หอการค้ากระบี่จัดบรรยายพิเศษ รู้ทัน AEC เตรียมตัวเป็นหนึ่งเดียวในอาเชียน
นอกจากข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารส่วนราชการในจังหวัด ได้จาก ประกาศจังหวัด

อาเชียน เริ่มก่อตั้งในปี ๒๕๑๐ จากการริเริ่มของไทยที่ต้องการให้มีการรวมตัวกันเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ AE ซึ่งเริ่มต้นจาก ๕ ประเทศ คือ ไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และต่อมาในปี ๒๕๒๗ มีสมาชิกเพิ่ม ได้แก่ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพเมียนม่า กัมพูชา และเวียดนาม จนครบทั้งหมด ๑๐ ประเทศเมื่อ ปี ๒๕๔๒ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเชียนนั้นมีทั้งหมด ๔ เรื่องด้วยกันคือ ประชาคมความมั่นคง (ASC) ประชาคมสังคม วัฒนธรรม ( ASCC) และประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน (AEC) ดังนั้น ในวันนี้ (๑๒ ต.ค.๕๔) เมื่อเวลา ๑๓.๓๐ น. นายภูวดิท ปรีชานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดกระบี่ จึงได้มีการจัดประชุมประจำเดือนตุลาคมของสมาชิกหอการค้าทุกคน ณ ห้องมรกต โรงแรมกระบี่รอยัล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เพื่อติดตามให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว โดยได้เชิญนายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ ผู้อำนวยการสำนัก ความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มาบรรยายพิเศษเรื่อง “รู้ทัน AEC” ซึ่งได้รับความสนใจจากสมาชิกและสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังกว่า ๑๐๐ คน
ซึ่งผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กล่าวว่า มี ๒ คำที่เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนคือคำว่า “ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ AEW” คือการรวมตัวของ ๑๐ ประเทศ ส่วนคำว่า “ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน หรือ AEC” คือการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภายใต้สมาชิก ๑๐ ประเทศ ซึ่งพิมพ์เขียว AEC มี ๔ เรื่องด้วยกันคือ ๑)ความร่วมมือด้านสินค้า (AFTA) ๒)ความร่วมมือด้านบริการ ( AFAS) ๓) ความร่วมมือด้านลงทุน (AIA) และ ๔) ความร่วมมือระหว่างกันใน ๑๐ ประเทศ เรื่อง เกษตร ป่าไม้ พัฒนาโครงการพื้นฐาน เป็นต้น ดังนั้นมาถึงวันนี้ไทยเรายังไม่มีความพร้อมด้านการเขียน อ่าน พูด โดยเฉพาะภาษาอังกฤษต้องพูดได้คล่อง สื่อมวลชนเองก็ลงข่าวว่าเราไม่มีความพร้อมเท่ากับประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือแม้กระทั่งฟิลิปปินส์ ถ้ามองไปที่ศักยภาพของไทยในอาเชียนทำเลที่ตั้งของประเทศอยู่ภูมิประเทศที่ดี เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของทุกประเทศในย่านอาเชียน เราอยู่ในอันดับ ๔ ของ GDP การส่งออกอยู่ในอันดับ ๓ นักท่องเที่ยวอยู่ในดับ ๒ รองจากมาเลเซีย การส่งสินค้าส่งออกไทยที่สำคัญได้แก่ รถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ คอมพิวเตอร์ เนื่องจากมี นักลงทุนในไทยมากนั่นเอง และยางพาราของเราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ และตลาดส่งออกส่วนใหญ่ของไทย ก็อยู่ในกลุ่มอาเชียนด้วยกัน
ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ผลจากการรวมกันในขณะนี้ของอาเชียนได้ก่อให้เกิดเขตการค้าเสรีปลอดภาษีนำเข้าตามข้อตกลง อาติก้า (ATIGA) การเคลื่อนย้ายแรงงานคุณภาพ และได้ทำให้เกิดธุรกิจ SME มากที่สุด ซึ่งขณะนี้มีการเปิดเสรีทางการค้า การบริการ โดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนให้กับนักลงทุนสัญชาติอาเชี่ยน มีเป้าหมายสูงสุด ๗๐% ในปี ๒๕๕๘ ด้วย
หน่วยงานที่แจ้งประชาสัมพันธ์
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดกระบี่
12 ต.ค. 54 4:28:36 PM

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้องในหมวด เศรษฐกิจ


แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ข้อตกลง  ขอความกรุณาใช้ถ้อยคำสุภาพ และแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ และมีเหตุผล ขอสงวนสิทธิ์ ในการแก้ไข หรือ ตัดรายการ หรือ ข้อความที่ ไม่เหมาะสมออก โดยไม่ต้องชี้แจง
ชื่อ/Email
ความคิดเห็น