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ข้อตกลง  ขอความกรุณาใช้ถ้อยคำสุภาพ และแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ และมีเหตุผล ขอสงวนสิทธิ์ ในการแก้ไข หรือ ตัดรายการ หรือ ข้อความที่ ไม่เหมาะสมออก โดยไม่ต้องชี้แจง
ชื่อ/Email
ความคิดเห็น